นอนไม่หลับ มีอาการ ผลกระทบ และวิธีรักษาอย่างไรให้ดีขึ้น
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นคำพูดและการปฏิบัติพื้นฐานของการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่เราถูกสอนมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่ในปัจจุบัน ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างมาก การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งความอ่อนล้า สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง บทความนี้จะพาไปดูอาการของโรคนอนไม่หลับ รวมถึงการนอนไม่หลับ แก้ยังไง มาดูกัน
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร
โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นหลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นบ่อย หรือตื่นเช้าเกินไป แม้จะมีโอกาสได้นอนหลับเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งส่งผลให้ร่างกายและจิตใจไม่สดชื่น ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน หากต้องการสังเกตว่าตนเองหรือคนใกล้ชิด นอนหลับไม่สนิท จะถึงขั้นเป็นโรคนอนไม่หลับหรือยัง เราสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
-
นอนหลับยาก มักใช้เวลาเคลิ้มหลับนานกว่าปกติ หรืออาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
-
หลับแล้วตื่นบ่อย หรือตื่นขึ้นมาหลายครั้งในระหว่างกลางคืน และไม่สามารถหลับต่อได้
-
ตื่นเช้าเกินไป หรือตื่นขึ้นมาเร็วกว่าเวลาที่ตั้งใจไว้ และไม่สามารถหลับต่อได้อีก
-
นอนไม่หลับสนิท รู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อน แม้จะนอนหลับไปแล้ว
-
ง่วงนอนในเวลากลางวัน รู้สึกอ่อนล้าและต้องการนอนหลับตลอดทั้งวัน
สาเหตุของอาการนอนไม่หลับเกิดจากอะไรบ้าง
อาการนอนไม่หลับมีสาเหตุหลายประการ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) มีสาเหตุ นอนไม่หลับ จากเหตุผลหลายประการ ซึ่งหลายคนอาจพบว่าตนเองง่วงแต่นอนไม่หลับ นั้น มาจากปัจจัยด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านพฤติกรรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งแบบชั่วคราวหรือเรื้อรัง สาเหตุหลักๆ สรุปได้ดังนี้
-
สาเหตุนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยด้านร่างกาย
-
เกิดจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดเรื้อรัง โรคกระเพาะอาหาร โรคต่อมไทรอยด์ หรืออาการปวดเรื้อรังต่างๆ
-
เกิดจากการใช้ยา เช่น ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรด ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวดบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
-
เกิดจากภาวะทางกายอื่นๆ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคกรดไหลย้อน โรคขาอยู่ไม่สุข
-
สาเหตุนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยด้านจิตใจ
-
สาเหตุเกิดจากความเครียด นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด เช่น ปัญหาส่วนตัว ปัญหาในการทำงาน หรือความกังวลต่างๆ
-
สาเหตุเกิดจากภาวะซึมเศร้า เช่น ความรู้สึกเศร้า หมดหวัง หรือเบื่อหน่าย
-
สาเหตุเกิดจากความวิตกกังวล เช่น ความกังวลเกี่ยวกับอนาคต หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
-
สาเหตุเกิดจากภาวะทางจิตอื่น ๆ เช่น โรคสองขั้ว โรคแพนิค
3.สาเหตุนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยด้านพฤติกรรม
-
สาเหตุเกิดจากการนอนหลับไม่เป็นเวลา เช่น การเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา ทำให้ร่างกายสับสนกับวงจรการนอน
-
สาเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อมในการนอน เช่น มีเสียงดังรบกวน มีแสงสว่างมากเกินไป อุณหภูมิห้องมีความมร้อน หรือความเย็นที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายทำให้นอนไม่หลับทั้งคืน
-
สาเหตุเกิดจากการใช้สารกระตุ้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โซดา การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน
-
สาเหตุเกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน เนื่องจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะไปรบกวนการหลั่งสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ง่วงนอน
-
ปัจจัยอื่น ๆ
-
สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือในหญิงตั้งครรภ์
-
สาเกตุเกิดจากอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะนอนหลับไม่สนิท ตื่นบ่อยขึ้น
นอนไม่หลับ อาการแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์เพื่อเริ่มรักษา
เมื่อมีอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้น เราจะลองสังเกตตนเองและคนใกล้ชิดได้อย่างไรว่า อาการขนาดไหนจึงจะเรียกว่าควรที่จะไปพบแพทย์ หากมีอาการนอนไม่หลับที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาการที่ควรระวัง และควรมาพบแพทย์ มีดังนี้
-
นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และเป็นอยู่นานกว่า 3 เดือน
-
หลับยาก และใช้เวลานานกว่า 20 นาทีในการเข้านอน
-
ตื่นกลางดึกหลายครั้งในระหว่างกลางคืน และไม่สามารถหลับต่อได้
-
ตื่นเช้าเกินไป หรือตื่นขึ้นมาเร็วกว่าเวลาที่ตั้งใจไว้ และไม่สามารถหลับต่อได้
-
หลับไม่สนิทและทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อน แม้จะนอนหลับไปแล้ว
-
รู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน หรือรู้สึกอ่อนล้าและต้องการนอนหลับตลอดทั้งวัน
-
นอนหลับไม่สนิททำให้รู้สึกขาดสมาธิและไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
-
นอนหลับไม่สนิททำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลและรู้สึกซึมเศร้า
-
นอนหลับไม่สนิททำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รู้สึกว่าทำงานผิดพลาดบ่อยขึ้น ความจำเสื่อม
-
ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น อาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
หากมีอาการเหล่านี้ส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอ วิธีแก้ อาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และเริ่มรักษาอย่างถูกต้อง หากปล่อยให้อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
นอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างไรบ้าง
หากตัวเราเองหรือคนใกล้ชิดของเรามีอาการของโรคนอนไม่หลับควรต้องเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษา หากปล่อยไว้นานการนอนไม่หลับจะส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาดังนี้
-
ผลต่อสุขภาพกาย ความอ่อนล้า เพลียง่าย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
-
ผลต่อสุขภาพจิต รู้สึกหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า
-
ผลต่ออารมณ์ จะก่อนให้เกิดปัญหาในการควบคุมอารมณ์
-
ผลต่อสติปัญญา ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานประจำวันลดลง ทำงานประจำวันผิดพลาดบ่อยขึ้น ความจำเสื่อม
-
ผลต่อสังคม เมื่ออารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายและทำงานผิดพลาดบ่อย ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน รวมถึงความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดอีกด้วย
วิธีรักษาโรคนอนไม่หลับมีวิธีใดบ้าง
นอนหลับยาก วิธีแก้ยังไง ในปัจจุบันแพทย์มีแนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับหลายวิธี โดยวิเคราะห์จากสาเหตุเพื่อหาวิธีแก้ นอนไม่หลับ และวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของอาการก่อน ซึ่งโดยทั่วไป การรักษาจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แก้อาการนอนไม่หลับ ธรรมชาติ ก่อนการใช้ยา และการบำบัดทางจิตวิทยา โดยมีลำดับการรักษาดังนี้
-
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนะนำวิธีทําให้นอนหลับ
-
กำหนดตารางวิธีนอนให้หลับเป็นเวลา: พยายามเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน แม้ในวันหยุด
-
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอน: ทำห้องนอนให้มืด สงบ และเย็นสบาย
-
หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตก่อนนอน: แสงสีฟ้าจากหน้าจอจะรบกวนการหลับ
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: แต่ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนนอน
-
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และอาหารมื้อหนักก่อนนอน
-
หากเกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ไม่สามารถหลับได้ภายใน 20 นาที ให้ลุกขึ้นจากเตียงไปทำกิจกรรมอื่นที่ผ่อนคลาย และกลับมานอนใหม่เมื่อรู้สึกง่วง
-
ตัวช่วยนอนหลับด้วยการใช้ยา
-
ยานอนหลับ แพทย์อาจจ่ายยาให้ในระยะสั้นเพื่อบรรเทาอาการ แต่ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากยานอนหลับอาจมีผลข้างเคียง
-
ยาอื่น ๆ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว แพทย์อาจปรับเปลี่ยนยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัวเพื่อลดผลกระทบต่อการนอน
-
การบำบัดทางจิตวิทยา
-
การบำบัดด้วยพฤติกรรมเชิงรับรู้ (Cognitive-behavioral therapy for insomnia) เป็นการบำบัดที่เน้นการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ
-
การผ่อนคลาย การฝึกหายใจลึก การทำสมาธิ หรือการโยคะ สามารถช่วยให้ผ่อนคลายและหลับง่ายขึ้น
การรักษาโรคนอนไม่หลับมีสิ่งสำคัญคือ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด และมีข้อควรระวังคือ อย่านำยานอนหลับมาใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด เช่น กัญชา เพราะอาจทำให้การนอนหลับแย่ลง และหากมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ควรแจ้งแพทย์ทันที
สรุปโรคนอนไม่หลับ : วิธีดูแลตนเองและรักษา
โรคนอนไม่หลับเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ด้วยปัจจัยและสาเหตุต่าง ๆ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ได้มีวิธีการรักษาและจัดการหลากหลายวิธี เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี รักษาอาการนอนไม่หลับได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รับคำแนะนำที่ถูกต้อง พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวันก็ช่วยให้ดีขึ้นได้เช่นกัน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : นอนไม่หลับ มีอาการ ผลกระทบ และวิธีรักษาอย่างไรให้ดีขึ้น