วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 14 เม.ย. 2024 14.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 353 ครั้ง

วันนี้เราไปทำความรู้จักกับประเภทของยาความลดดันพร้อมคำถามที่พบบ่อยว่าจะต้องทานนานแค่ไหนและผลข้างเคียงยาความดันว่าจะมีอะไรบ้างกันเลย


ยาลดความดันมีคุณสมบัติอย่างไร ต้องทานตลอดชีวิตไหม?

ยาลดความดันกินเวลาไหนบ้าง

ความดันโรคที่ผู้สูงอายุหลาย ๆ คนเริ่มมีปัญหามีสาเหตุเกิดโรคความดันสูงหลายปัจจัยทั้งพันธุกรรม อายุที่มากขึ้น โรคต่อมไร้ท่อ โรคหลอดเลือดบางชนิดและพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าเป็นโรคนี้แล้วต้องปรึกษาแพทย์และรับยาลดความดันเป็นประจำตามแพทย์สั่ง ซึ่งแพทย์จะเลือกกลุ่มยาให้ตามความเหมาะสมของคนไข้ในแต่ละรายโดยกลุ่มยาลดความดัน วันนี้เราไปทำความรู้จักกับยาลดความดัน ถึงคำถามที่พบบ่อยว่าจะต้องทานนานแค่ไหนแล้วผลข้างเคียงยาลดความดันจะมีอะไรบ้างกันเลย

ยาลดความดัน คือ

ยาลดความดัน คือ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงมีหลายประเภทซึ่งในแต่ละประเภทมีการออกฤทธิ์และมีวิธีใช้แตกต่างกันไป การรับประทานขึ้นอยู่กับที่แพทย์สั่งซึ่งผู้ป่วยบางหลายที่เป็นหนักมากอาจจะต้องใช้ยาความดัน 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น โดยยาความดันโลหิตสูงมีคุณสมบัติบรรเทาอาการความดันสูงต่าง ๆ เช่น ปวดมึน หน้าแดงร้อนวูบวาบ ตึงบริเวณต้นคอ วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลียบางรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

นอกจากการใช้ยาลดความดันแล้วผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตควบคู่ไปด้วย โดยปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารงดของทอด ของหวาน มัน เค็ม ควรออกกำลังกายเป็นประจำและไม่ควรสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพื่อให้ค่าความดันโลหิตสูงกลับมาเป็นปกติเป็นการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร

โรคความดันโลหิตสูง คือ ค่าความดันในหลอดเลือดแดง เกิดจากการบีบตัวของหัวใจส่งออกซิเจนผ่านหลอดเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย ถ้าค่าความดันสูงอาจจะมีอาการใจสั่นหัวใจเต้นเร็วเนื่องจากทำงานหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่าง ๆ ตามมาได้จึงต้องหมั่นตรวจค่าความดันเป็นประจำและพบแพทย์เพื่อปรึกษารับยาลดความดันมาทาน

ประเภทยาลดความดัน

ชนิดของยาลดความดันมีกี่แบบ

ประเภทขอยาลดความดันมีหลายประเภท ซึ่งออกฤทธิ์และให้ผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไปเช่น ยาขับปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาความดันประเภทนี้จะต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น อีกประเภทเป็นยาช่วยลดอัตตราการเต้นของหัวใจซึ่งจะส่งผลให้ง่วงซึม อ่อนเพลียกระทบต่อการทำงานได้ โดยการรับประทานยาลดความดันของผู้ป่วยจะแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ซึ่งแพทย์จะเลือกประเภทยาที่เหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละราย มีดังนี้

1. ยาลดความดันกลุ่มยาขับปัสสาวะ

ยาลดความดันประเภทขับปัสสาวะได้แก่ Hydrochlorothiazide (ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์), Furosemide (ฟูโรซีไมด์), Amiloride (อะมิโลไรด์) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกายทำให้ความดันโลหิตลดลงแต่จะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยขึ้น

2. ยาลดความดันกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์

ยาลดความดันประเภทเบต้าบล็อกเกอร์ได้แก่ Atenolol (อะทีโนลอล), Propranolol (โพรพราโนลอล), Metoprolol (เมโทโพรลอล) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทำให้ระบบประสาททำงานช้าลง ชีพจรและหัวใจจะค่อย ๆ ช้าลงทำให้ความค่าดันโลหิตลดลงด้วย

3. ยาลดความดันกลุ่มอัลฟ่าบล็อกเกอร์

ยาลดความดันกลุ่มอัลฟ่าบล็อกเกอร์ได้แก่ Prazosin (พราโซซิน), Doxasozin (ดอกซาโซซิน) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทำให้ระบบประสาทที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยาย หัวใจไม่ต้องทำงานหนักจากการบีบส่งออกซิเจนสู่เลือดทำให้ค่าความดันลดลง

4. ยาลดความดันกลุ่มยับยั้งการจับตัวแอนจิโทแทนซิน

ยาลดความดันกลุ่มยับยั้งการจับตัวแอนจิโทแทนซินได้แก่ Losartan (ลอซาร์แทน), Irbesartan (เออร์บีซาร์แทน), Valsartan (วัลซาร์แทน) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ขัดขวางการจับตัวแอนจิโทแทนซินทำให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง

5. ยาลดความดันกลุ่มยับยั้งการสร้างแอนจิโทแทนซิน

ยาลดความดันกลุ่มยับยั้งการสร้างแอนจิโทแทนซินได้แก่ Enalapril (เอนาลาพริล), Captopril (แคปโตพริล) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างแอนจิโทแทนซินทำให้การหดตัวของหลอดเลือดน้อยลง ค่าความดันโลหิตจึงลดลงได้

6. ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นแคลเซียมเข้าสู่เซลล์

ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ได้แก่ Nifedipine (นิฟิดิปีน), Amlodipine (แอมโลดิปีน) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ปิดกั้นแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ให้การทำงานของกล้ามเนื้อคลายตัว ส่งผลให้ความดันลดลง

7. ยาลดความดันกลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง

ยาลดความดันกลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดงได้แก่ Hydralazine (ไฮดราลาซีน), Minoxidil (ไมน็อกซิดิล) กลุ่มยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ขยายเส้นเลือดแดงทำให้ความดันโลหิตลดลงได้

วิธีการใช้ยาลดความดัน

ยาลดความดันโดยทั่วไปวิธีใช้จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งส่วนมากจะให้รับประทานยาให้ตรงเวลาอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละครั้งหลังอาหารเช้า หรือถ้าค่าความดันโลหิตสูงมากจะให้ทานวันละ 2 ครั้งหลังอาหารเช้า-เที่ยง โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ยาลดความดันควรรับประทานยาให้ตรงเวลาอย่างต่อเนื่องทุกวัน จะทำให้ควบคุมค่าความดันให้อยู่ในระดับปกติได้
  2. ไม่ควรหยุดยาเองหรือเพิ่ม-ลดการใช้ยาความดันด้วยตัวเองเพราะโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด ถ้าหยุดยาเองจะทำให้มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงกว่าปกติส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนและผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้
  3. ถ้าผู้ป่วยลืมรับประทานยาลดความดัน ให้รีบกินยาในทันทีก่อนจะถึงมื้ออาหารถัดไป แต่ถ้าลืมทานยาจนถึงเวลารับประทานอาหารมื้อถัดไปแล้วให้รับประทานยาหลังจากมื้อนั้นได้เลย
  4. ถ้าแพ้ยาหรือต้องรับประทานยาอื่น ๆ เป็นประจำให้แจ้งแพทย์เป็นอันดับแรก เพื่อแพทย์จะได้หาประเภทของยาที่ใช้ร่วมกันจะทำให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงเรื่องยาตีกันได้
  5. ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามผลการรักษาพร้อมเฝ้าระวังอาการโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเหตุผลที่ต้องไปตามนัดทุกครั้ง แพทย์อาจจะเพิ่ม-ลดขนาดของยา ถ้าหากอาการของผู้ป่วยเริ่มดีขึ้นแล้ว

ผลข้างเคียงยาลดความดัน

กินยาลดความดันแล้วง่วง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง เนื่องจากประเภทของยาความดันมีหลายประเภทผู้ป่วยจึงได้รับยาที่แตกต่างกันไป อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาจึงควรปรึกษาแพทย์ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งผลข้างเคียงขอยาลดความดันจะมีดังนี้

  1. ร่างกายขาดน้ำ, ปัสสาวะเล็ด, ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากยาลดความดันประเภทยาขับปัสสาวะ
  2. ท้องผูก, ข้อเท้าบวม, ปวดศีรษะ เนื่องจากยาลดความดันประเภทปิดกั้นแคลเซียมเข้าสู่เซลล์
  3. ภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง, ระคายเคืองที่คอส่งผลให้เกิดอาการไอแห้ง เนื่องจากยาลดความดันประเภทยับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซินและยาลดความดันประเภทขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน
  4. อ่อนเพลีย, ไม่มีแรง, สมรรถภาพทางเพศลดลง, เหนื่อยง่าย เนื่องจากยาลดความดันประเภทยาปิดกั้นเบต้า
  5. หน้ามืด, ความดันต่ำ, อ่อนแรง, ใจสั่น เนื่องจากยาลดความดันประเภทยาปิดกั้นแอลฟ่า
  6. เลือดสูบฉีดมากหัวใจเต้นเร็ว, ปวดศีรษะ, หน้าร้อนวูบวาบ เนื่องจากยาลดความดันประเภทยาขยายเส้นเลือดแดง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาลดความดัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาลดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยบางรายอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้และการทานยาเป็นประจำจนคิดเองว่าหายดีแล้วไม่ต้องทานยาแก้ความดันสูง ทำให้ไม่เข้าไปพบแพทย์ตามนัดหรือไม่ทราบว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังจึงต้องกินยาเป็นเวลานานขนาดไหน ซึ่งเราไปพบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้กันได้เลย

ทานยาลดความดันแล้วความดันไม่ลด ทำอย่างไร?

สาเหตุของการทานยาลดความดันแล้วความดันไม่ลดลงเกิดจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไปจึงทำให้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยไม่ใช่แค่การกินยาความดันเพื่อรักษาเพียงอย่างเดียว

ต้องทานยาลดความดันนานแค่ไหน?

ทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอและไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้งเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังจึงอาจจะต้องทานนยาตลอดจนกว่าค่าความดันจะดีขึ้นซึ่งแพทย์อาจจะปรับเปลี่ยนขนาดยา ไม่ควรขาดนัดแพทย์เป็นเด็ดขาด

สรุปเรื่องยาลดความดัน

การใช้ยาลดความดันเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ค่าความดันของผู้ป่วยลดลงได้ แต่ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนสิ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทานยาความดันเพียงอย่างเดียวก็อาจจะทำให้ได้รับแต่ผลข้างเคียงต่าง ๆ ของยาส่งผลให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพอาการไม่ดีหรือแย่ลงไปกว่าเดิม

โดยสิ่งที่สำคัญกว่าการรับประทานยานั้นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตควบคู่ไปด้วย ไม่เครียดมากเกินไป นอนหลับให้เพียงพอ ไม่รับประทานอาหารหวานจัด เค็มจัด ของทอด ของมัน งดการสูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ค่าความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นเอง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที