กระเบื้องปูพื้น ออกแบบพื้นบ้านให้สวยงามได้ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง
วัสดุปูพื้นบ้านมีอยู่หลายประเภท แต่การใช้กระเบื้องปูพื้นบ้าน ให้ผลลัพธ์ที่สวยงาม และสามารถทำได้ด้วยตนเอง ใครที่อยากใช้แผ่นกระเบื้องปูพื้นบ้าน อย่าพลาดบทความนี้
สำหรับคนที่วางแผนตกแต่งภายในบ้านควรทำความรู้จักเกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สีทาบ้าน วอลล์เปเปอร์ กระเบื้องปูผนัง กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น
แน่นอนว่าบทความต่อไปนี้เราจะเน้นกล่าวถึงกระเบื้องปูพื้นเป็นสำคัญ เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับกระเบื้องปูพื้นบ้านว่ามีชนิดอะไรบ้างที่นิยมเลือกใช้กันในปัจจุบัน คุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะได้เลือกใช้ให้เข้ากับสไตล์การตกแต่งของบ้าน เหมาะสมกับการใช้งาน และตรงความต้องการของเรามากที่สุด
กระเบื้องปูพื้น คืออะไร?
กระเบื้องปูพื้น คือ วัสดุก่อสร้างประเภทหนึ่งที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ก่อสร้าง เพื่อปกปิดพื้นปูนซีเมนต์ให้แลดูสวยงาม และใช้งานได้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น กระเบื้องปูพื้นบ้าน
โดยมากแผ่นกระเบื้องจะถูกผลิตจากวัสดุที่สึกกร่อนยาก เช่น หิน โลหะ ดินเผา เซรามิก แก้ว ที่ผ่านกระบวนการเผาที่ความร้อนอุณหภูมิสูง (ยิ่งสูงก็จะยิ่งมีความทนทานมากขึ้น) แล้วจึงนำมาผ่านกระบวนการเคลือบสี ตกแต่งผิวให้ได้สัมผัสที่แตกต่างตามแบบที่ต้องการ
อย่างไรก็ดีแผ่นกระเบื้องปูพื้นแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้กระเบื้องปูพื้นเหมาะที่จะทำหน้าที่เป็นแผ่นปูพื้นเพราะคุณสมบัติการดูดซึมน้ำค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ซึ่งมาพร้อมความคงทน แข็งแรง และง่ายต่อการดูแลรักษาทำความสะอาด
ประเภทกระเบื้องปูพื้นที่ได้รับความนิยม
ปัจจุบันถ้าพูดถึงกระเบื้องปูพื้น จะมีอยู่หลายชนิดที่กำลังเป็นที่นิยมและถูกนำมาใช้เป็นกระเบื้องพื้น ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักถึงคุณสมบัติของแต่ละชนิดซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในเรื่องของการใช้งาน เราจะมาแนะนำให้รู้จักแต่ละชนิดดังนี้
-
กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน (Glazed Porcelain Tile) - เป็นกระเบื้องที่ผลิตจากดินเผาเนื้อละเอียดผสมแร่ที่ได้ผ่านกระบวนเผาที่อุณหภูมิสูง กันน้ำได้ มีการดูดซึมน้ำต่ำมากน้อยกว่า 0.5% แข็งแรง รับแรงได้มาก ทนทานแรงเสียดสี รอยขูดข่วน พื้นผิวเรียบเนียน จึงเหมาะเป็นกระเบื้องปูพื้นทั้งภายในและภายนอกอาคาร ราคาจะสูงกว่ากระเบื้องเซรามิก
-
กระเบื้องแกรนิตโต้ (Granito Tile) - เป็นกระเบื้องชนิดเดียวกับกระเบื้องพอร์ซเลนที่ไม่ผ่านกระบวนการเคลือบสี แต่จะมีความแข็งแรงคล้ายหินแกรนิต ทนทานต่อรอยขีดข่วนมากเพราะได้ผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิสูงถึง 1300 องศาเซลเซียส สามารถรองรับน้ำหนักได้สูง ดูดซึมน้ำต่ำ ทำความสะอาดง่าย แต่มีน้ำหนักมาก เหมาะใช้เป็นแผ่นปูพื้นทั้งภายนอกภายในอาคาร
-
กระเบื้องโมเสค (Mosaic Tile) - เป็นแผ่นกระเบื้องเล็ก ๆ ที่มีขนาดไม่เกิน 4” x 4” โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นแก้วใส สีสันสดใส มันวาว ปลอดปัญหาสีซีดจาง มีความแข็งแรงทนทาน แต่ทำความสะอาดค่อนข้างลำบากเพราะมีร่องยาแนวถี่มาก เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก โค้งมน เช่น พื้นสระว่ายน้ำ มุมห้องครัว เป็นต้น ราคากระเบื้องปูพื้นจะแพง
-
กระเบื้องเซรามิก - เป็นกระเบื้องที่ผลิตจากดินที่ผ่านกระบวนการเผาประมาณ 1-2 รอบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน มีการเคลือบผิวสร้างลวดลายหลากหลาย พร้อมหลากโทนสีให้เลือกใช้ได้มาก มีให้เลือกทั้งแบบผิวมัน ผิวหยาบ ดูแลง่าย ราคาก็ไม่แพง เหมาะสำหรับปูพื้นที่ไม่ต้องรับน้ำหนักสูง และเป็นพื้นส่วนแห้ง เพียงแต่มีความทนทานน้อยกว่ากระเบื้องพอร์ซเลน
-
กระเบื้องยาง - เป็นกระเบื้องปูพื้นที่ทำจากยางธรรมชาติ หรือ ยางสังเคราะห์ มีหลากหลายลวดลาย ขนาด และสีสัน เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความนุ่มนวล ปลอดภัย และกันกระแทก กันน้ำกันลื่นได้ดี อายุการใช้งานยาวนาน ดูแลง่าย ทนทานต่อการใช้งานหนัก
-
กระเบื้องหินอ่อน - เป็นกระเบื้องที่ทำจากหินอ่อน เนื้อหินนุ่ม ละเอียด อาจมีรอยแตกและรูพรุนในเนื้อหิน มีความทนทานต่อแรงกระแทก ขูดขีด นอกจากนี้ยังได้ผ่านกระบวนการเคลือบผิวเพื่อป้องกันของเหลวซึมซับ เหมาะที่จะปูพื้นที่แห้ง แต่ราคากระเบื้องปูพื้นจะสูงกว่ากระเบื้องชนิดอื่น
-
กระเบื้องดินเผา - ทำจากดินเหนียวธรรมชาติที่ถูกนำมาขึ้นรูปและเผาไฟที่อุณหภูมิสูง ผิวสัมผัสจะหยาบจึงกันลื่นได้ดี เหมาะเป็นแผ่นปูพื้นภายนอก เพราะทนต่อความร้อนได้ดี แต่ไม่เหมาะกับบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมาก แต่ดูสวยงามเป็นธรรมชาติ ราคาไม่แพง การทำความสะอาดยากถ้าไม่ได้เคลือบ ค่อนข้างแตกหักง่าย
วิธีติดตั้งกระเบื้องปูพื้น
การติดตั้งกระเบื้องปูพื้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นกระเบื้อง ดังนั้นเราควรเรียนรู้ใส่ใจรายละเอียดทุกเรื่องก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนต่อไป
-
เตรียมอุปกรณ์จำเป็นต่อการติดตั้ง เช่น อุปกรณ์ตัดกระเบื้อง, เกรียง, ค้อนยาง, ระดับน้ำ, ตัวปรับระดับ, ลิ่มปรับระดับกระเบื้องพื้น พร้อมอุปกรณ์ทำความสะอาด
-
คำนวณพื้นที่เพื่อเลือกกระเบื้อง ลายกระเบื้องปูพื้น ว่าควรใช้จำนวนเท่าไร เช่น ถ้าเป็นกระเบื้องปูพื้น 60x60 ซม., 1 กล่องมี 4 แผ่นปูได้ 1.44 ตร.ม. หรือ กระเบื้อง 40x40, 1 กล่องมี 6 แผ่นปูได้ 1 ตร.ม. เป็นต้น ทั้งนี้ควรคำนวณพื้นที่เผื่อไว้ 5-10% ไว้ด้วย
-
เมื่อคำนวณจำนวนกระเบื้องปูพื้นที่ต้องใช้ ก็สามารถเลือกซื้อกระเบื้องปูบ้าน เพื่อให้ได้ลวดลาย สีสัน ขนาดที่ต้องการ และได้ราคากระเบื้องปูพื้นที่เป็นไปตามงบประมาณหรือไม่
-
เลือกเทคนิคปูกระเบื้องที่เหมาะกับหน้างาน เช่น แบบซาลาเปา, แบบขุยหนู, แบบปูนเปียก หรือ แบบปูนกาวซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน
-
เริ่มขั้นตอนการปูกระเบื้อง
-
ตรวจพื้นที่ที่ต้องการปูกระเบื้อง แก้ไขรอยร้าวถ้ามี พร้อมทำความสะอาดตามด้วยการทายากันซึมเพื่อป้องกันความชื้นสะสม
-
เตรียมกระเบื้องให้พร้อมว่าตรงสเปคที่ต้องการหรือไม่ ไม่มีรอยร้าวรอยบิ่น เสร็จแล้วลองนำกระเบื้องมาวางเพื่อล็อกตำแหน่งปู
-
เตรียมปูนกาวให้พร้อมตามสูตรที่ระบุไว้ในฉลากสินค้า
-
เริ่มปูกระเบื้อง โดยใช้เกรียงหวีปาดปูนบนพื้น และบนแผ่นกระเบื้องก่อนวางทับลงบนพื้น แนวการปูกระเบื้องควรปูตามแนวลูกศรที่ระบุไว้บนกระเบื้อง แล้วใช้ค้อนยางทุบเบา ๆ ให้ได้ระดับที่ต้องการ ระยะห่างระหว่างแผ่นกระเบื้องประมาณ 2-3 มม.สำหรับยาแนว
-
อาจใช้ตัวปรับระดับร่วมด้วยเพื่อให้กระเบื้องพื้นทุกแผ่นเสมอกัน
-
เมื่อปูพื้นกระเบื้องเสร็จให้ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชม.เพื่อเซทตัวจนแห้งสนิท
-
ให้ลงยาแนวกระเบื้องพื้นตามร่องที่เว้นระยะไว้ แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาด ทิ้งไว้ให้แห้ง 72 ชม.ก่อนเปิดใช้สถานที่
กระเบื้องปูพื้น และการเลือกใช้ให้เหมาะสม
เมื่อมีความเข้าใจในเรื่องกระเบื้องปูพื้นกันพอสมควรแล้ว ก็จะช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อชนิดกระเบื้องปูพื้นที่เหมาะสมกับการใช้งาน คุณภาพดี และอยู่ในราคาที่จับต้องได้ ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือยี่ห้อของกระเบื้องปูพื้นบ้านที่ได้ความเชื่อมั่นมาอย่างยาวนานในเรื่องลายกระเบื้องปูพื้นที่มีหลากหลาย สีสันมากมาย และขนาดตามต้องการ มีคุณภาพดี เช่น กระเบื้องปูพื้นคอตโต้ เป็นต้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : กระเบื้องปูพื้น ออกแบบพื้นบ้านให้สวยงามได้ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง