วิธีแก้นอนกรน รักษาปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ
การแก้นอนกรนมีหลายวิธี เช่น การใช้อุปกรณ์ช่วย อย่างแผ่นแปะแก้นอนกรน เครื่องช่วยหายใจ ใครที่มีอาการนอนกรนหนักๆ อาจจะรักษาโดยการผ่าตัดหรือเลเซอร์แทน
การนอนกรนเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไป การนอนกรนอาจเป็นเพียงปัญหาที่น่ารำคาญสำหรับคนรอบข้าง แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงกว่า เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea - OSA) บทความนี้จะมาบอกวิธีแก้นอนกรนที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเบื้องต้นและวิธีรักษาโดยแพทย์
ภาวะหัวใจหยุดเต้น (OSA) จากการนอนกรน คืออะไร? ส่งผลกระทบอย่างไร?
ภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea - OSA) เป็นภาวะที่เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับเป็นช่วงเวลาที่ทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้น ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงและทำให้ตื่นขึ้นชั่วคราวหลายครั้งตลอดคืน ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่่น มีอาการกรนเสียงดัง สามารถหยุดหายใจชั่วคราว ตื่นกลางดึกบ่อยๆ มีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน และความดันโลหิตสูงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
วิธีแก้นอนกรนที่สามารถทำได้ด้วยตนเองและพบแพทย์
นอนกรน แก้ยังไง?การแก้นอนกรนสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ดังนี้
-
อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน : เช่น แผ่นแปะแก้นอนกรนแบบปิดจมูกหรืออุปกรณ์ที่ใส่ในปาก เครื่องเจาะจมูก เครื่องช่วยหายใจ หรือเฝือกจัดฟัน เป็นต้น
-
เปลี่ยนท่านอน โดยให้ลองนอนตะแคงแทนการนอนหงาย ซึ่งช่วยลดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
-
ใช้เลเซอร์แก้นอนกรน โดยการรักษาด้วยเลเซอร์ จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้เนื้อเยื่อในช่องคอแข็งแรงขึ้น
-
ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)
-
ผ่าตัดแก้นอนกรน การผ่าตัดจะช่วยขยายทางเดินหายใจ โดยการเอาเนื้อเยื่ออ่อนส่วนเกินออก เช่น การผ่าตัดเพดานอ่อน หรือการผ่าตัดต่อมทอนซิล
-
ยกหัวเตียง การยกหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 4 นิ้ว จะช่วยลดการกรนได้
-
แก้อาการนอนกรนด้วยธรรมชาติโดยการลดน้ำหนัก ปัญหาน้ำหนักตัวที่เกินสามารถเพิ่มโอกาสในการกรนได้ ดังนั้นการลดน้ำหนักสามารถช่วยได้
-
หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยากล่อมประสาท ซึ่งสารเหล่านี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อคอผ่อนคลายเกินไปและเพิ่มการกรน
-
เลิกสูบบุหรี่ ต่อร้ายที่ทำให้เกิดการอักเสบและการบวมของทางเดินหายใจ
-
รักษาอาการแพ้ ที่สามารถทำให้ทางเดินหายใจแคบลง ควรใช้ยารักษาอาการแพ้เพื่อช่วยลดการกรน
การเปลี่ยนหมอนช่วยแก้นอนกรนได้จริงหรือไม่?
การเปลี่ยนหมอน อาจช่วยแก้นอนกรนได้บ้าง แต่ไม่ได้ผลกับทุกคน โดยหมอนสำหรับแก้การนอนกรน ควรมีคุณสมบัติดังนี้
-
มีความสูงที่พอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป โดยทั่วไปแล้ว หมอนสำหรับผู้ใหญ่ควรมีความสูงประมาณ 8-12 เซนติเมตร
-
หมอนควรมีความนุ่มที่พอดี ไม่แข็งหรืออ่อนจนเกินไป หมอนที่แข็งอาจทำให้คอหักงอ ส่วนหมอนที่อ่อนอาจทำให้ศีรษะจมลงไป ซึ่งทั้งสองแบบนี้ล้วนขัดขวางทางเดินหายใจ
-
หมอนสำหรับแก้นอนกรน มักมีรูปร่างที่รองรับศีรษะและคอ เพื่อช่วยให้ศีรษะอยู่ในท่านอนตะแคง ซึ่งเป็นท่าที่ช่วยลดการนอนกรน
-
หมอนควรทำจากวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ไม่ร้อนหรืออับชื้น เพื่อป้องกันการเกิดไรฝุ่น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการภูมิแพ้
อาการนอนกรนสาเหตุเกิดจากอะไร?
การนอนกรนเกิดจาก การสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อน บริเวณด้านหลังหลอดลมส่วนบน ลิ้นไก่ และเพดานอ่อน ที่แคบลงจากหย่อนตัวของกล้ามเนื้อขากรรไกรล่าง ลิ้น และเพดานอ่อน ในขณะหลับทำให้ไปขัดขวางทางลมผ่านของการหายใจ
โดยอาการนอนกรนสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
-
โครงสร้างทางกายวิภาค เช่น โครงสร้างของช่องปาก จมูก คอ และลำคอที่แคบ ทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โต เพดานอ่อนยาว ลิ้นใหญ่ คอสั้น หรือขากรรไกรล่างยื่น
-
พฤติกรรมบางอย่าง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนหงาย อดนอน อ้วน ทานยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ
-
ความผิดปกติทางการแพทย์ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคจมูกอักเสบ โรคไซนัส โรคหอบหืด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ใครที่มีโอกาสเกิดภาวะนอนกรน
ทุกคนมีโอกาสนอนกรนได้ แต่คนบางกลุ่มมีความเสี่ยงมากกว่า จะมีดังนี้
บุคคลทั่วไป
-
เพศชายมีโอกาสนอนกรนมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงกล้ามเนื้อในลำคอ
-
ความเสี่ยงในการนอนกรนจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
-
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน มีไขมันสะสมบริเวณคอ ทำให้ช่องทางหายใจแคบลง
-
ผูัที่มีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ผิดปกติ
-
ผู้ที่มีโรคหรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
กลุ่มเด็ก
-
เด็กที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตผิดปกติ ทำให้ไปขัดขวางทางเดินหายใจ จนเกิดอาการนอนกรนได้
-
เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีเยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรัง ทำให้หายใจลำบาก ส่งผลให้นอนกรน
-
เด็กที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน มีไขมันสะสมบริเวณคอ ทำให้ช่องทางหายใจแคบลง ส่งผลให้นอนกรน
-
เด็กที่มีโครงสร้างทางกายวิภาคผิดปกติ เช่น โครงสร้างของช่องปาก จมูก คอ และลำคอที่แคบ เพดานอ่อนยาว ลิ้นใหญ่ คอสั้น หรือขากรรไกรล่างยื่น เป็นต้น
รีบแก้นอนกรน ก่อนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมเตียง
อาการนอนกรน คือ เสียงดังที่เกิดขึ้นขณะหายใจเข้าออกระหว่างหลับหรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หายใจลำบากตอนนอน รู้สึกเหนื่อยเพลียตอนตื่นนอน ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังมีปัญหา หนักสุดอาจส่งผลทำให้หยุดหายใจขณะนอนหลับได้ ในปัจจุบันมีวิธีแก้นอนกรนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการรักษานอนกรนด้วยเลเซอร์นอนกรน การผ่าตัดแก้นอนกรน การใช้อุปกรณ์แก้นอนกรน แต่ก็ควรทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการนอนกรนไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาอาการกรนที่เหมาะสมต่อไป
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : วิธีแก้นอนกรน รักษาปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ