ในวงการพระเครื่องบ้านเรา การเปลี่ยนมือ ซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่าบูชา สะสม พระเครื่อง นับว่าเป็นซอฟพาวเวอร์ของไทยเลย เพราะมีความต้องการและค่านิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สมัยก่อนจะนิยมเสาะหาในตามวัด ตลาดพระ แผงพระ ร้านพระเครื่อง และในพื้นที่จังหวัดที่มีการสร้างพระรุ่นนั้นๆขึ้นมา แต่ยุคปัจจุบันตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เหล่าบรรดา นักเลงพระ เซียนพระ และ นักสะสมจึงหันมานิยมเช่าหากันบนออนไลน์มากขึ้น จึงมีร้านปล่อยเช่าพระ และ เครื่องรางของขลังหลายแห่งเกิดขึ้นบนออนไลน์ เมื่อโพสต์และมีการซื้อขายเกิดขึ้น มักจะปิดป้าย ปิดการขายใต้โพสต์กัน เป็นสติ๊กเกอร์ เพื่อบอกว่า พระองค์นี้ได้ขายไปเรียบร้อยแล้ว
ออกแบบสติ๊กเกอร์ปิดการขายพระควรทำให้เหมาะสม ดูน่าเชื่อถือ และสื่อไปในทางที่เหมาะที่ควร และเข้ากับเอกลักษณ์ของร้าน ยิ่งร้านที่ขายดี จะเห็นสติ๊กเกอร์ปิดการขายประจำร้าน
การออกแบบสติ๊กเกอร์ปิดการขายพระ
การซื้อขายพระเครื่องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและศรัทธา สติ้กเกอร์ที่ทำจะต้องมีความเหมาะสมกับบริบท
- คำที่ใช้สามารถใช้คำว่า “ขายแล้ว”, “ติดจอง” “บูชาแล้ว” “นินมต์แล้ว” “ปิด มีคนบูชาแล้ว” เป็นต้น
- รูปแบบตัวหนังสือ เด่นชัด ดูง่าย อ่านแล้วสบายตา
- ในการออกแบบควรเลือกสีที่เหมาะสม เช่น สีดำ สีขาว สีเหลืองทอง
- สีที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรเลือกเช่น สีชมพู สีฟ้าอ่อน สีเขียวอ่อน เป็นต้น
สำหรับสติ๊กเกอร์ปิดการขายพระเครื่อง สามารถนำมาใช้ได้ทั้งออนไลน์ และ แปะในแผงหน้าร้าน เพื่อแยกออกได้ว่า องค์ไหนขายแล้ว มีเจ้าของแล้ว จองแล้ว ให้ง่ายต่อการแยกสินค้าอย่างเป็นระบบระเบียบ
(อ่านเพิ่มเติม: https://home-pkg.com/sticker-for-buddha-amulet/)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที