Muthita

ผู้เขียน : Muthita

อัพเดท: 08 ก.พ. 2024 11.06 น. บทความนี้มีผู้ชม: 64 ครั้ง

แนะนำข้อควรรู้ก่อน การปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้ต้องรู้


ข้อควรรู้ก่อน การปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้ต้องรู้

ใครที่เป็นหนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้เงินกู้ หรือหนี้บัตรเครดิตและมีทีท่าว่าจะชำระจ่ายงวดไม่ไหว จะด้วยเหตุผลจากภาระที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ลดลง หรือมีเหตุใด ๆ ให้ไม่มีเงินมาชำระหนี้ได้เหมือนเดิม และกำลังจะมองหาวิธีจัดการหนี้ดังกล่าวอยู่ บทความนี้เป็นประโยชน์สำหรับลูกหนี้ที่กำลังมีปัญหานี้อย่างแน่นอน เพราะเรามีวิธีจัดการให้หนี้นั้นรอดพ้นจากการเป็นหนี้เสีย หรือ NPL ได้ โดยที่ไม่ต้องเสียเครดิต วิธีนั้นก็คือ ขอปรับโครงสร้างหนี้รวมก้อนหนี้บัตรเครดิต ซึ่งก่อนปรับโครงสร้างหนี้ เราควรรู้สิ่งเหล่านี้ก่อน เพื่อประโยชน์ของตัวลูกหนี้เอง

การปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร 

การปรับโครงสร้างหนี้ คือการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ติดหนี้บัตรเครดิตใหม่ เป็นการขอโดยฝ่ายลูกหนี้ ที่เห็นว่าตนไม่สามารถชำระหนี้ได้เหมือนเดิมตามเงื่อนไข สามารถยื่นขอ ปรับโครงสร้างหนี้ ได้เลยหากพิจารณาสถานการณ์ทางการเงินของตนแล้วว่า ไม่สามารถชำระตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาเดิมได้ โดยไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสียก่อน ซึ่งถือเป็นวิธีการช่วยเหลือลูกหนี้ก่อนจะกลายเป็นหนี้เสีย สามารถยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ 2 ระยะได้แก่

  1. เมื่อคิดว่าเริ่มชำระหนี้ไม่ไหว โดยที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย

  2. หลังจากที่เป็นหนี้เสียไปแล้ว

ข้อดีของการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ข้อควรรู้ก่อน การปรับโครงสร้างหนี้ ที่ลูกหนี้ต้องรู้

ก่อนที่เราจะยื่น ขอปรับโครงสร้างหนี้ เราควรรู้ก่อนว่า การปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนเหมาะกับเรามากที่สุด โดยคำนึงถึงระยะเวลา และจำนวนเงินที่เรามีหรือจำนวนเงินที่เราสามารถผ่อนจ่ายได้ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้นั้นมีให้เลือกดังต่อไปนี้

  1. ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นการลดเฉพาะช่วงเวลาตามกำหนด เช่น 3, 6 เดือน เฉพาะอัตราดอกเบี้ยของหนี้เดิมเท่านั้น

  2. พักชำระเงินต้น แต่ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ ส่วนเงินต้นที่ลดต้องดูเงื่อนไขว่า ทางสถานบันการเงินให้ไปจ่ายต่องวดสุดท้ายของสัญญา หรือเฉลี่ยจ่ายหลังจากครบงวดที่ขอพักชำระเงินต้น หรือไปจ่ายรวมทีเดียวในงวดสุดท้าย

  3. ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เป็นการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปนานกว่าเดิม แต่ยอดหนี้ที่ชำระน้อยลงกว่าเดิม

  4. ผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ หากผิดนัดชำระหนี้ 1 งวด ลูกหนี้ที่มีประวัติเป็นลูกหนี้ที่ดีมาตลอดสามารถยื่นขอให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากเงินต้นงวดนั้น ๆ ได้

  5. เพิ่มเงินทุนหมุนวียน (working capital: WC) ยื่นขอกู้วงเงินเพิ่มจากรายจ่ายประมาณการล่วงหน้าจากสถาบันการเงินเดิม เพื่อขอวงเงินเพิ่ม

  6. เปลี่ยนประเภทหนี้ คือการเปลี่ยนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงไปเป็นหนี้ประเภทที่มีอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่า เช่น ขอ ปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ไปเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อแบบ Term Loan ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า เป็นต้น

  7. หาเงินก้อนมาปิดหนี้ แม้ว่าจะมีจำนวนเงินที่น้อยกว่าจำนวนหนี้ แต่สามารถเจรจาเพื่อขอปิดหนี้ได้

  8. รีไฟแนนซ์ หรือการเปลี่ยนเจ้าหนี้ใหม่ คือการหาเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขที่ดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า หรือผ่อนในจำนวนที่น้อยกว่า ไปปิดหนี้เจ้าหนี้เดิม แล้วมาผ่อนตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ใหม่แทน


ก่อนยื่นขอ ปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าจะเลือกปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน ที่เหมาะกับสถานภาพทางการเงิน ณ ขณะนั้น อย่ายื่นขอปรับโรงสร้างหนี้ในเงื่อนไขที่ตัวลูกหนี้รู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ เพราะจะส่งผลให้การยื่น ขอปรับโครงสร้างหนี้ ครั้งใหม่ทำได้ยากยิ่งขึ้นกว่าเดิม


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที