ส.ส.ท.จัดการประชุม Kick off โครงการ จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขาการจัดการอุตสาหกรรม อาชีพนักวินิจฉัยสถานประกอบการ วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุม 1 ส.ส.ท. ถ.พัฒนาการซอย 18 ในรูปแบบ Hybrid ผ่าน Zoom
โดยมี ดร.สุพจน์ ชินวีระพันธุ์ ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาชีพ นักวินิจฉัยสถานประกอบการ ซึ่งมีแผนดำเนินการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ จัดทำกระบวนการและเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 5 อาชีพ สอดคล้องตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ และรูปแบบ Template ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ดังนี้
ซึ่งในปี 2542 ส่วนพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายการศึกษาและฝึกอบรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) ดำเนินการร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (IRP) ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งสมาคมฯ มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างนักวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ โดยการจัดฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัยการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบการ เพื่อดำเนินการวินิจฉัยตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ สามารถรองรับมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ ทั้งด้านวิชาการและการเงินได้อย่างเป็นรูปธรรม และช่วยยกระดับขีดความสามารถ ให้แข่งขันกับภายนอกประเทศได้
หลักสูตรการฝึกอบรมที่ใช้ในการสร้างนักวินิจฉัยสถานประกอบการนี้ เริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมไปจนจบหลักสูตรทั้งทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการ โดยยึดหลักสูตรการเป็นนักวินิจฉัยสถานประกอบการของ JASMEC (Japan Small and Medium Enterprises Corporation) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนำมาดัดแปลงบางส่วนให้เหมาะสมกับการวินิจฉัยสถานประกอบการในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาด้านการบริหารจัดการของอุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ การจัดการด้านการบัญชีและการเงิน การจัดการด้านการผลิต (การควบคุมการทำงาน, การควบคุมคุณภาพการผลิต, การบริหารต้นทุนการผลิตและการจัดซื้อวัสดุ, การควบคุมกระบวนการผลิต และการวินิจฉัยอุตสาหกรรม) การจัดการด้านการตลาด การจัดการด้านการแรงงาน และการจัดการด้านการบริหารและสารสนเทศ แนวทางการฝึกอบรมจะมุ่งเน้นไปในทางการฝึกภาคปฏิบัติ โดยใช้กรณีศึกษา Case Study และ On the Job Training (OJT) ณ สถานประกอบการ โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ปัญหาจริง ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหา สร้างความรู้จากประสบการณ์จริง และหาคำตอบของปัญหาได้อย่างมีหลักเกณฑ์ ทั้งนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญไทย เป็นผู้ให้คำปรึกษาอยู่ตลอดระยะเวลาการเรียน ระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรรวม จำนวน 1,044 ชั่วโมง
ส.ส.ท. .มุ่งมั่น ในการรวบรวมองค์ความรู้ในด้านวินิจฉัยมาตั้งแต่ปี 2542 โดยเป็นผู้จัดอบรมให้ความรู้แก่นักวินิจฉัยในทุนของโครงการเงินกู้มิยาซาวา เงินกู้จากงบประมาณของรัฐบาลญี่ปุ่น (OECF) และธนาคารโลก เพื่อดำเนินการยกระดับอุตสาหกรรมในในปี 2542 บัจจุบันมีสถานประกอบการที่ผ่านการวินิจฉัยมากกว่า 1,239 วิสาหกิจ มีนักวินิจฉัยที่ผ่านการอบรม มากกว่า 400 คน
ติดตามข่าวสารได้ที่ เพจ มาตรฐานอาชีพนักวินิจฉัย
https://www.facebook.com/profile.php?id=100094418640460