วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 พ.ค. 2024 12.42 น. บทความนี้มีผู้ชม: 9397 ครั้ง

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ภัยธรรมชาติ การเงิน การตลาด การออม
ธุรกิจ บัตรเครดิต ฯลฯ


เด็กหลอดแก้ว IVF แก้ปัญหาคู่สมรสที่ประสบกับภาวะการมีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดเเก้ว IVF (In-vitro Fertilization) คืออะไร เทคโนโลยีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย แก้ปัญหาสำหรับผู้มีบุตรยากได้จริงไหม สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้

 
เด็กหลอดแก้ว IVF


ในปัจจุบันปัญหาภาวะการมีบุตรยากถือเป็นปัญหาที่อาจเกิดได้ในคู่สมรสหลาย ๆ คู่ เป็นปัญหาที่อาจเกิดได้จากทั้งความไม่สมบูรณ์ของอสุจิของเพศชาย และความผิดปกติของรังไข่ของเพศหญิง ซึ่งในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ โดยจะเรียกว่า เด็กหลอดแก้ว IVF (In-Vitro Fertilization) หรือก็คือการปฏิสนธิภายนอกร่างกายที่จะช่วยให้การมีบุตรให้เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ซึ่งในวันนี้ในบทความนี้จะมาแนะนำความรู้เกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร การทำเด็กหลอดแก้วเหมาะกับใคร เด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนการทำอย่างไร ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดทั้งหมดได้ในบทความนี้


การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) คืออะไร

เด็กหลอดแก้วคือ ?


เด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (In-Vitro Fertilization) คือการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ถูกเลือกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเด็กหลอดแก้วจะเป็นการนำสเปิร์มมาทำการปฏิสนธิในหลอดแก้วกับไข่สุกที่มีความพร้อม เพื่อทำให้เกิดเป็นตัวอ่อนที่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ แล้วจึงนำตัวอ่อนเข้ากลับไปยังโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป


ใครที่เหมาะสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว

เด็กหลอดแก้วจะเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะกับคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก โดยจะเหมาะสมทั้งในฝั่งของผู้ชาย และในฝั่งของผู้หญิงที่ประสบปัญหากับภาวะต่าง ๆ ที่มีความผิดปกติที่ส่งผลต่อการปฏิสนธิภายในไม่สำเร็จ ซึ่งในหัวข้อนี้จะมาบอกถึงใครบ้างที่มีภาวะใดที่มีความเหมาะสมกับการทำเด็กหลอดแก้ว
 


ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว

สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเข้ารับการทำเด็กหลอดแก้วในอันดับแรกนั้น ผู้ที่มีความสนใจจะต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเด็กหลอดแก้วก่อน และทำการตรวจสุขภาพต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ประเมินสุขภาพร่างกาย ประเมินภาวะมีบุตรยากว่าอยู่ในระดับไหน ควรที่จะเลือกวิธีการทำเด็กหลอดแก้วเป็นวิธีการแก้ปัญหาหรือไม่ โดยสิ่งที่แพทย์จะต้องการใช้ประเมินผู้ที่สนใจจะต้องมีการตรวจร่างกายตามรายการดังต่อไปนี้
 

  1. เพศชายเข้ารับการตรวจวิเคราะห์สุขภาพของน้ำอสุจิ ว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ที่จะทำเด็กหลอดแก้วในครั้งนั้น
  2. เพศหญิงเข้ารับการตรวจ Pap Smear และสำหรับเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ต้องเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมก่อนทำเด็กหลอดแก้ว
  3. เพศหญิงเข้ารับการส่งกล้องตรวจโพรงมดลูก ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์
  4. ทั้งชาย และหญิงตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมการตรวจคัดกรองโรคพาหะทางพันธุกรรม เพื่อป้องกันโรคที่จะติดต่อกับเด็กในภายหลังจากทำเด็กหลอดแก้ว

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วทั้งหมด 5 ขั้นตอน

เด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนการทำอย่างไร ?


เมื่อได้ทราบแล้วว่าการเตรียมตัวก่อนทำเด็กหลอดแก้วมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไรบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อมาผู้ที่สนใจที่จะเข้าทำเด็กหลอดแก้วจะต้องทราบนั้นก็คือ ขั้นตอนของวิธีการทำเด็กหลอดแก้วว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ในหัวข้อนี้จึงจะมาแนะนำขั้นตอนของวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว โดยจะมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ซึ่งจะมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ดังนี้
 

  1. ขั้นตอนการกระตุ้นรังไข่ การตรวจสอบรังไข่ แพทย์จะทำการฉีดยากระตุ้นฮอร์โมน เพื่อกระตุ้นให้ไข่สุกเพื่อสำหรับการเก็บไข่ หลังจากนั้นจะทำการตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดทุก ๆ 2-3 วัน ในช่วง 2 สัปดาห์แรกที่เริ่มทำการฉีดกระตุ้น โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบมดลูก และรังไข่ พร้อมกับวัดขนาดของถุงรังไข่ถ้าหากมีขนาดที่มากกว่า 14 มิลลิเมตร แพทย์จะเริ่มทำการฉีดยากระตุ้นเพื่อให้ไข่มีการเจริญเติบโตจนสมบูรณ์ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 36 ชั่วโมงก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการเก็บไข่
     
  2. ขั้นตอนการเก็บไข่ แพทย์จะทำให้ยาระงับความรู้สึกแบบอ่อน แล้วจึงเริ่มทำการสอดเข็มผ่านภายในช่องคลอดเพื่อเข้าไปเก็บไข่ที่สุกที่พร้อมสำหรับการปฏิสนธิออกมาจากถุงรังไข่ แล้วนำไปเตรียมความพร้อมในที่เก็บที่มีความเหมาะสม
     
  3. ขั้นตอนการปฏิสนธิ จะดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์ในห้องแลป โดยจะทำการฉีดสเปิร์มเข้าไปในพลาสซึมของเซลล์ไข่ โดยจะมีโอกาส 70 % ที่ไข่สุกจะมีการปฏิสนธิ แต่หากไข่สุกเหล่านี้ไม่มีการปฏิสนธิไข่เหล่านี้ก็จะยังคงถูกเก็บรักษาไว้เพื่อใช้ทำเด็กหลอดแก้วอีกต่อไปได้
     
  4. ขั้นตอนการเพราะเลี้ยงตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์จะทำการติดตามพัฒนาการของตัวอ่อนของเด็กหลอดแก้ว โดยตัวอ่อนที่มีการปฏิสนธิแล้ว 50 % ของตัวอ่อนจะมีการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ที่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งถ้าหากมีปริมาณที่มาก ตัวอ่อนก็จะสามารถถูกเก็บรักษาโดยการแช่แข็งเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ได้
     
  5. ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีทำเด็กหลอดแก้ว โดยก่อนการย้ายตัวอ่อนผู้ที่เข้ารับการทำเด็กหลอดแก้วจะต้องทานยาฮอร์โมนมาแล้วเป็นเวลา 14-21 วัน เพื่อให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น มีความพร้อมสำหรับการฝังตัวอื่น และการตั้งครรภ์ โดยจะใช้เวลาในการย้าย 30 นาที ซึ่งการย้ายตัวอ่อนจะมี 2 วิธี คือ 1.การย้ายตัวอ่อนรอบสด 2.การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง

การทำเด็กหลอดแก้วเสี่ยงหรือไม่ 

เด็กหลอดแก้วถือเป็นวิธีการทำที่มีความเสี่ยงที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับแก้ปัญหาผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก โดยการทำเด็กหลอดแก้วจะไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว รวมถึงผู้ที่มีอายุมาก ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้สูงกว่า โดยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการทำเด็กหลอดแก้วจะพบได้ เช่น
 


สรุปการทำเด็กหลอดแก้วมีความน่าสนใจไหม ?

การทำเด็กหลอดแก้วถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความน่าสนใจ สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาภาวะการมีบุตรยาก เป็นวิธีการใช้เวลาในการทำขั้นตอนต่าง ๆ ที่น้อย มีอัตราการทำสำเร็จที่จะตั้งครรภ์ที่สูง มีความเสี่ยงที่น้อยหากร่างกายของผู้เข้ารับการทำเด็กหลอดแก้วมีความพร้อม ซึ่งถ้าหากใครที่กำลังสนใจแต่ยังไม่มั่นใจว่าควรเลือกทำเด็กหลอดแก้วดีหรือไม่ ขอแนะนำให้ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการทำเด็กหลอดแก้วโดยตรง เพื่อรับคำแนะนำต่าง ๆ เพิ่มเติม


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที