ณัฐพงษ์

ผู้เขียน : ณัฐพงษ์

อัพเดท: 10 ต.ค. 2006 13.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6089 ครั้ง

พบกับสุภาษิต บทที่ 2 ได้เลย


สุภาษิต บทที่ 2

2. ยืนโซ้ย

立ち食い
(たちぐい)


จากบทที่แล้ว มีคำที่น่าสนใจอีกคำ คือ คำว่า食い ที่มาจากกริยาคำว่า食う (くう)

ดีกรีความสุภาพของคำว่า食う (くう) น่าจะอยู่ต่ำว่า คำว่า กิน ก็จะประมาณคำว่า โซ้ย, แด๊ก ( แดก) ในภาษาไทยได้

立ち จะแปลว่า ยืน
เมื่อมารวมกันก็ต้องเพี้ยนเสียงของ くい ให้เป็นぐい ก็จะกลายเป็น たちぐいภาษาไทยก็จะประมาณว่า ยืนโซ้ย ยืนแด๊ก อะไรทำนองนั้น

คือ ที่ญี่ปุ่นจะมีร้านบะหมี่-ก๋วยเตี๋ยวยืนแด๊ก (立ち食いそば・うどん店) อยู่ตามบริเวณหน้าสถานนีรถไฟสายใหญ่ ๆ คือจะมีเคาเตอร์ให้ยืนกิน แต่ไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง ประมาณว่า รีบ ๆ กิน แล้วรีบ ๆ ไป คนอื่นจะได้มาใช้บริการต่อได้

ความจริงเป็นกลยุทธ์แบบ วิน-วิน (win-win) คือ ชนะทั้งสองฝ่ายเลยนะเนี่ยะ

เพราะคนที่มาใช้บริการก็คือ คนที่จะรีบขึ้นรถไฟ ไม่มีเวลามาอ้อยสร้อย สั่งอาหารแล้วนั่งรอคอยาว ต้องการอะไรที่รีบ ๆ เร็ว ๆ แม้แต่จะนั่งยังไม่อยากจะเสียเวลานั่งเลย

ส่วนคนขายก็อยากจะรีบ ๆ ขายคนแรกให้เสร็จ จะได้ขายคนต่อไปได้ การหมุนเวียนของลูกค้ายิ่งเร็ว ยิ่งดี จะได้รับลูกค้าได้มากขึ้น

ทั้งคนขายคนซื้อต่างแฮ้ปปี้

โดยปกติจะเป็นพวกผู้ชายไปยืนเรียงหันหน้าเข้าหากำแพง เอ้ย หันหน้าเข้าหาเคาเตอร์ แล้วยืนโซ้ยโซบะ-อุด้ง เสียงดัง ซืด ซืด น้ำซุป น้ำลายกระเด็นกัน พวกผู้หญิงจะไม่กล้าไปยืนกินแบบนั้น ก็มันไม่งามนี่หน่า หม่อมแม่สั่งห้าม !
 

                     www.j-doramanga.com                                 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที