PM 2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายและมีขนาดเล็กมาก สามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน
ปัญหาฝุ่นละอองในอากาศเป็นหนึ่งในปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่และพื้นที่ที่มีการจราจรคับคั่ง ดังนั้นการให้ความสำคัญกับปัญหานี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม “PM 2.5” เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กมากจนสามารถลอยตัวในอากาศได้เป็นเวลานาน และแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้อย่างง่ายดาย โดยฝุ่นละอองเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ว่าเกิดจากอะไร มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง สามารถแบ่งความรุนแรงได้เป็นกี่ระดับ พร้อมทั้งอธิบายว่าค่าฝุ่น PM 2.5 ระดับไหนที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ฝุ่น PM 2.5 คืออนุภาคขนาดเล็กมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน โดยลักษณะสำคัญของฝุ่น PM 2.5 จะมีดังนี้
ฝุ่น PM2.5 จึงถือเป็นมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายมาก ควรหลีกเลี่ยงการสูดดม และมีการควบคุมแหล่งกำเนิดเพื่อลดปริมาณในบรรยากาศ
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า PM 2.5 คืออะไร ถัดไปเราจะมาดูสาเหตุที่ก่อให้เกิด PM 2.5 ขึ้นว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง โดยสาเหตุที่ส่งผลให้เกิด PM 2.5 จะมาจากปัจจัยหลัก ๆ 6 ข้อ ดังนี้
ซึ่งการควบคุมและลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งต่าง ๆ เป็นวิธีหลักในการจัดการปัญหาฝุ่น PM 2.5
ความรุนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5 จะมีการแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ ตามค่ามาตรฐานของประเทศไทย ดังนี้
การติดตามค่า PM 2.5 เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีความรุนแรงสูงและจะได้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หรือหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จะได้หาวิธีป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้กระทบต่อสุขภาพร่างกาย
PM 2.5 เป็นอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กทำให้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดมได้โดยตรง ซึ่งอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ดังนี้
สำหรับสภาพอากาศและสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในประเทศไทย ณ ปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งยังอยู่ในระดับ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลาเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ซึ่งทางองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุดต่อสุขภาพ คือ ไม่เกิน 15 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในระยะเวลาเฉลี่ย 24 ชั่วโมง
PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 2.5 ไมครอน ที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์และอนินทรีย์จากแหล่งต่าง ๆ อย่าง การเผาไหม้เชื้อเพลิง กิจกรรมทางอุตสาหกรรม หรือปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศ โดยระดับความรุนแรงของ PM 2.5 จะแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับตามปริมาณความหนาแน่น ตั้งแต่ปกติ ปานกลาง หนัก วิกฤต ไปจนถึงระดับเป็นพิษร้ายแรง
ซึ่งผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก เพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่าง หน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที