ปิยเกียรติ

ผู้เขียน : ปิยเกียรติ

อัพเดท: 11 ธ.ค. 2023 11.21 น. บทความนี้มีผู้ชม: 194 ครั้ง

การให้น้ำเกลือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ ขาดน้ำ อาเจียน เสียเลือดมาก ท้องเสียอย่างรุนแรง เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป โดยให้สารละลายน้ำเกลือแก่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด


ข้อควรรู้เกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ

 การให้น้ำเกลือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ ขาดน้ำ อาเจียน เสียเลือดมาก ท้องเสียอย่างรุนแรง เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป โดยให้สารละลายน้ำเกลือแก่ร่างกายผ่านทางเส้นเลือดภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด 

 

แพทย์ให้น้ำเกลือเพื่ออะไร

              เนื่องจากน้ำเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์มีความเข้มข้นใกล้เคียงกับเลือด ดังนั้นแพทย์จึงให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียผ่านทางหลอดเลือดดำ จากภาวะร่างกายขาดน้ำ เกลือแร่ในร่างกายต่ำ อาเจียน ท้องเสีย หรือการเสียเลือดมากจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งใช้ในทางการแพทย์มาอย่างยาวนานกว่า 150 ปีเลยทีเดียว

 

น้ำเกลือที่ใช้ในทางการแพทย์

              เมื่อคนไข้จำเป็นต้องได้รับการให้น้ำเกลือ แพทย์จะพิจารณาเลือกน้ำเกลือที่เหมาะสมกับการรักษาและสุขภาพของคนไข้ โดยอาจจะใช้น้ำเกลืออย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับยารักษาชนิดอื่น ๆ ที่เข้ากันได้ แต่น้ำเกลือที่ใช้บ่อย ๆ มี 4 ชนิด ดังนี้

·       นอร์มอลซาไลน์ (Normal Saline Solution : NSS) คือ น้ำเกลือธรรมดาที่มีความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ 0.9% มีความเข้มข้นใกล้เคียงของเลือดและน้ำตา

·       เด็กซ์โทรสในนอร์มอลซาไลน์ 5% (5% Dextrose in NSS หรือ 5% D/NSS) คือน้ำเกลือธรรมดาที่ผสมกับน้ำตาลเด็กซ์โทรสเข้มข้น 5%

·       5% เด็กซ์โทรส (5% Dextrose in water หรือ 5% D/W) คือน้ำเกลือที่ไม่มีเกลือแร่ผสม แต่มีน้ำตาลเด็กซ์โทรสเข้มข้น 5% ใช้สำหรับผู้ป่วยภาวะขาดน้ำ ขาดน้ำตาล หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ

·       5% เด็กซ์โทรส ใน 1/3 นอร์มอลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) คือน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.3% ผสมกับน้ำตาลเด็กซ์โทรสเข้มข้น 5%

 

ข้อควรระวังในการให้น้ำเกลือ

              แม้ว่าการให้น้ำเกลือมักจะใช้ในการรักษาคนไข้เบื้องต้นได้หลายกรณี แต่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่มีอาการแพ้น้ำเกลือ เช่น หน้าบวม ปากบวม มีผื่นคัน หายใจลำบาก และยังมีข้อควรระวังอื่น ๆ เกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ

·       แพทย์จะทำการตรวจเลือดพร้อมกับสังเกตอาการผลข้างเคียงของคนไข้ที่ให้น้ำเกลืออย่างใกล้ชิด

·       ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต จะต้องเฝ้าระวังการให้น้ำเกลือเป็นพิเศษ เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่าย

·       คุณแม่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์และลูก

·       ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยาเป็นประจำในปัจจุบัน ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนทุกครั้ง

·       คนไข้ที่มีอาการหนาวสั่นขณะให้น้ำเกลือ ต้องรีบแจ้งแพทย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้รีบถอดเข็มออก เพื่อฉีดยาแก้แพ้ทันที

 

ความเชื่อเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือบ่อย ๆ แล้วจะตัวบวม

              “บวมน้ำเกลือ” หรืออาการตัวบวมที่มาจากการให้น้ำเกลือบ่อย ๆ เป็นความเชื่อที่ไม่จริง เนื่องจากอาการที่ว่านี้เป็นเพียงอาการระยะสั้น ๆ เพราะร่างกายจะกำจัดน้ำเกลือออกภายใน 24 ชั่วโมง แล้วร่างกายจึงเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ถ้ามีอาการตัวบวมหรือน้ำหนักขึ้นผิดปกติหลังจากให้น้ำเกลือ ควรแจ้งแพทย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทันทีเพื่อปรับระดับน้ำเกลือให้เหมาะสม

 

              คนไข้บางรายเข้าใจว่าการให้น้ำเกลือสามารถช่วยบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย และทำให้ร่างกายสดชื่น สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมเท่านั้น เนื่องจากบางโรคไม่เหมาะกับการให้น้ำเกลือ ซึ่งอาจทำให้อาการ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที