ฮีตเตอร์ (Heater) คืออะไร ส่วนประกอบและประเภทของฮีตเตอร์ทำความร้อนมีอะไรบ้าง
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า ฮีตเตอร์ที่เขาใช้กันในอุตสาหกรรมนั้น คืออะไรบ้าง แล้ว ฮีตเตอร์มีกี่แบบ มีกี่ประเภทและใช้ทำอะไรบ้างเพื่อให้พี่น้องๆได้ศึกษาหาความเกี่ยวกับฮีตเตอร์กัน
ฮีตเตอร์คืออะไร
ฮีตเตอร์ คืออุปกรณ์ให้ความร้อนในสถานที่ต่างๆ หรือในกระบวนการผลิตต่างๆ โดยการใช้ไฟฟ้า แก๊ส หรือพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของสิ่งของหรือสภาพแวดล้อมให้ร้อนตามที่ต้องการ เรียกสั้นๆว่า อุปกรณ์ให้ความร้อน การทำงานของ ฮีตเตอร์ทำความร้อน จะเป็นการนำไฟฟ้าที่ได้รับ แปลงเป็นความร้อนและส่งความร้อนไปยังสิ่งของต่างๆ ซึ่งฮีตเตอร์นั้นมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบใช้งานต่างกัน มีอะไรบ้างไปดูกัน
ส่วนประกอบของฮีตเตอร์ มีอะไรบ้าง
-
ฉนวนแม็กนีเซียมออกไซค์ (MgO) หรือ แมกนี่เซียม เป็นแร่ที่เอาไว้กั้นระหว่างลวดฮีตเตอร์กับปลอกโลหะ เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟรั่วไหลออกจากฮีตเตอร์ไปยังโลหะได้
-
ลวดฮีตเตอร์ (Heater wire) เป็นวัสดุหลักในฮีตเตอร์ที่ทำให้เกิดความร้อน ซึ่งลวดฮีตเตอร์นั้นทนความร้อนได้ 1400 องศา C การทำงานของมันคือ เมื่อมีกระแสไฟเข้ามายังเส้นลวด จะทำให้เกิดความร้อน ดังนั้นตัวเส้นลวดที่ใช้ผลิตฮีตเตอร์จะเป็นเส้นลวดที่เหนียวและต้องทนทานต่อความร้อนที่สูง ซึ่งประโยชน์ของเส้นลวดฮีตเตอร์นั้น จะใช้กับฮีตเตอร์แบบต่างๆ และโรงงานอุตสาหกรรม
-
ปลอกฮีตเตอร์ ทำหน้าที่คอยป้องกันสิ่งต่างๆที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือป้องกันสารเคมีต่างที่อยู่ข้างในปลอก อีกทั้งช่วยป้องกัน ฉนวนแม็กนีเซียมออกไซค์ และ ลวดฮีตเตอร์ จากความชื้นได้อีกด้วย และยังเป็นตัวส่งผ่านความร้อนไปยังตัวกลางที่ใช้งานได้อีกด้วย เช่น น้ำ อากาศ หรือชิ้นงานโดยตรง
-
สายไฟทนความร้อน (Heat Resistant Wire) เป็นสายไฟที่ใช้ต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีความร้อนหรืออุณหภูมิสูง ซึ่งตัวสายไฟจะมีฉนวนยางซิลิโคน (Silicone Rubber) หุ้มตัวนำกระแสไฟซึ่งคือลวดทองแดงเคลือบดีบุกและมีใยแก้วถักเคลือบซิลิโคนเพื่อป้องกันไม่ไฟเกิดลามไปยังด้านในสายไฟได้ ในกรณีที่เกิดไฟไหม้สายไฟนั้นเอง
-
ขั้วฮีตเตอร์ (Heater terminals) ขั้วฮีตเตอร์คือส่วนที่อยู่ตรงปลายสุดของลวดฮีตเตอร์ ใช้เพื่อต่อเข้ากับแหล่งพลังงานไฟฟ้า
ประเภทของฮีตเตอร์มีอะไรบ้าง
-
ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์สปริง
ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์สปริง (Hot Runner Spring Heater) คือ ฮีตเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ความร้อนในกระบวนการฉีดพลาสติกหรือการหล่อโลหะผ่านท่อทำความร้อน (hot runner system) โดยมีโครงสร้างเป็นลักษณะสปริง (spring) ซึ่งช่วยให้สามารถติดตั้งและถอดเปลี่ยนได้ง่าย
ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์สปริงมักถูกนำมาใช้ในงานฉีดพลาสติกเพื่อผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กถึงกลาง โดยทำให้การทำความร้อนในระบบฮอตรันเนอร์เป็นไปได้ตามความต้องการและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ. การใช้ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์สปริงช่วยให้ลดการสูญเสียความร้อนและทำให้กระบวนการฉีดพลาสติกมีความน่าเชื่อถือและควบคุมที่ดี
-
ฮีตเตอร์ฮีโร่สปริง
ฮีตเตอร์ฮีโร่สปริง (Hero Spiral Heater) คือ ฮีตเตอร์ ที่มีหัวฉีดที่มีลักษณะคล้ายกับฮีตเตอร์คอยล์แต่มีส่วนต้ดขวางที่ใหญ่กว่าทำให้แนบพอดีกับหัวฉีด สามารถกระจายขดลวดเพื่อให้ความร้อนสม่ำเสมออย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้ในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูง สามารถทำอุณหภูมิได้มากกว่า 200 C และควบคุมอุณหภูมิแม่นยำ
ฮิตเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานทดแทนฮิตเตอร์รัดท่อรรรมดาวัสดุทำด้วยท่อสแตนเลสรุ่นพิเศษ ท่อสแตนเลส SUS 304 และ 316 สามารถสั่งผลิตฮีตเตอร์เส้นผ่านศูนย์กลางภายในขั้นต่ำ 25 มม. การใช้ไฟฟ้า 110 / 220 / 380V กำลังวัตต์ 300 – 1000 W สามารถเลือกขนาด โวลต์ / วัตต์ ได้ตามความต้องการของลูกค้า สามารถใส่หัววัดหรือเทอร์โมคัปเปิ้ลเพื่อวัดอุณหภูมิฮิตเตอร์ได้ ฮิตเตอร์ชนิดนี้มีหัววัดอุณหภูมิภายในเป็น Type K / Type J
-
ฮีตเตอร์ต้มน้ำ
ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heaters) เป็นอุปกรณ์ทำน้ำอุ่นที่ใช้ในการทำน้ำให้ร้อนโดยตรงโดยใช้ไฟฟ้า อิมเมอร์ชั่นฮีเตอร์มีโครงสร้างที่ปลอดภัยสำหรับใช้ในถังน้ำ อ่างน้ำ หรือถังสารของเหลวอื่น ๆ ภายในโลหะหรือวัสดุทนต่อความร้อน การทำงานของอิมเมอร์ชั่นฮีเตอร์คือการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน โดยตัวอิมเมอร์ชั่นฮีเตอร์จะถูกนำลงในน้ำหรือสารของเหลวที่ต้องการทำน้ำอุ่น ทำให้น้ำหรือสารนั้นร้อนขึ้นตามต้องการ
-
ฮีตเตอร์ครีบ
ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ทำจาก ฮีตเตอร์ท่อกลม หรือ Tubular Heate ที่ดัดแปลงโดยนำแผ่นทำความร้อนมาติดรอบๆท่อฮีตเตอร์อย่างต่อเนื่อง ครีบมีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ที่มาติดกับอากาศหรือสารความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโอนความร้อนไปยังสิ่งที่ต้องการ เช่น เพื่องานอบแห้ง ไล่ความชื้น อบสี อบขนม เป็นต้น
-
ฮีตเตอร์ท่อกลม
ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อติดตั้งในท่อลมหรือท่ออากาศ เป็นฮีตเตอร์ทีให้ความร้อนไม่ติดครีบเหมือนฮีตเตอร์ครีบ เป็นฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนกับชิ้นงานโดยหลักการนำพาความร้อน ใช้งานในตู้อบหรืองานที่ต้องการความร้อนกับอากาศภายในห้องเช่น งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์ อบพลาสติก อบไม้ ลดความชื้นในระบบทำความเย็นเป็นต้น
-
ฮีตเตอร์รัดท่อ
ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater, Nozzel Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อรัดท่อหรือถังรูปทรงกระบอก เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่ไม่สามารถให้ความร้อนกับวัตถุโดยตรงโดยใช้หลักการนำความร้อนให้ความร้อนที่สม่ำเสมอ เพื่อให้วัสดุหรือสารของเหลวคงทนหรือคงรูปร่างในอุณหภูมิที่เหมาะสม
-
ฮีตเตอร์แผ่น
ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เป็น ฮิตเตอร์ทําความร้อน ที่มีโครงสร้างเป็นแถบยาวแบน มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความร้อนทั่วไปเช่น เครื่องบรรจุหีบห่อ มีดตัดพลาสติก เตาอบแบบต่างๆ เป็นต้น
-
ฮีตเตอร์เซรามิค
ฮีตเตอร์เซรามิค (Ceramic Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนโดยการรัดท่อหรือวัตถุทรงกระบอก ซึ่งจะเหมือนกับ ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) นิยมใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น เครื่องฉีดพลาสติก ท่อลำเลียงต่าง ๆ Plastic-Extrusion เครื่องเป่าถุง หรือท่อส่งน้ำมัน เป็นต้น
-
ฮีตเตอร์อินฟราเรด
ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) คืออุปกรณ์ที่ทำความร้อนโดยการปล่อยคลื่นอินฟาเรด ไปยังวัตถุที่ต้องการให้โดนความร้อน ซึ่งการใช้ฮีตเตอร์แบบอินฟราเรดนั้น มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟได้ 30-50% สามารถให้ความร้อนวัตถุได้ถึงเนื้อใน จึงทำให้ประหยัดเวลาได้ 1-10 เท่า เหมาะกับการนำไปใช้ในงานอบไล่ความชื้น เช่น อบสิรถยนต์ ใช้อบในอุตสาหกรรมการทอผ้า อบชิ้นส่วนอะไหล่รถ อบเพื่อแปรรูปพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น
-
ฮีตเตอร์แท่งคาร์ทริดจ์
ฮีตเตอร์คาร์ทริดจ์ (Cartridge Heater) หรือฮีตเตอร์แท่ง มีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน โดยฮีตเตอร์แท่งจะให้ความโดยที่คงที่สม่ำเสมอ เหมาะกับงานที่ต้องการความร้อนแก่แม่พิมพ์โลหะเช่น ชิ้นงานเหล็ก เครื่องปั๊มทอง เครื่องรีดถุงพลาสติก งานขึ้นรูป งานต้มน้ำ และสารเคมี เป็นต้น
-
ฮีตเตอร์เมนิโฟล์ดฝังในแม่พิมพ์
ฮีตเตอร์เมนิโฟล์ด (Manifold Heater) คือ ฮีตเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบ Hot Runner ใช้เป็นเครื่องมือกระจายความร้อนในแม่พิมพ์ฉีดและเครื่องอัดขึ้นรูป สามารถเข้าถึงค่าอุณหภูมิที่สูงได้ เพิ่มความเสถียรของกระบวนการฉีดพลาสติก มีอายุการใช้งานยาวนานและประหยัดพลังงาน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที