SEO คือเครื่องมือในการทำการตลาดออนไลน์รูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ผ่านผลการค้นหาบนเว็บไซต์ เช่น Google, Bing, Yahoo
SEO หรือ Search Engine Optimization ไม่ใช่แค่เทคนิคการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอันดับ Google อีกต่อไป แต่กลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์ที่ทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญ เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตในโลกออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วการทำ SEO คืออะไร? มีหลักการทำงานอย่างไร? ไปค้นหาคำตอบพร้อมกันเลย!
SEO หรือ Search Engine Optimization คือกระบวนการปรับปรุงเว็บไซต์หรือเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้ปรากฏในอันดับที่สูงขึ้นในหน้าผลการค้นหาบนเสิร์ชเอนจิน เช่น Google, Bing และ Yahoo โดยเน้นการเพิ่มการมองเห็นให้กับเว็บไซต์เมื่อผู้คนค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง SEO คือหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์และเพิ่มโอกาสในการขายหรือการสร้างการรับรู้แบรนด์ได้มากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยดึงดูดผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องพึ่งการยิงแอด การทำ SEO ทำให้เว็บไซต์ติดในคีย์เวิร์ดในแบบที่เป็นผลการค้นหาธรรมชาติ (Organic Search) สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณอย่างมหาศาลนั่นเอง
การทำงานของ SEO มีพื้นฐานอยู่ที่การทำให้เว็บไซต์มีความสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินของเครื่องมือค้นหา เช่น Google ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ที่เสิร์ชเอนจินใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ โดยหลักการทำงานของ SEO มีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. Crawling
ขั้นตอนนี้เป็นการส่งบอท เช่น Googlebot หรือโปรแกรมรวบรวมข้อมูลของเสิร์ชเอนจินเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อค้นหาและเก็บข้อมูล โดยบอทจะเริ่มจากลิงก์ที่รู้จักอยู่แล้วและติดตามลิงก์ภายในและภายนอกของเว็บไซต์ไปยังหน้าอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาหน้าใหม่ ๆ หรืออัปเดตเนื้อหาของหน้าเดิม การทำให้เว็บไซต์สามารถถูกบอทเข้าไปเก็บข้อมูลได้สะดวกคือปัจจัยสำคัญ เช่น การใช้ไฟล์ robots.txt เพื่อกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงของบอท และการสร้างแผนผังเว็บไซต์ (XML sitemap) เพื่อช่วยให้บอทเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น
2. Indexing
หลังจากที่บอทเก็บข้อมูลจากหน้าเว็บต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการจัดทำดัชนีหรือการเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาไว้ในฐานข้อมูลของเสิร์ชเอนจิน โดยบอทจะวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละหน้า เช่น การตรวจสอบคำสำคัญ หัวข้อ Meta Tags และโครงสร้างข้อมูลของหน้าเว็บ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหา จากนั้นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล
3. Serving & Ranking
เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์คำค้นหาลงในเสิร์ชเอนจิน ขั้นตอนนี้คือการแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับคำค้นหามากที่สุด โดยเสิร์ชเอนจินจะค้นหาเนื้อหาที่เหมาะสมจากฐานข้อมูลของ Index และใช้หลายปัจจัยในการจัดลำดับผลการค้นหา เช่น ความเกี่ยวข้องของคำสำคัญกับเนื้อหา คุณภาพของเนื้อหา ประสบการณ์ผู้ใช้งาน เช่น การใช้งานบนมือถือ และความเร็วของเว็บไซต์ จากนั้นผลลัพธ์ที่แสดงจะจัดเรียงตามความน่าเชื่อถือและความเกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับคำตอบที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
การทำ SEO แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ On-Page SEO และ Off-Page SEO ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีความสำคัญในการช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าผลการค้นหาของ Search Engine
On-Page SEO หมายถึงการปรับปรุงองค์ประกอบต่างๆ ภายในเว็บไซต์ของคุณเอง เพื่อให้เว็บไซต์เป็นมิตรต่อ Search Engine และเข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างของ On-Page SEO ได้แก่
Off-Page SEO หมายถึงการสร้างความเชื่อถือและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณจาก ภายนอก เว็บไซต์ ตัวอย่างของ Off-Page SEO ได้แก่
การทำ SEO นั้นมีข้อดีจำนวนมากที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต และประสบความสำเร็จในโลกออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน โดยประโยชน์ที่ได้จากการทำ SEO คือ
การทำ SEO คือกระบวนการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ หรือการทำเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้ติดอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหา เช่น Google, Bing, Yahoo เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านการค้นหาแบบ Organic search นั่นเอง ซึ่ง SEO คือวิธีทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในตลาดแบบดิจิทัลได้ โดยการทำ SEO สามารถทำโดยผ่าน Agency SEO ที่มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือในปัจจุบัน เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณมีความโดดเด่น ได้เปรียบมากกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ แถมยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวได้อีกด้วย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที