ทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้ เพราะอะไร
วันนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ ฮีตเตอร์กัน ว่าทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ถึงทำวัตต์ได้แค่นี้ เพราะอะไร ไม่ดูกันเลย
ฮีตเตอร์คืออะไร ?
ฮีตเตอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเพื่อสร้างความร้อน โดยมีการแปลงพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นความร้อน ซึ่งมักใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การผลิตอาหาร การอบสี การฉีดพลาสติก การซีลซองห่อขนม การอบยา การอบเมล็ดพันธุ์พืช และงานเซรามิก ฮีตเตอร์มีหลายประเภท เช่น Hot Runner Spring, Hero Spiral, Immersion Heaters, Finned Heater, Tubular Heater, Band Heater, และ Nozzel ซึ่งใช้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ฮีตเตอร์มีบทบาทสำคัญในการผลิตเพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สำหรับข้อแนะนำที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ มีดังนี้
-
การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ต้องตรงตามค่าแรงดันที่มีการระบุไว้
-
เมื่อมีเส้นฮีตเตอร์มากกว่าหนึ่งเส้น ควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือสวิทซ์ว่าถูกต้องหรือไม่
-
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น การเปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์ไปเป็นการต่อแบบเดลต้าฮีตเตอร์ อาจทำให้การทำงานเกินขีดจำกัดของตัวเอง
-
ฮีตเตอร์ชนิดต่างๆ เหมาะสมกับการใช้งานในสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น ฮีตเตอร์บางชนิดเหมาะสำหรับใช้ในอากาศ ส่วนชนิดอื่นเหมาะกับการใช้งานในของเหลว ไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานเพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
-
เมื่อมีตัวควบคุมอุณหภูมิต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพการใช้งานปกติ เพราะหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสียอาจส่งผลให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัดได้
-
เมื่อฮีตเตอร์มีคราบสกปรกหรือตะกรันเกาะอาจทำให้การถ่ายเทความร้อนจากฮีตเตอร์ไม่เป็นไปตามปกติ ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่จุดนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายกับฮีตเตอร์ เช่น การเกิดรอยร้าวหรือแตกปริ
สาเหตุที่ฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ทำวัตต์ได้แค่นี้
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมฮีตเตอร์ชนิดนี้ ขนาดเท่านี้ ทำวัตต์ได้แค่นี้ หากมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ไม่ดี ต้องอธิบายว่า โดยปกติในกระบวนการผลิตนั้นจะต้องคำนึงถึงความหนาแน่นของวัตต์ (Watt Density) ซึ่งหมายถึงการถ่ายเทความร้อนหรือปริมาณความร้อนวัตต์ต่อตารางนิ้ว (W/in²) หรือจำนวนวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร (W/cm²) ของพื้นผิวที่ให้ความร้อน ความสัมพันธ์ระหว่าง
W = watt
π = pi (3.14)
D = diameter
HL = Heated Length
บริษัทที่ผลิตฮีตเตอร์ใช้หลักเกณฑ์นี้ในการผลิตเช่นเดียวกัน มีการคำนวณความหนาแน่นของวัตต์ รวมถึงยังมีการทดสอบความเหมาะสมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฮีตเตอร์แท่ง ฮีตเตอร์แผ่น ฯลฯ อย่างไรก็ตามเช่น Tubular Heater หรือ ฮีตเตอร์แบบท่อกลม จะมีความหนาแน่นของวัตต์ 8-10 W/cm² ดังนั้นไม่ว่าฮิตเตอร์ท่อกลมจะมีความยาวเท่าไหร่ก็ตาม ต้องผลิตให้มีความหนาแน่นไม่เกิน 10 W/cm² ในขณะเดียวกันต้องไม่น้อยกว่า 8 W/cm² ไม่อย่างนั้นจะส่งผลให้เวลาใช้งานฮีตเตอร์ได้รับความเสียหาย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที