ปิยเกียรติ

ผู้เขียน : ปิยเกียรติ

อัพเดท: 08 ม.ค. 2024 12.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 220 ครั้ง

การให้ออกซิเจนทางจมูกเป็นวิธีดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองตามปกติได้ โดยใช้สายออกซิเจนร่วมกับถังออกซิเจนหรือเครื่องผลิตออกซิเจน เพื่อนำส่งออกซิเจนผ่านทางจมูกของผู้ป่วยให้หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ แต่บางครั้งอาจพบปัญหาเรื่องน้ำขังในสายออกซิเจน ทำให้เกิดความกังวลว่าน้ำที่อยู่ภายในสายจะไหลเข้าไปในจมูกผู้ป่วย โดยเฉพาะการใช้งานขณะนอนหลับที่อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้


5 วิธีป้องกันน้ำขังในสายออกซิเจน

การให้ออกซิเจนทางจมูกเป็นวิธีดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจเองตามปกติได้ โดยใช้สายออกซิเจนร่วมกับถังออกซิเจนหรือเครื่องผลิตออกซิเจน เพื่อนำส่งออกซิเจนผ่านทางจมูกของผู้ป่วยให้หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ แต่บางครั้งอาจพบปัญหาเรื่องน้ำขังในสายออกซิเจน ทำให้เกิดความกังวลว่าน้ำที่อยู่ภายในสายจะไหลเข้าไปในจมูกผู้ป่วย โดยเฉพาะการใช้งานขณะนอนหลับที่อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้

 

น้ำขังในสายออกซิเจนได้อย่างไร

              ผู้ใช้งานหลายคนมักคิดว่าน้ำขังในสายออกซิเจนน่าจะเกิดจากเครื่องผลิตออกซิเจนเสีย เพราะเมื่อก่อนไม่เคยมีอาการเช่นนี้ แต่ในความเป็นจริงคือเกิดจากปรากฏการณ์การควบแน่นจากไอน้ำกลายเป็นน้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออุณหภูมิแตกต่างกันและความชื้นในอากาศจำนวนมาก

              ดังนั้นการที่จะเกิดหยดน้ำค้างในสายออกซิเจนได้ ต้องเกิดจากปริมาณไอน้ำในสายมีมากพอที่ทำให้เกิดการควบแน่น หรือผนังภายในสายมีความเย็นกว่าไอน้ำภายในสายก็เกิดการควบแน่นได้เช่นกัน

  1. อุณหภูมิห้องที่ต่างกัน เครื่องผลิตออกซิเจนบางรุ่นทำงานเสียงดังจนทำให้รบกวนการนอนของผู้ป่วย ส่งผลให้มีการนำเครื่องออกไปวางไว้ที่นอกห้องแล้วค่อยลากสายออกซิเจนเข้าไปหาผู้ป่วย อุณหภูมิด้านนอกจึงไม่เท่ากับด้านในห้อง อาจทำให้เกิดการควบแน่นได้ อีกทั้งยังมีกรณีที่เปิดเครื่องใช้เป็นระยะเวลานาน ๆ จนเกิดความร้อนสะสมที่เครื่องหรือที่พื้นแล้วมาสัมผัสกับสายออกซิเจนก็เกิดการควบแน่นได้ รวมถึงกรณีที่อุณหภูมิเครื่องก็อุณหภูมิหนึ่ง อุณหภูมิที่พื้นก็อุณหภูมิหนึ่ง ขณะใช้งานก็อุณหภูมิหนึ่ง และสายที่พาดตัวผู้ป่วยก็อีกอุณหภูมิหนึ่ง ยิ่งทำให้เกิดการควบแน่นได้ง่าย
  2. ความชื้นสัมพัทธ์สูง พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนเพราะมีความชื้นในอากาศสูง เมื่อใช้เครื่องผลิตออกซิเจนร่วมกับกระปุกให้ความชื้น เพราะฉะนั้นความชื้นจากกระปุกที่สัมผัสกับความชื้นในอากาศ จึงทำให้เกิดการควบแน่นได้ง่าย เนื่องจากความชื้นในอากาศไม่สามารถเก็บน้ำในรูปแบบของไอน้ำได้นั่นเอง

 

วิธีป้องกันน้ำขังในสายออกซิเจน

  1. ควรนำเครื่องผลิตออกซิเจนให้อยู่ในบริเวณเดียวกับผู้ป่วย เพื่อควบคุมอุณหภูมิระหว่างการใช้งานให้อยู่ในอุณหภูมิเดียวกัน
  2. ลดระดับน้ำในกระปุกให้ความชื้น โดยเติมน้ำให้อยู่ในระดับอย่าเกินเครื่องหมาย Maximum เพราะอาจทำให้เกิดน้ำขังในสายออกซิเจน
  3. เปลี่ยนสายออกซิเจนเมื่อมีน้ำขังในสาย และเปลี่ยนน้ำในกระปุกให้ความชื้นให้อุณหภูมิของน้ำใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้องมากที่สุด
  4. ถ้าอัตราการไหลของออกซิเจนอยู่ระหว่าง 1 – 4 ลิตร/นาที หรืออยู่ในภาวะความชื้นสูงอยู่แล้ว อาจจะไม่ต้องใช้กระปุกให้ความชื้นก็ได้ ถ้าไม่มีอาการเจ็บคอหรือมีอาการระคายเคืองอันเนื่องมาจากความชื้นไม่เพียงพอ
  5. ใช้อุปกรณ์ชุดดักความชื้นส่วนเกิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำขังในสายออกซิเจนและไอน้ำเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

 

              การใช้งานสายออกซิเจนควรศึกษาวิธีการใช้งานและข้อควรระวังอย่างเข้าใจ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วย และลดความเสี่ยงอาการไม่พึงประสงค์หากใช้งานโดยไม่ระมัดระวัง

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที