sriracha

ผู้เขียน : sriracha

อัพเดท: 30 พ.ย. 2024 20.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 36 ครั้ง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว การรู้เท่าทันเกี่ยวกับอาการ วิธีการติดต่อ ไปจนถึงการป้องกัน เป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้ เพื่อปกป้องสุขภาพตนเองและคนรอบข้าง


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เมื่อรู้จักป้องกัน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ความสัมพันธ์คือสิ่งสวยงามที่มอบความสุข ความเข้าใจ และเติบโตไปพร้อมกัน การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงออกถึงความใกล้ความรัก แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หากขาดความรู้หรือการป้องกันที่ถูกต้อง หลายคนอาจมองว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้ว โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ การไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพทางเพศ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในระยะยาว

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย มีอะไรบ้าง

อาการโรคโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยทั่วโลก การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันถือเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดโรคเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงความสัมพันธ์ได้ การรู้จักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย จะช่วยให้สามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย มีดังนี้

โรคซิฟิลิส (Syphilis)

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสแผล หรือจากแม่สู่ลูกในครรภ์ อาการของโรคซิฟิลิสแบ่งออกเป็นหลายระยะ โดยในระยะแรกจะพบตุ่มเล็กๆ บริเวณอวัยวะเพศหรือปาก ต่อมาจะลุกลามไปยังอวัยวะภายใน และในระยะสุดท้ายอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและหัวใจ

โรคหนองใน (Gonorrhea)

โรคหนองใน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae ซึ่งมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ อาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนองใน มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เช่น มีตกขาวผิดปกติ ปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขณะปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น การอุดตันของท่อนำไข่ในผู้หญิง และภาวะปวดข้ออักเสบในผู้ชาย

โรคเริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes)

โรคเริมที่อวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus (HSV) ซึ่งแบ่งออกเป็น HSV-1 และ HSV-2 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาการของโรคเริม จะแสดงออกในรูปแบบของตุ่มน้ำใส หรือแผลพุพองบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือปาก อาการอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือเกิดขึ้นเรื้อรัง

โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)

โรคพยาธิในช่องคลอด เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิต Trichomonas vaginalis ซึ่งมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ อาการของโรคในผู้หญิง ได้แก่ มีตกขาวสีเหลืองเขียว มีกลิ่นเหม็น คัน และปวดแสบขณะปัสสาวะ ส่วนในผู้ชายมักไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

โรคเอดส์ (HIV)

โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคติดเชื้ออื่น ๆ อาการของโรคเอดส์ในระยะแรกอาจไม่มีอาการใด ๆ หรือมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่เมื่อโรคดำเนินไปในระยะท้าย จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง ปอดบวม และสมองเสื่อม

โรค HPV (Human Papilloma Virus)

โรค HPV เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ และเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง บางชนิดของ HPV อาจทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศและทวารหนักได้ทั้งในชายและหญิง

กลุ่มเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีใครบ้าง

การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย สามารถป้องกันการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) แต่ก็มีบางกลุ่มที่อาจมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้

ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่:

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อันตรายมากแค่ไหน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริง ๆ แล้วเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของคนจำนวนมากทั่วโลก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที โรคเหล่านี้อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะมีบุตรยาก มะเร็ง ไปจนถึงสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในต่าง ๆ วิธีในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหล่านี้ ได้แก่ 

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถรักษาหายขาดได้ไหม

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ให้หายขาดมีความเป็นไปได้ แต่ผลลัพธ์ของการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและระยะเวลาที่ติดเชื้อ ดังนั้น หากสงสัยว่าตนเองติดเชื้อ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน ทั้งยังป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อันตรายหากไม่ป้องกัน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นภัยเงียบ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะมีบุตรยาก มะเร็ง รวมถึงสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในต่าง ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจและความสัมพันธ์ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยการใช้ถุงยางอนามัย มีคู่นอนเพียงคนเดียว ตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงการดูแลสุขภาพทางเพศอย่างถูกวิธี จะช่วยให้มีชีวิตที่ปลอดภัย


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที