ไทรอยด์ คือโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์มีลักษณะหรือทำงานผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายโดยรวม รักษาได้ด้วยวิธีที่หลากหลายขึ้นกับความรุนแรงของโรค
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ แต่เมื่อใดที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติไปอาจทำให้การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติตามไปด้วย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเผาผลาญ การขับถ่าย ผิวหนัง ฯลฯ เพื่อให้คุณรู้ทันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไปทำความรู้จัก ‘ไทรอยด์’ กันให้มากขึ้นได้ในบทความนี้
ไทรอยด์ เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณหน้าลำคอใต้ลูกกระเดือก ลักษณะคล้ายกับผีเสื้อขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ไทรอยด์มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบเผาผลาญ การควบคุมระดับไขมันในเลือด การควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงมีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์
หากต่อมไทรอยด์มีลักษณะที่ผิดปกติหรือทำงานผิดปกติสามารถส่งผลกระทบให้การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติไปด้วย เมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ทำงานผิดปกตินั่นเอง ซึ่งความผิดปกติของต่อมฮอร์โมนที่เห็นได้บ่อย ๆ มีดังนี้
ผู้ที่มีภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์มักจะน้ำหนักลด ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย ประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ ผมร่วง หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์แปรปรวน ฯลฯ
ผู้ที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์มักจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เซื่องซึม ผิวแห้ง หัวใจเต้นช้า ตาบวม ซึมเศร้า ฯลฯ ซึ่งตรงข้ามกับไฮเปอร์ไทรอยด์
ผู้ที่มีเนื้องอกต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็งอาจไม่มีความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ มีเพียงแค่เนื้องอกเท่านั้น หรืออาจมีความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนได้เช่นกัน
ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์จะมีอาการหายใจลำบาก เสียงแหบ กลืนลำบาก ต่อมน้ำเหลืองโต
โรคไทรอยด์อาจไม่ได้สังเกตเห็นได้เพียงแค่มองลักษณะภายนอกเพียงอย่างเดียว หากมีอาการดังต่อไปนี้แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
โรคต่อมไทรอยด์เกิดจากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาผิดปกติ ซึ่งมีทั้งรูปแบบการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานมากกว่าปกติ และการผลิตฮอร์โมนที่น้อยเกินไป ทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานน้อยกว่าปกติ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเหล่านี้มีดังนี้
เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคไทรอยด์ แพทย์จะมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้
แพทย์จะจ่ายยาต้านไทรอยด์ เพื่อลดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์จากต่อมไทรอยด์ลง และอาจมีการจ่ายยาตามอาการ เช่น ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เพื่อลดอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่นจากการเต้นของหัวใจที่มากกว่าปกติ หรือยาฮอร์โมนไทรอยด์สำหรับผู้ที่ขาดฮอร์โมนไทรอยด์
สำหรับผู้ที่เป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งไทรอยด์ สามารถรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์ลง
การรักษาโรคไทรอยด์ด้วยการผ่าตัดเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีอาการโรคไทรอยด์รุนแรง หรือผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
ไทรอยด์เป็นอวัยวะสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของร่างกายโดยรวม หากมีความผิดปกติขึ้นอาจส่งผลกระทบได้เป็นวงกว้าง ดังนั้นหากคุณรู้สึกถึงความผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับไทรอยด์ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อรับการรักษาต่อไป
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที