Detect

ผู้เขียน : Detect

อัพเดท: 18 ก.ค. 2024 14.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 81 ครั้ง

นอนกรน (Snoring) ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ อันตรายไหม พร้อมบอกสาเหตุและวิธีการรักษาให้เห็นผลทำอย่างไรได้บ้าง


นอนกรน เกิดจากอะไร รักษาอาการนอนกรอย่างไรให้เห็นผล

นอนกรน

นอนกรน (Snoring) ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ อันตรายไหม พร้อมบอกสาเหตุและวิธีการรักษาให้เห็นผลทำอย่างไรได้บ้าง

อาการที่เป็นอันตรายในขณะที่คุณนอนหลับ อย่าง อาการนอนกรนที่พบได้บ่อยมากไม่ว่าจะเพศ หรือวัยไหน ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ และหลายคนที่มองข้ามอาการนอนกรนว่าเป็นเรื่องปกติ แต่แท้จริงแล้วนั้นอาการนอนกรนอาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคิด เพื่อแก้ปัญหาการนอนกรน วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการนอนกรนสาเหตุของอาการนอนกรน กลุ่มคนที่จะเสี่ยง พร้อมวิธีการรักษาจะมีอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลย


นอนกรน คืออะไร อันตรายมากไหม?

อาการนอนกรน คือ อาการที่เกิดขึ้นระหว่างที่เรานอน ซึ่งเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ โดยกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในช่องปากของเรา ได้ผ่อนคลายและหย่อนลงมา จึงปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจ

ไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้อย่างสะดวก จึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้น อีกทั้งยังส่งผลต่อร่างกายที่จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออีกด้วย

อาการนอนกรนนั้นจะส่งผลต่อระบบการหายใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล หากระดับความรุนแรงน้อยก็สามารถรักษาอาการนอนกรนด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะช่วยทำให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้อาการนอนกรนยังส่งผลต่อผู้ป่วยทำให้นอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ดังนั้นการได้รู้จักกับอาการนอนกรนพร้อมวิธีการรักษา ก็จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้


นอนกรนเกิดจากอะไร? สาเหตุที่ทำให้คุณนอนกรนในขณะนอนหลับ

นอนกรน เกิดจากอะไร

อาการของการที่คุณนอนกรนในช่วงที่คุณหลับนั้น มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้


ใครที่เสี่ยงต่อการมีภาวะนอนกรนบ้าง? เช็กตัวเองว่าคุณนั้นเข้าค่ายมีอาการนอนกรนหรือไม่ ?

หลายคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการนอนกรนแต่ยังไม่รู้ตัวเอง วันนี้เราได้ลิสต์คนกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการนอนกรน ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวเราไปดูกันเลย


นอนกรนส่งผลต่อโรคหัวใจหรือไม่ เช็กความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคนอนกรน

นอนกรนส่งผลต่อโรคหัวใจหรือไม่

โรคนอนกรนทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายก็จะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ซึ่งก็จะทำให้ทางเดินหายใจแคบจนกระทั่งปิดสนิท เมื่อทางเดินหายใจปิดสนิทจึงทำให้ไม่มีอากาศผ่านเข้าไป ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้


วิธีรักษานอนกรน มีวิธีอะไรบ้าง

สำหรับวิธีการรักษาโรคนอนกรนมีด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนอนกรน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการนอนกรนด้วยเช่นกัน จะมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลย


สรุป นอนกรน โรคภัยเงียบที่คุณต้องระวังตัว

อาการนอนกรน หรือโรคนอนกรน ที่หลายคนอาจมองข้ามว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ความจริงแล้วหากอยู่ในระดับที่รุนแรงก็จะทำให้เกิดโรคที่มีความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นการสังเกตตัวเอง หรือเช็กว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคนอนกรนหรือไม่นั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คุณได้ตื่นตัวและหาวิธีรักษาให้รวดเร็วมากที่สุด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที