ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการยืนยันสาเหตุของการปวดหลัง คือ แพทย์ผู้ตรวจรักษายังขาดความเข้าใจถึงลักษณะงานและกลไกการเกิดอาการปวดหลังจากการทำงาน ผลที่ตามมาคือ การให้การรักษาพยาบาลที่เกินความจำเป็น เช่น การให้ยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด เป็นต้น
อาการสำคัญที่บ่งชี้ความรุนแรงของการปวดหลัง เช่น ปวดหลังรุนแรง ปวดหลังร้าวลงขา ปวดหลังรุนแรงร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการชาของขาและเท้า ระบบขับถ่าย ปัสสาวะ อุจจาระผิดปกติ เป็นต้น
ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้แก่
- ลักษณะงาน เป็นงานหนัก งานที่ก่อให้เกิดการผิดท่าทาง การบิดหมุนเอว การสั่นสะเทือนในอาชีพ ขับรถ ขุดเจาะ ยกของหนักเกินกำลัง นอกจากนี้ลักษณะงานบางอย่างก็ทำให้เกิดการปวดหลังได้ คือ ลักษณะงานที่ไม่ตื่นเต้น ไม่เกิดการเรียนรู้ และไม่ได้ฝึกฝนทักษะ
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและสังคมอุปนิสัยส่วนตัว อาจทำให้เกิดการปวดหลังได้ เช่น การเป็นคนวิตกกังวล ซึมเศร้า เก็บกดคิดในทางลบเสมอ ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ช่วยเหลือผู้อื่น เห็นแก่ตัว อารมณ์ร้อน ไม่เข้าสังคม ความไม่พึงพอใจในงานที่ทำ
- บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือสารกระตุ้น
- ในคนสูงอายุ การเสื่อมในโครงสร้างของกระดูกสันหลังตั้งแต่กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกระดูกพรุนหมอนกระดูกสันหลังเสื่อมและกระดูกงอกหนา เหล่านี้เป็นต้นเหตุ ของอาการปวด แต่ยืนยันถึงตำแหน่งที่แน่ชัดของอาการปวดได้ไม่ชัดเจน
สำหรับการวินิจฉัยการปวดหลังนั้นมีองค์ประกอบ ดังนี้
- การซักประวัติ
อาการสำคัญของอาการปวดหลัง : ความรุนแรง ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปวด ลักษณะการปวด โดยต้องแยกโรคหรือหาสาเหตุของอาการปวดหลังจากอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น หลอดเลือดใหญ่ในช่องท้อง กระเพาะอาหาร โรคไต โรคมะเร็ง โรคทางนารีเวช
ประวัติการบาดเจ็บที่รุนแรง (กระดูกหัก , ติดเชื้อ) อาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารน้ำหนักลด ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง การฉายแสงรักษามะเร็งได้รับยาเคมีบำบัด - การตรวจร่างกาย ตรวจร่างกายทั่วไปและเฉพาะ
- การตรวจภาพรังสี ภาพถ่ายรังสีธรรมดา
- การตรวจเลือด เพื่อแยกโรคเลือด เบาหวาน ไขมัน ไต ตับ เอดส์ ฯลฯ
- การตรวจพิเศษ (การฉีดสีเข้าไขสันหลังสแกนกระดูก ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบซีทีสแกน หรือ MRI) การวินิจฉัยโรคมีราคาแพงและอาจไม่ยืนยันถึงต้นเหตุที่แท้จริงของอาการปวดได้
- การรักษาเริ่มต้นด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์ ตั้งแต่การนอนพัก การให้ยา การบริหารกล้ามเนื้อหลัง การปรับเปลี่ยนท่าทาง การเปลี่ยนงาน เป็นต้น การรักษาด้วยการดึงหลังถ่วงหลัง การใช้เครื่องมือให้ความร้อนลึก อาจจะได้ผลดีในบางรายเท่านั้น
ทางเลือกสำหรับการผ่าตัด
- เมื่อการรักษาแบบอนุรักษล้มเหลว
- เมื่อมีข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดหรือทราบต้นเหตุที่ชัดเจนของอาการปวด สิ่งที่แพทย์ผ่าตัดทำได้เพื่อลดอาการปวด คือ
- การขจัดเอาสิ่งแปลกปลอมหรือเคลื่อนผิดที่ของเนื้อเยื่อต่างๆ ที่กดทับเส้นประสาท
- การเปิดโพรงกระดูกให้กว้าง
- การ เชื่อมยึดข้อกระดูกสันหลัง แพทย์ไม่สามารถลดการเสื่อมของโครงสร้างกระดูสันหลังได้ การผ่าตัดรักษาที่ผิดพลาดหรือไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนสำหรับการผ่าตัด อาจทำให้อาการปวดหลังเรื้อรังได้
การป้องกันอาการปวดหลัง
- การป้องกันก่อนที่จะเกิดอาการปวดหลัง เป็นการป้องแบบปฐมภูมิ (Primary prevention)
ปัญหาสำคัญของการป้องกัน- ในคนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหลังมักไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
- ยังไม่พบหลักฐานที่จะยืนยันถึงสาเหตุของอาการปวดหลังที่เกิดจากการบาดเจ็บสะสม หรือจากงานหนักที่ทำในแต่ละวัน
- มีปัจจัยด้านจิตใจ ด้านสังคมการชดเชยและสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง
- คนที่ปวดหลังสามารถทำงานได้แต่บางคนอาจไม่ยอมทำงานเพราะยังได้เงินเดือน
- การลดปัจจัยเสี่ยง
- ลดความเสี่ยงการเกิดอาการขณะทำงาน การผิดท่าผิดทาง
- สร้างภูมิสำหรับการทำงาน เพื่อให้คนทำงานมีความรู้และแนวคิดที่ถูกต้องต่ออาการปวดหลัง
- สุขภาพทั้งทางกายและจิตใจที่เข้มแข็ง
- การป้องกันเมื่อเกิดอาการปวดหลังแล้ว เป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิ (Secondary prevention)
ปัญหาสำคัญของการป้องกัน- ยังไม่สามารถคัดกรองคนทำงานที่อาจเสี่ยงต่อการปวดหลังเรื้อรัง
- ยังไม่มีตัวบ่งชี้ที่บ่งบอกถึงการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง
- ปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบเป็นสิ่งที่จะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ยาก เช่น อายุ สภาพจิตใจ ปวดหลังที่เคยเกิดในอดีต ฯลฯ
- ปวดหลังพบได้ง่าย ส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง คนที่เคยมีอาการปวดหลังมักจะไม่ตระหนักถึงการป้องกัน เพื่อมิให้เกิดอาการปวดหลังอีก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ แม้รู้ว่าบุหรี่ไม่ดี มีการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่แต่ก็ยังคงมีคนสูบบุหรี่ บุหรี่ยังคงขายดี
- เมื่อเกิดอาการปวดหลังจากการทำงานแบบเฉียบพลันถึง 4 สัปดาห์ อาการปวดหลังมักหายเอง คนงานไปพบแพทย์ทั่วไปเพื่อสั่งการรักษา โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- อาการปวดหลังที่เกิดระหว่าง 4 สัปดาห์ การรักษาที่สำคัญคือ การบริหารกล้ามเนื้อ การปรับเปลี่ยนท่าทางขณะทำงานการให้คำแนะนำที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่ไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปทำงาน
- อาการปวดหลังที่เกิด 3 เดือนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนท่าทางทำงาน หรือลักษณะงานที่ทำประจำหรือสิ่งแวด ล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม มีการสื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้คนงานกลับเข้าทำงาน คนงานควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ในระดับหนึ่ง เพื่อกรองโรคต่างๆ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลัง และควรมีมาตรฐานแนวทางการรักษาอาการปวด หลังที่เกิดจากงาน เจ้าของโรงงานหรือเจ้าของกิจการควรให้ความสนใจใน
- การปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานหรือจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสม
- ส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของคนงานให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด
- การเน้นจริยธรรมของผู้ประกอบการ มิให้เน้นผลกำไรเพียงประการเดียว แต่ควรเน้นสุขภาพแบบองค์รวมของคนงานด้วย โดยเฉพาะคนงานที่ปวดหลังจากการบาดเจ็บจากการทำงาน ควรมีมาตรการเหมาะสมไว้รองรับ
- การคัดกรองคนทำงาน
วิธีการป้องกันประกอบด้วย
วิธีป้องกันประกอบด้วย