อาการหลงลืมในผู้สูงอายุคืออะไร? รักษาอย่างไรถึงจะดี?
อาการหลงลืมในผู้สูงอายุเป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งหลายครั้งคนในครอบครัวหรือคนรอบข้างอาจขาดความเข้าใจว่าอาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาอย่างไร หรือแม้กระทั่งไม่รู้จักอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษาและการดูแลต้องทำอย่างไร บทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักว่าอาการหลงลืมในผู้สูงอายุคืออะไร และมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือไว้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย
อาการหลงลืมในผู้สูงอายุคืออะไร?
อาการหลงลืมในผู้สูงอายุคือความผิดปกติทางสมองที่ส่งผลต่อความทรงจำ ทำให้มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ซึ่งเป็นอาการที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยอาการหลงลืมในผู้สูงอายุนี้อาจมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอายุที่เพิ่มมากขึ้น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง เซลล์สมองเริ่มเสื่อมหรือตายลง ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ความทรงจำเริ่มถดถอย หลงลืมเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านมา ลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน หรือแม้กระทั่งลืมสิ่งคุ้นชิน ที่มักทำเป็นประจำ จนส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
อาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาอย่างไรถึงจะเหมาะสม?
อาการหลงลืมในผู้สูงอายุนั้นแม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูแลให้อาการคงที่ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ การใช้ยาเพื่อยับยั้งสารอะเซตีลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase) ให้เข้าไปยับยั้งขัดขวางการทำลายเซลล์สมอง เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้คงที่ อยู่ในระดับที่สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าสิ่งที่สำคัญคือการเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและประเมินอาการ จากนั้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
วิธีการดูแลผู้ที่มีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ
สำหรับผู้ที่มีคนในครอบครัวหรือคนรอบข้างเป็นผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม สามารถดูแลบุคคลเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมและมีความเข้าใจในอาการดังกล่าว ด้วยคำแนะนำดังต่อไปนี้
เมื่อเริ่มมีอาการหลงลืมให้พาไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและวินิจฉัยอาการ
ให้ผู้สูงอายุสวมใส่สร้อยคอหรือสร้อยข้อมือที่มีป้ายบอกข้อมูลการติดต่อของผู้ดูแล
จัดสภาพแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสม มีแสงไฟเพียงพอ จัดเก็บของมีคม สิ่งที่อาจเป็นอันตรายให้มิดชิด
จัดเก็บของไว้ที่เดิมอย่างเป็นระเบียบ ไม่เปลี่ยนที่วางของบ่อย ๆ
พูดคุยสื่อสารกับผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ ค่อย ๆ พูดคุยช้า ๆ เพื่อให้ผู้สูงเข้าใจได้ง่าย
ดูแลเรื่องสุขอนามัยของผู้สูงอายุ
ดูแลผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ หลีกเลี่ยงการบ่นต่อว่าผู้สูงอายุ
แนวทางการป้องกันและรับมือกับอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ
สำหรับผู้ที่เริ่มเข้าใกล้วัยสูงอายุ หรือมีคนในครอบครัว คนรอบตัวเข้าใกล้วัยสูงอายุ อาจเริ่มวิตกเกี่ยวกับอาการหลงลืมในผู้สูงอายุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการหลงลืมในผู้สูงอายุนี้สามารถเตรียมการรับมือและป้องกันไว้ล่วงหน้าได้ ดังนี้
งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทานอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนในปริมาณที่พอดีต่อร่างกาย
ทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3
ทานผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
ออกกำลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที
ทำกิจกรรมกระตุ้นสมองอยู่เสมอ เช่น เกมที่ใช้ความจำ
ทำกิจกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น ลองทำอาหารใหม่ ๆ เรียนภาษาใหม่ ๆ
หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ
เข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ
จะเห็นได้ว่าแม้อาการหลงลืมในผู้สูงอายุจะไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี แต่อาการหลงลืมในผู้สูงอายุรักษาเพื่อให้อาการคงที่ สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ โดยอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ การรักษาและการดูแลนั้นต้องอาศัยความเข้าใจจากคนรอบข้าง ค่อย ๆ ดูแลและให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ที่สำคัญคือการพาไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและวินิจฉัยอาการ เพื่อที่จะได้ดูแลตามคำแนะนำของแพทย์ได้อย่างถูกวิธี
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที