Bancha

ผู้เขียน : Bancha

อัพเดท: 21 มิ.ย. 2024 09.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 38 ครั้ง

เมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด การรู้เท่าทันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ช่วยให้เราเพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้เหมาะสม


ภัยคุกคามทางไซเบอร์ อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม



 


ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความท้าทายที่ธุรกิจในยุคดิจิทัลต้องเผชิญ

เมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการโจมตีอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์กรที่ขาดการเฝ้าระวังภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ถูกโจมตีจากเหล่าแฮกเกอร์ หรือโดนโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ได้ง่าย ๆ จนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้ทุกองค์กรในยุคนี้ต้องหาจุดเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ แล้วรู้ไหมว่าถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์จะมีรูปแบบการโจมตีคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีวิธีรับมือที่แตกต่างกัน เพื่อให้เท่าทันภัยร้ายใกล้ตัว บทความนี้จะพาไปดูว่ารูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบมากในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง?

 

เรื่องน่ารู้! รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่พบในชีวิตประจำวัน

การทำธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่รู้ว่าจะถูกโจมตีเมื่อไหร่? ทำให้การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นปราการด่านแรกในการปกป้องธุรกิจบนโลกไซเบอร์ เพื่อให้เราเตรียมตัวรับมือภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย ตามมาทำความรู้จักรูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมวิธีการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์กันเลย

 

การโจมตีแบบ Phishing

เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบได้มากที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้อีเมลปลอม ส่งข้อความหลอกลวงผ่าน Messenger หรือเว็บไซต์ปลอม เป็นต้น 

 

ตัวอย่าง

แฮกเกอร์ส่งอีเมลที่ดูน่าเชื่อถือให้ผู้ใช้งานกดคลิกลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่ทำขึ้น แล้วกรอกข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวอื่น ๆ หากเราหลงเชื่อและกรอกข้อมูลลงไป แฮกเกอร์อาจนำข้อมูลไปสวมรอยเพื่อช็อปปิงออนไลน์ก็ได้

 

การโจมตีแบบ Social Engineering 

คือการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาศัยปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่อหลอกให้เป้าหมายหลงเชื่อและยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับแฮกเกอร์ ซึ่งการโจมตีรูปแบบนี้มีความท้าทายต่อการหาวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะระบุได้ทันทีว่านี่คือภัยคุกคามทางไซเบอร์

โดยรูปแบบการโจมตีแบบ Social Engineering ที่อาจพบในชีวิตประจำวัน เช่น การปลอมแปลงเป็นบุคคลสำคัญ เพื่อหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อ และการซ่อนหรืออำพราง URL, Domain หรือ Address อันตรายให้เหมือน URL ของจริง เป็นต้น

 

การโจมตีแบบ Ransomware

รูปแบบการโจมตีนี้จะเริ่มต้นเมื่อแฮกเกอร์เจาะเข้ามาควบคุมระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ โดยผู้โจมตีมีจุดประสงค์เพื่อเรียกค่าไถ่แลกกับการปลดล็อกข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะพบการโจมตีลักษณะนี้ในระดับองค์กรหรือหน่วยงานรัฐบาล

 

การโจมตีแบบ Malware และ Virus

สำหรับภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์รูปแบบนี้จะเริ่มต้นจากการติดตั้ง Malware หรือ Virus บนคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าแฮกเกอร์มักใช้อีเมลเป็นเครื่องมือหลักในการเผยแพร่ Virus แม้ภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบนี้จะสร้างความเสียหายได้ไม่มากนัก แต่การตระหนักถึงการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็ช่วยให้ห่างไกลจากการโจมตีรูปแบบอื่น ๆ ด้วย

 

การโจมตีแบบ Denial of Service (DOS)

ถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อยมากที่สุด ซึ่งรูปแบบการโจมตีเป็นการทำให้ข้อมูลที่รับ-ส่ง เกิดความล้มเหลว ล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วคราว โดยการส่งคำขอเข้าระบบจำนวนมากจากคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียว สำหรับเป้าหมายในการโจมตีลักษณะนี้ก็คือข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเรา ไปจนถึงคอมพิวเตอร์ในองค์กรนั่นเอง

 

การโจมตีแบบ Spyware และ Adware

ปิดท้ายกับการโจมตีแบบ Spyware และ Adware ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบนี้จะตรวจพบได้ยากมาก เพราะมักเกี่ยวข้องกับการติดตั้งแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานโดยที่พวกเขาให้ความยินยอมแบบไม่รู้ตัว หรือการแสดงโฆษณาสินค้าบนสื่ออื่น ๆ ที่ด้านใดด้านหนึ่งของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่จะสร้างช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เข้ามาโจมตีนั่นเอง

 

วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เบื้องต้นที่ใครก็สามารถทำตามได้

แม้การหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากเราต้องใช้บริการต่าง ๆ บนสื่อโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, LINE, Twitter, TikTok, YouTube หรือแอปพลิเคชันธนาคารที่จำเป็นต้องมีข้อมูลส่วนตัวของเราอยู่เสมอ แต่หากต้องการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เบื้องต้นก็สามารถทำได้ดังนี้

  1. อัปเดตคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ติดตั้งโปรแกรมป้องกัน Malware (Anti-Malware) บนคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
  3. เพิ่มความระมัดระวังเวลาใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่อทั้งหลาย อย่างการใช้ External Harddisk Thumb Drive ด้วยการสแกนไวรัสก่อนใช้งานทุกครั้ง
  4. ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเสี่ยงมี Malware แฝงตัวอยู่
  5. ไม่คลิกข้อความที่แสดงโฆษณาหรือหน้าต่างป๊อปอัพ (pop–ups) ปลอมบนเว็บไซต์ที่เข้าไปเยี่ยมชม เพราะจะเป็นการเริ่มต้นดาวน์โหลด Malware แบบไม่รู้ตัว 
  6. ควรหลีกเลี่ยงการเปิดอีเมล รวมไปถึงไฟล์แนบที่ไม่น่าไว้วางใจที่ถูกส่งมาจากคนที่ไม่รู้จัก 

 

สำหรับภัยคุกคามทางไซเบอร์เหล่านี้ เราสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการหมั่นอัปเดตความรู้จะช่วยให้รู้เท่าทันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ ด้วยเทคนิคการหลอกล่อจากแฮกเกอร์มีความแนบเนียนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และสำหรับองค์กรที่ต้องการปกป้องคอมพิวเตอร์ของบุคลากรและระบบเครือข่ายจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรและลูกค้า

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที