Romeo

ผู้เขียน : Romeo

อัพเดท: 22 ส.ค. 2024 12.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 92 ครั้ง

PMS คืออะไร รับมืออย่างไรไม่ให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิต


PMS คืออะไร รับมืออย่างไรไม่ให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิต

pms

PMS หรือที่สาวๆรู้กันว่า อาการก่อนมีประจำเดือนหรือเมนส์มา สามารถแสดงได้ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และ การแสดงออก โดยเราจะมาดูสาเหตุและวิธีรักษากัน 

ประจำเดือน สิ่งที่สาวๆ ต้องพบเจอซึ่งทำให้เป็นการใช้ชีวิตของสาวๆต้องทรมานและเจ็บปวด ด้วยอาการต่างๆที่เป็นสิ่งสัญญาเตือนของอาการเมนส์จะมา อย่างการปวดท้อง ปวดหลัง ไม่สบายตัว อารมณ์เหวี่ยง นอกจากจะทำให้ตนเองรู้สึกทรมานและ ในบางอาการยังสามารถรบกวนคนข้างๆได้อีกด้วย ซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้คือ PMS นั่นเอง แล้ว PMS  คืออะไร สาเหตุการเกิด PMS และอาการต่าง ๆ PMS สามารถรักษาและป้องกันได้หรือไม่ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ PMS ได้ดียิ่งขึ้นกัน

มาทำความรู้จัก PMS คืออะไร

PMS หรือชื่อเต็ม Premenstrual Syndrome คือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ซึ่ง PMS นั้นพบว่า ผู้หญิงราว 80% ที่มีประจำเดือน อายุระหว่าง 20-40 ปี ประสบปัญหา PMS หรือสามารถเรียกได้ว่าผู้หญิงส่วนมากที่มีประจำเดือนนั้นจะต้องเผชิญกับกลุ่มอาการก่อนประจำเดือน หรือ PMS นั่นเอง โดยอาการที่ผู้หญิงจะรู้สึกได้นั้นจะรู้สึกเหมือนตัวเองป่วย เหมือนจะเป็นไข้แต่ก็ไม่ได้เป็น รู้สึกไม่สบายตัว หงุดหงิดง่าย รู้สึกขัดใจไปหมดทุกอย่าง ซึ่งเอาการเหล่านี้นั่นคือ PMS นั่นเอง โดยอาการ PMS นั้นจะมาในช่วง 5-11 วันแรก และจะหายไปในช่วง 4-7 วันหลังประจำเดือนมา 

นอกจาก PMS แล้วยังมีกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนอีกกลุ่มซึ่งเรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder คือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนที่มีอาการรุนแรงกว่า PMS  เช่น ร้องไห้บ่อย หงุดหงิดโมโหรุนแรง ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ รู้สึกท้อแท้ ซึมเศร้า จนไปถึงคิดฆ่าตัวตายได้

สาเหตุของ PMS มีอะไรบ้าง

สาเหตุของการเกิด PMS ผู้หญิงบางรายนั้นอาจคิดว่าเป็นการคิดไปเองจากการไม่สบายตัวเนื่องจากประจำเดือนจะมาและตนเองไม่ได้มีอาการอะไรหรือกระทบอะไรมากกับอาการก่อนมีประจำเดือน แต่จริงๆแล้วเกิดจากร่างกายของเรา เนื่องจากอาการ PMS ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยตัวฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบนั้นมีชื่อว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) โดยฮอร์โมน 2 ตัวที่เราพูดถึงนั้นจะมีระดับที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงตกไข่ และอีกหนึ่งสาเหตุนั่นคือ การลดระดับของสารเคมีในสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และความรู้สึก จึงมีที่มาของอาการ PMS ที่จะมีอารมณ์แปรปรวนนั่นเอง

อาการ PMS ที่พบมีอะไรบ้าง

อาการ PMS

 

PMS นั่นคือกลุ่มอาการก่อนประจำเดือนมาดังนั้นจึงมีหลายอาการที่จะแสดงออกมาได้ในช่วงก่อนประจำเดือนมา แต่ไม่ใช่ว่าจะเกิดครบทุกอาการ โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อารมณ์และการใช้ชีวิต โดยอาการก่อนมีประจำเดือน PMS ที่เราพบได้หลัก ๆ มีดังนี้คือ

 

ร่างกาย

อารมณ์ และพฤติกรรม

อาการที่ยกมาดังกล่าวนั้นในร่างกายผู้หญิงแต่ละคนนั้นก็จะมีความแรงของอาการ PMS ที่ต่างกัน บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย บางคนไม่มีสิวขึ้น บางคนปวดหัว ดังนั้นหากใครที่คิดว่าตัวเองมีอาการก่อนเมนส์จะมาแบบนั้นก็ไม่ต้องกังวลไป เนื่องจากเป็นธรรมชาติของร่างกายในช่วงตกไข่และเป็นประจำเดือนนั่นเอง 

PMS สามารถรักษาได้มั้ย ?

PMS นั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาจนเราสามารถรู้สึกได้ว่าไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ โดยการดูแลรักษานั่นคือ สังเกตตนเองว่ามีอาการอะไรบ้าง หากเราปวดท้องมาก สามารถใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบได้ การดื่มน้่ำเยอะๆจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและการไหลเวียนของเลือดให้เรารู้สึกมีแรง ใส่เสื้อผ้าที่สบาย ๆ ไม่รัดตัว หากอาการปวดท้องนั้นปวดมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ควรรับประทานยาแก้ปวดประจำเดือน

หากอาการ PMS นั้นเกิดรุนแรงกว่าปกติ แสดงว่าเกิดความผิดปกติของทางร่างกายซึ่งอาจมีโรคอื่น ๆ เกิดขึ้นได้ ดังนั้นควรสังเกตตนเองและหากมีอาการก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรง และผิดปกติไปจากทุกเดือน หรือ ประจำเดือนไม่มาเป็นระยะเวลานาน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาตามอาการต่อไป

PMS ป้องกันได้อย่างไร 

อาการ PMS ที่ปกติไม่รุนแรงนั้นสามารถเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอาการก่อนเมนส์จะมาได้ โดยมีดังนี้คือ

สรุป PMS เตรียมตัวป้องกันเพื่อบรรเทาอาการ 

ผู้หญิง สาวๆทุกคนที่มีประจำเดือนจะต้องพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการ PMS หรือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยอาการสามารถแสดงได้ทั้งทางร่างกาย เช่น การปวดหลัง ปวดท้อง รู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย ปวดหัว และ ความรู้สึก อารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย โมโห ร้องไห้ง่าย รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ และอาการซึมเศร้า โดยอาการต่างๆสามารถบรรเทาได้ ดังนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีเพื่อรับมือกับ PMS ในแต่ละเดือนกัน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที