การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คือ การใช้เทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองโครโมโซมที่ผิดปกติ ทั้งแบบ PGT-A, PGT-M และ PGT-SR ช่วยลดโอกาสแท้งบุตรได้เป็นอย่างดี
สิ่งที่หลาย ๆ ครอบครัวต้องการ คือ การมีบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่ด้วยสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่บางรายก็อาจจะมีโรคทางพันธุกรรมแอบแฝงอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การตั้งครรภ์บุตรให้มีสุขภาพดี จึงควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเสียก่อน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยตรวจคัดกรองโครโมโซมที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการแท้งบุตร แล้วการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (PGS หรือ PGT-A) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจคัดกรองโครโมโซมที่มีความผิดปกติในตัวอ่อนที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือการฉีดตัวอสุจิเข้าสู่ไข่ (ICSI) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จ ลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และลดโอกาสที่ทารกจะเกิดมาพร้อมความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม
แล้วโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติเกิดจากอะไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า โครโมโซมเปรียบเสมือนแผนที่ทางพันธุกรรมที่บอกเล่าข้อมูลสำคัญทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต มนุษย์ปกติมีโครโมโซม 46 แท่ง แบ่งเป็น 23 คู่ แต่ละคู่ประกอบด้วยโครโมโซมจากพ่อและแม่ ทำให้สาเหตุของโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติมีหลายประการ เช่น
ทั้งนี้ ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่
1. เก็บตัวอย่างเซลล์ตัวอ่อน
2. ตรวจวิเคราะห์โครโมโซม
โดยการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก สามารถสรุปได้หลายประเด็น ดังนี้
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นการตรวจคัดกรองโครโมโซมที่ผิดปกติของตัวอ่อน ซึ่งในปัจจุบันนิยมอยู่ 3 วิธี ดังนี้
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน แบบ PGT-A (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมในตัวอ่อนก่อนการฝังตัว เพื่อตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติในตัวอ่อน นับเป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน แบบ PGT-M (Preimplantation Genetic Testing for Monogenic Disorders) เป็นการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่ก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรมเดี่ยว ด้วยการเก็บตัวอย่างเซลล์จากตัวอ่อน แล้ววิเคราะห์ DNA ของตัวอ่อนเพื่อหาการกลายพันธุ์ของยีน พร้อมทั้งเปรียบเทียบ DNA ของตัวอ่อนกับ DNA ของพ่อแม่
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน แบบ PGT-SR (Preimplantation Genetic Testing for Structural Rearrangements) เป็นการตรวจการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม ถือว่าเป็นความผิดปกติจากการสลับชิ้นส่วนของโครโมโซม ส่งผลให้มีพันธุกรรมไม่ครบ หรือมีจำนวนเกิน ทำให้ตัวอ่อนมีชุดโครโมโซมไม่สมดุล
บุคคลที่ควรพิจารณาตรวจโครโมโซมตัวอ่อน (PGT) ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ที่อาจพิจารณาตรวจโครโมโซมตัวอ่อนร่วมด้วย เช่น คู่สมรสที่มีญาติใกล้ชิดป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม คู่สมรสที่เคยได้รับการรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัด เป็นต้น
สำหรับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเองก็ประกอบด้วยข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจจึงควรศึกษาให้ดีเสียก่อน
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนั้น มีข้อดีหลายประการ ดังนี้
ข้อเสียของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ได้แก่
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นการใช้เทคโนโลยีตรวจคัดกรองโครโมโซมที่มีความผิดปกติในตัวอ่อน เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำเร็จ ลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และลดโอกาสที่ทารกจะเกิดมาพร้อมความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ PGT-A, PGT-M และ PGT-SR แต่ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตรวจอย่างละเอียด พร้อมทั้งพิจารณาข้อดีข้อเสียอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที