กู้ร่วมคืออะไร ยุ่งยากหรือไม่ ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง แล้วต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการกู้ร่วม รวบรวมทุกคำตอบของคำถามที่พบบ่อยสำหรับกู้ร่วมไว้ให้หมดแล้วที่นี่
กู้ร่วม หากใครที่อยากสร้างครอบครัวย่อมเคยผ่านหูผ่านตากับคำนี้มาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่เคยลงไปศึกษาอย่างจริงจังว่าข้อดีข้อเสียของการกู้ร่วมคืออะไร แล้วกู้อะไรได้บ้าง หลากหลายคำถามเกี่ยวกับการกู้ร่วมที่หลายท่านสนใจแต่ยังไม่ได้หาคำตอบ เชื่อว่าถ้าอ่านบทความนี้จบรับรองว่าตอบทุกข้อสงสัยของกู้ร่วมอย่างแน่นอน
กู้ร่วมคือการทำสัญญากู้สินเชื่อกับธนาคารร่วมกับบุคคลอื่นที่จะทำให้การยื่นกู้เป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น ได้วงเงินสูงขึ้น โดยที่บุคคลกู้ร่วมไม่จำเป็นต้องเป็นสายเลือดเดียวกันหรือครอบครัวเดียวกันก็ได้ ซึ่งธนาคารจะดูจากความสามารถทางการเงินของทั้งสองฝ่าย ทำให้การกู้ร่วมได้รับวงเงินที่สูงขึ้นนั่นเอง
เราอาจจะคิดว่าการกู้ร่วมจะต้องเป็นผู้ที่จดทะเบียนสมรสกันหรือมีความเกี่ยวข้องกันทางใดทางหนึ่ง แต่ในปัจจุบันนี้การกู้ร่วมไม่จดทะเบียนก็สามารถทำได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นครอบครัวเดียวกันเหมือนในอดีต รวมถึง ณ ปัจจุบันนี้การกู้ร่วมเพศเดียวกันอย่าง LGBTQ+ ก็สามารถกู้ร่วมกันได้เช่นกัน และที่สำคัญการกู้ร่วมก็เป็นสินเชื่อถูกกฎหมาย จึงไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นการทำผิดกฎหมายใด ๆ
เมื่อทำความเข้าใจและรู้จักกับการกู้ร่วมแล้ว ทีนี้เราว่าดูกันว่าการกู้ร่วมมีข้อดีข้อเสียหรือมีความเสี่ยงอะไรกันบ้าง
สำหรับข้อดีของการกู้ร่วมก็จะมีดังต่อไปนี้
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีรายได้ที่ไม่มั่นคง หรือมีรายได้ไม่มากอาจทำให้ธนาคารเจ้าของสินเชื่อไม่ปล่อยให้กู้เพราะมองว่าความสามารถทางการเงินไม่เพียงพอ แต่เมื่อกู้ร่วมทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้น
นอกจากความน่าเชื่อถือด้านการเงินของผู้ยื่นกู้แล้ว เมื่อรวมรายได้จากทั้งสองฝั่งก็อาจทำให้วงเงินที่ยื่นกู้ได้รับสูงขึ้น เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้จับจ่ายใช้สอยได้สบายขึ้น
เมื่อมีผู้กู้ร่วม การชำระหนี้ก็จำเป็นต้องชำระในส่วนเท่า ๆ กัน ทำให้ไม่ต้องแบกภาระหนี้จำนวนมากคนเดียว แน่นอนว่าการเงินย่อมมีความคล่องตัวมากกว่าเช่นกัน
โดยจำนวนการลดหย่อนภาษีจะถูกหารไปตามจำนวนผู้กู้ร่วม
การกู้ร่วมแน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยงไม่ต่างกันกับการกู้คนเดียว จึงควรเอามาพิจารณาร่วมกันเพื่อดูว่าแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งความเสี่ยงของการกู้ร่วมก็จะมีดังต่อไปนี้
แน่นอนว่าอนาคตคือสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าจะเกิดเหตุทะเลาะผิดใจกันหรือไม่ เมื่อมีเหตุขัดแย้งกัน แน่นอนว่าเรื่องผลประโยชน์หรือภาระหนี้สินใด ๆ ย่อมไม่ลงตัวทำให้เกิดปัญหาตามมา
เพราะฉะนั้นก่อนลงชื่อเซ็นสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านก็ต้องตรวจสอบ ตกลงกันให้ดีว่าอยากให้ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือจะใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทั้งคู่ก็ยังได้
ในกรณีที่การชำระหนี้ไม่เป็นไปตามกำหนด เจ้าของทรัพย์สินต้องการฟ้องร้อง มีการออกหมายศาลยึดทรัพย์หรืออายัติทรัพสินย์ ธนาคารมีสิทธิ์เรียกชำระหนี้จากผู้กู้ร่วมฝ่ายใดก็ได้ไม่ผิดกฎหมาย
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังมีการกู้ร่วมอยู่ แต่ต้องการไปยื่นขอสินเชื่อเพิ่ม อาจมีผลต่อการพิจารณาของธนาคาร เพราะธนาคารจะมองว่าตัวเองมีภาระหนี้สินอยู่แล้ว
แน่นอนว่ามีแค่ข้อดีข้อเสียอาจไม่เพียงพอต่อการพิจารณา ทางเราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยสำหรับคนที่อยากกู้ร่วมรวมไว้ให้แล้วในบทความนี้
สามารถยกเลิกสัญญากู้ได้โดยจะจะมีวิธีให้เลือก 3 วิธีต่อไปนี้
สำหรับเอกสารสำหรับการใช้กู้ร่วม จะแบ่งเป็น 3 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. เอกสารส่วนตัว
2. เอกสารการเงิน
3. เอกสารสินทรัพย์
สำเนาสัญญาการซื้อขาย
การกู้ร่วมคือการรับภาระหนี้สินร่วมกัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการหารหนี้เท่ากัน แต่เป็นการรับผิดชอบการชำระหนี้สินให้ตรงเวลา ไม่ผิดชำระหนี้ จนกว่าจะครบนั่นเอง
สำหรับกรรมสิทธิ์การกู้ร่วมซื้อบ้านสามารถใส่ชื่อคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายก็ได้ ส่วนการกู้ร่วมซื้อรถจะสามารถมีผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ได้เพียงคนเดียว
หากผู้กู้ร่วมเสียชีวิต จะต้องแจ้งเปลี่ยนสิทธิ์ในการผ่อนชำระรวมทั้งเปลี่ยนผู้ครองกรรมสิทธิ์ในกรณีที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งสองฝ่าย
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนคงได้ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการกู้ร่วมไปมากทีเดียว เชื่อว่าหากเตรียมตัวให้ดี การยื่นขอกู้ร่วมจะสามารถผ่านฉลุยได้อย่างไม่ต้องกังวล แต่ไม่ว่าจะเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้าน กู้ร่วมซื้อรถ ลองชั่งน้ำหนักดี ๆ ว่าแบบไหนเหมาะกับเรา เพื่อที่จะได้ไม่เป็นภาระในระยะยาวนั่นเอง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที