Cassie

ผู้เขียน : Cassie

อัพเดท: 17 พ.ค. 2024 11.18 น. บทความนี้มีผู้ชม: 116 ครั้ง

สำหรับผู้ประกอบการโรงงาน นอกจากต้องควบคุมมลภาวะอย่างน้ำเสีย อากาศเสีย ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และต้องควบคุมคุณภาพก่อนปลดปล่อยออกจากโรงงานตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การสั่นสะเทือน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ลองมาดูกันว่าเหตุใดแรงสั่นสะเทือนจึงส่งผลอันตรายต่อคน เครื่องจักร และสิ่งแวดล้อมได้ และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร


การสั่นสะเทือนในโรงงาน แรงที่ส่งผลต่อสิ่งรอบข้างมากกว่าที่คิด

สำหรับผู้ประกอบการโรงงาน นอกจากต้องควบคุมมลภาวะอย่างน้ำเสีย อากาศเสีย ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และต้องควบคุมคุณภาพก่อนปลดปล่อยออกจากโรงงานตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การสั่นสะเทือน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่มีการกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องควบคุมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ลองมาดูกันว่าเหตุใดแรงสั่นสะเทือนจึงส่งผลอันตรายต่อคน เครื่องจักร และสิ่งแวดล้อมได้ และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร

 

 

การสั่นสะเทือนในโรงงาน คืออะไร

การสั่นสะเทือน หมายถึง แรงสั่นไหวหรือการเคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็วของวัตถุในโรงงาน แรงสั่นสะเทือนมักเกิดจากการทำงานของเครื่องจักรกล เช่น มอเตอร์ พัดลม ปั๊ม สายพาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ

 

ทำไมการกำหนดแรงสั่นสะเทือนจึงมีความสำคัญ ?

อันตรายจากแรงสั่นสะเทือนขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือน ความถี่ของแรงสั่นสะเทือน ระยะเวลาที่สัมผัสกับแรงสั่นสะเทือน และสุขภาพของบุคคล ดังนั้น การสั่นสะเทือนในโรงงาน อาจส่งผลเสียต่อคน เครื่องจักร สิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้างได้ ดังนี้

 

อันตรายต่อคน 

 

อันตรายต่อเครื่องจักร

 

อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

 

อันตรายต่อชุมชนรอบข้าง

 

การจัดการการสั่นสะเทือนในโรงงาน

มีวิธีการจัดการการสั่นสะเทือนในโรงงานหลายประการ ดังนี้

ควบคุมที่ต้นเหตุ : เลือกเครื่องจักรที่มีการออกแบบเพื่อลดแรงสั่นสะเทือน ติดตั้งฐานรองรับเครื่องจักร บำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นประจำจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแรงสั่นสะเทือน

ควบคุมที่ตัวส่ง : ติดตั้งแผ่นยางหรือสปริงรองรับเครื่องจักร ติดตั้งฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียงจะช่วยลดเสียงรบกวนจากแรงสั่นสะเทือน หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต

ควบคุมที่ตัวรับ : จัดหาอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนให้แก่บุคลากร กำหนดระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสม ตรวจสุขภาพบุคลากรเป็นประจำ

การกำหนดเขตปลอดภัย : ควรกำหนดเขตปลอดภัย ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้บริเวณที่มีแรงสั่นสะเทือนสูง

 

การกำหนดมาตรฐานแรงสั่นสะเทือน

ควรปฏิบัติตามมาตรฐานแรงสั่นสะเทือนที่กำหนดโดยหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมสวัสดิการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน รวมไปถึงมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน ISO 2372-1974 E. ISO 4866-2010 เป็นต้น

 

การตรวจวัดและควบคุมแรงสั่นสะเทือน

ควรมีการตรวจวัดและควบคุมแรงสั่นสะเทือนในโรงงานเป็นประจำ โดยมีเครื่องมือวัดแรงสั่นสะเทือนหลายประเภท เช่น เครื่องวัดความเร่ง (Accelerometer) เครื่องวัดความเร็ว (Velocimeter) เครื่องวัดการกระจัด (Displacement meter) และนำมาวิเคราะห์ผลการวัดเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข ตลอดจนต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

 

การมีมาตรการป้องกันและควบคุมแรงสั่นสะเทือน

โรงงานควรมีแผนการจัดการการสั่นสะเทือน ที่มีการกำหนดตั้งแต่ระดับนโยบายการควบคุมแรงสั่นสะเทือน ขั้นตอนการตรวจสอบแรงสั่นสะเทือน มาตรการควบคุมแรงสั่นสะเทือน และแผนฉุกเฉินหากเกิดเหตุต่าง ๆ 

 

จะเห็นได้ว่าการกำหนดแรงสั่นสะเทือนในโรงงานมีความสำคัญต่อสุขภาพของบุคลากร ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ประกอบการโรงงานควรมีมาตรการควบคุมและตรวจวัดการสั่นสะเทือนเป็นประจำ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร สิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้าง เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างไม่มีปัญหา

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที