ผมร่วงเกิดจากอะไร? และมีวิธีการรักษาผมร่วงด้วยวิธีใดได้บ้าง?
ผมร่วง ปัญหาที่เส้นผมหลุดร่วงมากกว่าปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยการที่ผมร่วงเยอะมากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มาดูกันว่าวิธีป้องกันผมร่วงมีอะไรบ้าง
ปัญหาผมร่วงเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งปัญหาผมร่วงสร้างความทุกข์ใจ และทำให้สูญเสียความมั่นใจในตัวเองไป เนื่องจากเส้นผมส่วนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มสร้างความมั่นใจ และเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น เมื่อเกิดการผมร่วง ผมบางจนทำให้เห็นหนังศีรษะ ความมั่นใจตัวเองจึงค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ
ผมร่วงสามารถพบได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง โดยการที่ผมร่วงเยอะมากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีวิธีลดผมร่วงได้เช่นกัน ในบทความนี้จะมาบอกถึงสาเหตุของการเกิดผมร่วง วิธีดูแลรักษาผม และวิธีป้องกันผมร่วง
อาการผมร่วง คืออะไร
ผมร่วง (Hair loss) คือ ปัญหาที่เส้นผมหลุดร่วงมากกว่าปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของเส้นผม โดยปกติทั่วไปผมร่วงประมาณ 100 เส้นต่อวัน แต่ถ้าผมร่วงหนักมากเกินไป หรือร่วงเป็นหย่อม ๆ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด หรือโรคบางชนิด การมีปัญหาผมร่วงทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองได้ หากคุณกังวลเรื่องผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุผมร่วงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และหาวิธีรักษาผมร่วงที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผมกลับมาสวยงามแข็งแรงดังเดิม
ผมร่วงเกิดจากอะไรได้บ้าง
ผมร่วงเกิดจากหลายสาเหตุ โดยผมร่วงสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สาเหตุจากทางธรรมชาติไปจนถึงปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้ผมร่วงได้ ผมร่วงมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
-
พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งจะมีลักษณะเส้นผมเล็ก ผมบาง ผมหลุด ผลหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น เมื่อผมที่งอกขึ้นมาใหม่แทนที่ก็จะมีลักษณะเส้นผมเล็กเหมือนเดิม และผมร่วงได้ง่ายเหมือนกัน หากเกิดขึ้นจากพันธุกรรม และพออายุเพิ่มขึ้นก็จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
-
โรคทางผิวหนัง โรคที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วง เช่น โรคไทรอยด์ โรคผิวหนัง โรคโลหิตจาง โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคมะเร็ง สาเหตุมาจากโรคทางผิวหนังทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และก่อให้เกิดเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส รวมถึงรังแค จึงทำให้เกิดภาวะผมร่วงเยอะขึ้น
-
ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง อย่างฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เมื่อฮอร์โมน DHT เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ไปจับกับตัวรับที่รากผม ทำให้รากผมฝ่อและเส้นผมเล็กลง จนทำให้ผมมีสภาพที่อ่อนแอ ขาดง่าย และผมร่วงในที่สุด ปัญหาฮอร์โมนในเพศหญิงจะเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนจะเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอดส่งผมทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผมร่วงมากกว่าปกติ
-
ความเครียดสะสม มาจากการใช้ชีวิตประจำวัน หรือเจอกับเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) สูงขึ้น จนทำให้สภาพของเส้นผมอ่อนแอลง
-
ขาดสารอาหารและแร่ธาตุ สารอาหารและแร่ธาตุบางชนิดเป็นตัวที่คอยให้สารอาหารบำรุงเส้นผมแข็งแรง ไม่ทำให้เปราะบาง และลดการขาดของเส้นผม เช่น วิตามินเอ วิตามินบี โปรตีน และธาตุเหล็ก โดยสารอาหารและแร่ธาตุสามารถหาได้จากอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ ไข่ นม และพืชบางชนิด
ขั้นตอนวินิจฉัยอาการผมร่วง
เมื่อคุณรับรู้ได้ว่ามีภาวะผมร่วงมากจนผิดปกติ และตัดสินใจเข้ารับการรักษาผมร่วงกับแพทย์ ซึ่งขั้นตอนวินิจฉัยอาการผมร่วง แพทย์จะทำการพิจารณาจากหลายปัจจัย เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงภาวะผมร่วง และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนการวินิจฉัยจะประกอบด้วยดังนี้
-
ซักประวัติ แพทย์จะถามถึงประวัติการผมร่วง เช่น จำนวนเส้นผมที่ร่วง ลักษณะของผมที่ร่วง ว่าร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือร่วงทั่วศีรษะ
-
ตรวจหนังศีรษะและตรวจเส้นผม แพทย์จะตรวจสอบหนังศีรษะเพื่อดูลักษณะของหนังศีรษะ เส้นผม ว่ามีการอักเสบ รังแค และรากผม เพื่อหาสาเหตุผมร่วง
-
ตรวจเลือด แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ ความผิดปกติของฮอร์โมน และตรวจวัดปริมาณแร่ธาตุในร่างกาย
-
ตรวจชิ้นเนื้อหนังศีรษะ เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติของหนังศีรษะ และยืนยันการวินิจฉัย
วิธีดูแลรักษาผมร่วงอย่างไร
วิธีดูแลรักษาผมร่วง ดังนี้
-
รับประทานยา เช่น ยาไมน็อกซิดิล และยาฟีนาสเตอไรด์ เป็นยาปลูกผมที่มีส่วนช่วยป้องกันผมร่วง และช่วยลดระบบฮอร์โมน DHT ให้ลดน้อยลง
-
ปลูกผม ผู้ที่หัวล้าน หรือผมบางเป็นจุด ๆ การปลูกผมถือว่าเป็นวิธีการรักษาที่ให้ผลที่ดี และผลลัพธ์คงอยู่อย่างถาวร
-
ปลูกผมด้วยเลเซอร์ เป็นการฉายแสงเลเซอร์พลังงานต่ำลงบนหนังศีรษะ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เส้นผมเกิดขึ้นใหม่ และกระตุ้นการทำงานของเซลล์รากผม ให้ผมงอกขึ้นมาใหม่แข็งแรง แก้ปัญหาผมร่วง
-
ฉีดพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นบนหนังศีรษะ จะช่วยเพิ่มอาหารผม และช่วยป้องกันผมร่วงได้
-
ฉีดสเต็มเซลล์ผม เป็นการใช้เชลล์ของผู้ที่รับการรักษาแก้ไขผมร่วงฉีดลงบนหนังศีรษะ จะช่วยกระตุ้นให้รากผมแข็งแรง
วิธีป้องกันผมร่วงมีอะไรบ้าง
วิธีป้องกันผมร่วง และแก้ผมร่วงด้วยวิธีธรรมชาติ ดังนี้
-
ใช้ยาสระผมที่มีคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูบำรุงเส้นผม
-
ทำทรีตเมนต์บำรุงเส้นผม จะช่วยกระตุ้นบำรุงรากผมให้แข็งแรง ผมที่งอกขึ้นมาใหม่ก็จะแข็งแรงมากขึ้น
-
ไม่ทำร้ายเส้นผม เช่น ไม่มัดผม ไม่เกาหนังศีรษะ และไม่ทำสีผม
-
กินอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหาร และวิตามินที่ช่วยบำรุงเส้นผม เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม และผักใบเขียว
สรุป ผมร่วง สามารถรักษาให้กลับมามีเส้นผมแข็งแรงอีกครั้ง
ปัญหาผมร่วงทำให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง หากคุณพบว่าตัวเองมีภาวะผมร่วงผิดปกติ สามารถเข้ารับการรักษาภาวะผมร่วง รักษาผมบางกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีรักษาแบบปลูกผมด้วยเลเซอร์ PRP LLLT FUE และอื่น ๆ อีกมากมาย จะช่วยทำให้คุณกลับมามีเส้นผมที่แข็งแรง และเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้น
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : ผมร่วงเกิดจากอะไร? และมีวิธีการรักษาผมร่วงด้วยวิธีใดได้บ้าง?