ภาษีนำเข้า คือ เงินที่จำเป็นต้องจ่ายให้รัฐบาลเมื่อนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยผ่านการศุลกากร ไม่ว่าสินค้าจะถูกนำเข้าจากทางบก หรือทางน้ำ
อยากนำเข้าสินค้าแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับภาษีนำเข้ากันก่อน! ภาษีนำเข้าคืออะไร คำนวณอย่างไร และมีสินค้าอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีนำเข้า รวมทุกเรื่องต้องรู้ เพื่อให้คุณสามารถนำเข้าสินค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และวางแผนการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ!
ภาษีนำเข้า คือ เงินที่จำเป็นต้องจ่ายให้รัฐบาลเมื่อนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยผ่านการศุลกากร ไม่ว่าสินค้าจะถูกนำเข้าจากทางบก หรือทางน้ำ โดยศุลกากรมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีนำเข้า ส่งออก รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำภาษีส่วนดังกล่าวไปพัฒนาประเทศ
โดยภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการนำสินค้าเข้า หรือออกประเทศมีดังนี้
การจ่ายภาษีนำเข้าสินค้ามีความสำคัญ เนื่องจากเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หากนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ต้องโดนระวางโทษทางอาญาทั้งจำ ทั้งปรับ
พิกัดศุลกากร คือ ชุดตัวเลขที่ใช้แทนชนิดของสินค้านำเข้า ส่งออกที่ต้องผ่านการจัดเก็บภาษี หรือป้องกันการนำเข้าสินค้าต้องห้าม รวมไปถึงสินค้าที่ต้องขออนุญาตก่อนนำเข้า และสินค้าที่ต้องมีการควบคุม
HS Code หรือรหัสสินค้าศุลกากร คือชุดตัวเลข 8 หลักที่ใช้ระบุประเภทและลักษณะของสินค้า เพื่อกำหนดอัตราภาษีนำเข้าที่ถูกต้อง หากต้องการทราบ HS Code ของสินค้าที่ต้องการนำเข้า สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์กรมศุลกากร หรือแอปพลิเคชัน HS Check หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรโดยตรง โดยแจ้งรายละเอียดของสินค้าให้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถค้นหา HS Code ที่ถูกต้องให้ได้
สินค้าบางประเภทเมื่อไปช็อปปิงมาจากต่างประเทศ และนำกลับมายังประเทศไทย หลังมีการตรวจพาสปอร์ต และกระเป๋าเดินทางแล้ว หากไม่มีสินค้าต้องสำแดง ให้เข้าช่องตรวจสีเขียว หรือช่อง Nothing to Declare แต่หากมีสินค้าต้องสำแดง ให้เข้าช่อง มีสินค้าต้องสำแดง หรือ Goods to Declare เพื่อเสียภาษีนำเข้า โดยประเภทของสินค้าที่จำเป็นต้องเสียภาษีนำเข้า มีดังนี้
(อัตราภาษีนําเข้าอ้างอิงจากกรมศุลกากร 2567)
สินค้าที่ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีนำเข้านั้น คือสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาทลงไป ทั้งนี้ สินค้าบางรายการที่มีอัตราการนำเข้าในจำนวนที่กฎหมายกำหนด ต้องเสียภาษีนำเข้าด้วยเช่นกัน ดังนี้
ทั้งนี้ สินค้าที่ราคาต่ำกว่า 1,500 บาท อาจไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีนำเข้า แต่ต้องจ่าย VAT 7% เป็นข้อกฎหมายที่ปรับใหม่ตาม *ประกาศกรมศุลกากรที่ 191/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ของนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากรตามประเภท 12 ของภาค 4 แห่ง พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
*ประกาศดังกล่าว กำหนดใช้ 5 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2567 เป็นประกาศชั่วคราว
ความรู้ด้านการคิดภาษีนำเข้า เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ที่นำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ โดยสูตรการคำนวณที่เข้าใจง่าย และนิยมใช้กันทั่วไปคือ CIF
CIF ย่อมาจาก
เมื่อเราแทนค่าสูตร CIF ได้แล้ว ให้นำมาคูณด้วยอัตราอากรขาเข้า = อากรขาเข้า
เช่น ราคาสินค้า x อัตราอากรขาเข้า = ราคาภาษีนำเข้าที่ต้องจ่าย
แทนค่าสูตร > 111,000.00 x 10% = 11,100.00 บาท
ภาษีนำเข้าเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการหรือคนที่ซื้อของจากต่างประเทศควรทราบ เนื่องจากสินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีขาเข้าที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนที่คุณจะนำเข้าสินค้าเหล่านั้นเข้ามา ควรตรวจสอบก่อนว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพราะหากคุณนำสินค้าเหล่านั้นมาจำหน่าย ก็จะส่งผลในเรื่องของต้นทุนและกำไรในธุรกิจคุณด้วย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที