โซลาร์เซลล์คืออะไร มีกี่ประเภท ควรติดตั้งอุปกรณ์อย่างไรให้เหมาะสม คุ้มค่า และครอบคลุมความต้องการในด้านการใช้งาน มาทำความรู้จัก แผง Solar cell กัน
เมื่อการอุปโภคพลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวันมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามไปด้วย ใครหลายคนจึงมองหาทางเลือกใหม่อย่างพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ความนิยมในการติดตั้งแผ่นพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ตามที่พักอาศัยหรือในภาคธุรกิจประเภทโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเรียกกันว่าแผงโซลาร์เซลล์นั้นเพิ่มมากขึ้น รวมถึงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โดยตัวโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแผงโซล่าเซลล์มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้เท่าไหร่ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงไหม ติดโซลาร์เซลล์ที่บ้านราคาเท่าไหร่และควรติดตั้งแบบใดให้เหมาะกับการใช้งาน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับแผงโซลาเซลล์ให้มากขึ้นก่อนตัดสินใจทำการติดตั้งกัน
โซลาร์เซลล์ (Solar cell) หรือที่เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้านพลังงานทางเลือกแบบหนึ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นขึ้นในปี ค.ศ. 1954 โดยใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์นำมาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งใครหลายคนอาจรู้จักเจ้าแผงโซลาร์เซลล์นี้ในชื่อ เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell)
แผงโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ประดิษฐ์ที่ผลิตไฟฟ้าแทนการผลิตเชื้อเพลิงแบบอื่น อย่างเช่น พลังงานฟอสซิลแบบกระแสไฟฟ้าตรง เป็นพลังงานสะอาดที่ใช้ได้อย่างไม่มีจำกัด ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมเหมาะกับเทรนด์รักษ์โลก แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะภายในครัวเรือนหรือสำหรับภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี
แผงโซลาร์เซลล์ หรือ โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ที่ผู้ใช้งานนิยมติดตั้งบริเวณส่วนหลังคามีอุปกรณ์สำคัญสำหรับกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อยู่ 5 อย่างด้วยกัน คือ แผงโซลาร์เซลล์, เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า(Inverter), ตู้กระแสสลับ, มิเตอร์วัดกระแสสลับ และหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งตัวแปรหลักที่จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าคือ แสงอาทิตย์ นั่นเอง
เริ่มโดยการที่ตัวแผงรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ดูดซึมแสงเพื่อส่งกระไฟไปยังตัวเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าตรงให้เป็นกระแสสลับผ่านตัวมิเตอร์รวมถึงหม้อแปลงแล้วส่งจ่ายไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในตัวอาคาร ดังนั้นหากช่วงไหนมีฟ้าปิด มีเมฆเยอะ หรือฝนตกยาวนานก็จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาทำให้ตัวแผงรับแสงได้ไม่เพียงพอ ซึ่งในกรณีนี้ทางระบบจะสลับไปใช้กระแสไฟฟ้าแบบเดิมตามปกติ
มาว่ากันต่อที่ระบบโซลาร์เซลล์ซึ่งจะมีอยู่ 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่ Off-Grid, On Grid และ Hybrid โดยระบบโซลาร์เซลล์ออฟกริดจะเหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลอย่างตามเกาะหรือบนดอยสูง เพราะสามารถผลิตพลังงานจากแผงแล้วใช้ได้เลยทั้งยังสามารถเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ได้ ระบบโซลาร์เซลล์ongrid ซึ่งเป็นระบบที่นิยมมากสุดเพราะเหมาะกับบ้านพักอาศัย สามารถใช้ทั้งพลังงานจากไฟฟ้าและที่ผลิตได้จากตัวแผง ส่วนระบบ Hybrid จะเป็นการต่อแผงโซล่าเซลล์แบบผสม
แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) เป็นแผงที่ผลิตขึ้นจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยวเกรดดีที่สุดซึ่งมีความบริสุทธิ์สูง มีสีเข้ม ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่ด้าน แผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 25 ปีขึ้นไป ใช้พื้นที่สำหรับการติดตั้งน้อยแต่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าตัวแผงแบบอื่นถึง 4 เท่าด้วยกันแต่ก็มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย
แผงโซลาร์เซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) ผลิตขึ้นจากผลึกซิลิคอนทั่วไปตามชื่อแผงหรืออาจเรียกว่ามัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline) ตัวแผงจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมแบบโมโนคริสตัลไลน์แต่ไม่มีการตัดมุม และเป็นสีออกฟ้าน้ำเงินแต่ไม่เข้มเท่า โดยตัวแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์มีราคาที่ถูกกว่าทั้งยังใช้งานกับสภาวะอุณหภูมิสูงไดีดีกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่ก็มีประสิทธิภาพน้อยลงหากโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านพื้นที่ที่มีแสงน้อย
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) เป็นแผงที่เกิดขึ้นจากกระบวนผลิตโดยการนำเอาพลังงานไฟฟ้ามาซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น มีกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่าแผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์หรือโพลีคริสตัลไลน์ สามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมากและมีราคาถูกที่สุด ตัวแผงทนต่อสภาวะอุณหภูมิสูงได้ดีแต่ค่อนข้างใช้พื้นที่เยอะสำหรับการติดตั้งทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่จำกัดอย่างหลังคาบ้าน
ถึงแม้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์จะช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง แต่สำหรับการติดตั้งตัวแผงที่เป็นระบบแบบโซลาร์เซลล์ออนกริดหรือเชื่อมต่อไฟของทางภาครัฐจำเป็นต้องขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์กฟภ หน่วยงานราชการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยจะมีระยะเวลาดำเนินการอยู่ที่ประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งหากเป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าก็จะมีการตรวจสอบรวมถึงค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่มากขึ้น
การทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากจะช่วยกำจัดคราบฝุ่นละอองหรือมูลสัตว์ต่าง ๆ แล้วยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้โซล่าเซลล์ให้ยาวนานขึ้น ซึ่งขั้นตอนในการล้างทำความสะอาดแผงสามารถทำได้โดยการใช้วัสดุอ่อนนุ่มขัดล้างบริเวณหน้าแผงบวกกับน้ำยาเช็ดกระจกในบริเวณที่สกปรกเป็นพิเศษ ไม่แนะนำให้ใช้แปรงแข็งหรือผงซักฟอกเพราะอาจทำให้แผงเป็นรอยจนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานได้
ในยุคที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยหันมาทำงานอยู่บ้านและเทรนด์ประหยัดพลังงานรวมไปถึงเทรนด์รักษ์โลกจากปัญหาก๊าซเรือนกระจกกำลังได้รับความนิยม การติดตั้งพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์อย่างแผงโซลาร์เซลล์จึงเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์อย่างมากสำหรับใครหลายคนไม่ว่าโซลาร์เซลล์มือสองหรือผลิตใหม่ เพราะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าได้เยอะทีเดียว
แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยหากคุณต้องการติดตั้งคือวิธีดูแผงโซล่าเซลล์ อย่าลืมคำนึงถึงมาตรฐานของอุปกรณ์ ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำงานรวมถึงความคุ้มค่าที่เหมาะสมกับราคาแผงโซล่าเซลล์ ควรเลือกติดโซลาร์เซลล์ที่บ้านให้เหมาะสมกับที่พักอาศัยหรือตัวอาคารเพื่อให้ตัวแผงสามารถแปลงกระแสไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและเพียงพอสำหรับการใช้งานนั่นเอง
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที