โรคแพนิค หรือ โรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยไม่คาดคิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเกิดอาการดังกล่าวขึ้นอีก บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยว่าโรคแพนิคเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร และสามารถรักษาอย่างไรได้บ้าง !
โรคแพนิคเกิดจากอะไร ?
แม้มีคนสงสัยเยอะมากว่าโรคแพนิคเกิดจากอะไร ทว่าสาเหตุของโรคแพนิคนั้นยังไม่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ดังนี้
พันธุกรรม เคยมีคนในครอบครัวประสบกับภาวะวิตกกังวลหรือเป็นโรคแพนิคมาก่อน
การเผชิญกับเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ปัญหาการเงิน ความสัมพันธ์ ฯลฯ
ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน โดปามีน
บุคคลที่โดยปกติมีบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ขี้ระแวงเป็นทุนเดิม
ประสบการณ์ในวัยเด็ก เช่น การถูกทารุณกรรม ถูกละเลย ขาดความอบอุ่น
อาการของโรคแพนิค
อาการของโรคแพนิค โดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและรุนแรงแบบไม่ทันตั้งตัว อาการหลัก ๆ ของโรคแพนิค ได้แก่
ใจสั่น ใจคอไม่ดี
หายใจลำบาก หายใจเร็ว
เหงื่อออก ตัวสั่น
รู้สึกเหมือนจะวูบ เป็นลม
บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
รู้สึกเหมือนจะตาย
กลัวว่าตนเองจะเสียสติ
รู้สึกเหมือนกำลังถูกคุกคาม
รู้สึกชาหรือเสียวซ่าตามร่างกาย
รู้สึกเหมือนกำลังจะหมดสติ
การวินิจฉัยและรักษาโรคแพนิค
แพทย์จะวินิจฉัยโรคแพนิคจากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางจิตเวช ในการดูเบื้องต้นว่าโรคแพนิคเกิดจากอะไร โดยแพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อแยกโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกัน โดยการรักษาโรคแพนิคมี 2 วิธีหลัก ๆ คือ
1. การบำบัดทางจิต
การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT) ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคแพนิค และฝึกวิธีการรับมือกับความวิตกกังวล
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผู้ป่วยลดความตึงเครียด และความวิตกกังวล
2. การรักษาด้วยยา
กลุ่มยาต้านซึมเศร้า ช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง
กลุ่มยาแบนโซไดอาซีพีน (Benzodiazipines) ช่วยลดอาการตื่นตระหนกเฉียบพลันด้วยการกดประสาท เหมาะแก่การใช้ในระยะสั้นเท่านั้น
การป้องกันโรคแพนิค
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิค
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายทั้งกล้ามเนื้อและจิตใจ
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
พบแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าโรคแพนิคเกิดจากอะไรก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยจากสถิติที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะมีอาการดีขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที