ริกกี้

ผู้เขียน : ริกกี้

อัพเดท: 13 ม.ค. 2025 11.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 35 ครั้ง

พามารู้จักกับอาการเจ็บหน้าอกรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าเจ็บหน้าอกแบบไหนเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ


อาการเจ็บหน้าอกแบบไหนเป็นสัญญาณบ่งบอกกำลังเป็นโรคหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอกแบบไหนเป็นสัญญาณบ่งบอกกำลังเป็นโรคหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอก

 

อาการ “เจ็บหน้าอก” เพียงนิดเดียวก็อาจทำให้หลายคนรู้สึกตกใจกังวล เพราะมักจะคิดไปว่าเรากำลังเป็นโรคหัวใจอยู่รึเปล่า แต่จริง ๆ แล้วอาการเจ็บหน้าอกไม่จำเป็นจะต้องคิดว่าเกิดโรคหัวใจเสมอไป บางคนอาจเป็นเพียงแค่กล้ามเนื้ออักเสบ หรือกรดไหลย้อน แต่สิ่งสำคัญคือ เราจะรู้ได้ไงว่าเจ็บหน้าอกแบบไหนถึงต้องกังวล

 

บทความนี้เราจะพาคุณมาสำรวจลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกในแบบต่าง ๆ พร้อมไขข้อสงสัยว่าแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์ และแบบไหนที่คุณสามารถดูแลตัวเองได้เบื้องต้น

 

พามารู้จักอาการเจ็บหน้าอกที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะเป็นโรคหัวใจ

 

อาการเจ็บหน้าอกที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ซึ่งจะมีอาการลักษณะปวดแบบเฉพาะสามารถแยกแยะจากอาการเจ็บหน้าอกทั่วไปได้ หากคุณเกิดอาการปวดในลักษณะแบบนี้อาจเป็นสัญญาณว่าหัวใจของคุณกำลังเกิดความผิดปกติ หรือ มีความเสี่ยงที่เป็นโรคหัวใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

1. อาการเจ็บหน้าอกแบบกดทับ หรือรู้สึกแน่นที่กลางหน้าอก

 

รู้สึกเหมือนมีน้ำหนักมากกดอยู่บริเวณหน้าอก อาการนี้มักเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังออกแรง เช่น วิ่ง หรือยกของหนัก และอาการอาจดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกแบบนี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะหัวใจขาดเลือด

 

2. อาการเจ็บหน้าอกแบบร้าวไปบริเวณอื่น

 

อาการเจ็บหน้าอกนี้ไม่ใช่แค่เจ็บหน้าอกเท่านั้น แต่จะปวดร้าวไปยังแขนซ้าย คอ ขากรรไกร หรือหัวไหล่ ซึ่งมักจะเป็นอาการของคนกำลังเป็นโรคหัวใจ

 

3. อาการเจ็บหน้าอกที่มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ

 

อาการเจ็บหน้าอกที่มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคหัวใจ

 

 

โรคที่สามารถเกิดอาการเจ็บหน้าอกได้

1. โรคหัวใจและหลอดเลือด

2. โรคระบบทางเดินอาหาร

3. โรคเกี่ยวกับปอด

อาการเจ็บหน้าอกอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลายโรค ทั้งเกี่ยวกับหัวใจและโรคในระบบอื่น ๆ การสังเกตอาการเจ็บหน้าอกจะช่วยแยกแยะได้ว่าอาการนั้นอาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจหรือไม่ หากอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นแบบกะทันหัน เจ็บรุนแรง หรือมาพร้อมอาการอื่น เช่น เหงื่อออก หายใจลำบาก หรือร้าวไปยังส่วนอื่น ควรรีบพบแพทย์ทันที


ขอขอบคุณความรู้ดี ๆ จากศูนย์เฉพาะทางโรคหัวใจโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที