วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 พ.ค. 2024 12.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5364 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง ป้องกันอันตรายที่ไม่มีสัญญาณเตือน

เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง

โดยปกติแล้ว การตรวจสุขภาพทั่วไป อาจจะไม่สามารถวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นสังเกตสุขภาพของตนเอง ว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ และถ้าหากเราเป็นโรคเบาหวานขึ้นมาจริง ๆ ในกระบวนการรักษา เราก็จำเป็นที่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติให้ได้

ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องตรวจเบาหวาน หรือ เครื่องตรวจน้ำตาล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเช็คเบาหวานด้วยตัวเองได้เองที่บ้านง่าย ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทราบระดับน้ำตาลตลอดวัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลจะสูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งอาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ หากรักษาไม่ทันท่วงที


เบาหวาน คือ

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะสุขภาพที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือด จนอาจจะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตในที่สุด

ตามปกติแล้ว ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ดังนั้น เมื่อกระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดมีความผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก และหากเราปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะแบบนี้เป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นได้

นอกจากการเกิดความผิดปกติในร่างกายแล้ว โรคเบาหวานอาจจะมีสาเหตุจากพันธุกรรมภายในครอบครัวได้อีกด้วย โดยโรคเบาหวานแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อย มักจะเป็นในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งจะต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินตลอดชีวิต ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุเกิดจากร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยปัจจุยในการดำเนินชีวิต เช่น โรคอ้วน การไม่ออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่ไม่ดี รักษาด้วยการรับประทานยาและในบางกรณี ก็อาจใช้การรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย
  3. เป็นเบาหวานในขณะที่ตั้งครรภ์ ซึ่งจะสามารถหายได้เองหลังคลอด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในภายหลัง

ซึ่งประเทศไทยจะยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชม. หากพบว่า มีน้ำตาลอยู่ในกระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่า ค่าน้ำตาลปกติ และในปัจจุบัน เพื่อให้เราสามารถดูแลสุขภาพของเราได้ จึงมีการผลิตเครื่องมือที่เราสามารถเช็คเบาหวานด้วยตัวเองได้


อาการโรคเบาหวาน

เช็คน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง

ก่อนที่เราจะตัดสินใจเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง เราจะต้องหมั่นสังเกตอาการว่า เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือไม่ โดยโรคเบาหวานจะมีลักษณะอาการส่วนใหญ่ที่คล้ายคลึงกัน หากแต่อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการดังต่อไปนี้

หากเรามีอาการเหล่านี้ โดยเบื้องต้น ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อปรึกษาและประเมินความเสี่ยงว่า เรามีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เพื่อให้เราสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที หรืออาจจะใช้เครื่องตรวจเบาหวาน หรือ เครื่องตรวจน้ำตาล ที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มาประเมินว่า ระดับน้ําตาลในเลือดปกติหรือไม่ก่อน


จำเป็นต้องตรวจน้ำตาลในเลือดไหม

หากคุณมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานก็ถือว่ามีความจำเป็น และยิ่งหากได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน ก็ยิ่งมีความจำเป็นเป็นอย่างมากที่จะต้องตรวจ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติมากที่สุด โดยเราแยกประเภท ดังนี้

ดังนั้น เราจึงต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและแนะนำว่า เราควรจะเช็คเบาหวานด้วยตัวเองในระยะความถี่เท่าใด เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติมากที่สุด โดยประโยชน์ของการเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง มีดังนี้


วิธีเช็คเบาหวานด้วยตนเอง

วิธีเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เราสามารถเช็คเบาหวานด้วยตัวเองได้ โดยวิธีเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง (Self Monitoring of Blood Glucose: SMBG) คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองด้วยเครื่องตรวจเบาหวาน หรือ เครื่องตรวจน้ำตาล (Glucose Meter) เพื่ออ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่วัดได้มาอ้างอิงตามคำแนะนำของแพทย์ ช่วยป้องกันการเกิดภาวะที่มีระดับน้ําตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป โดยที่ไม่มีอาการเตือน

โดยอันดับแรก ผู้ป่วยต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อวางแผนการกำหนดเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาล รวมถึงทำความเข้าใจอุปกรณ์ วิธีการใช้งานอย่างละเอียด ก่อนจะเริ่มเช็คเบาหวานด้วยตัวเองที่บ้าน โดยเครื่องตรวจเบาหวานนี้ มีหลายประเภท ได้แก่ แบบตรวจเลือดจากปลายนิ้ว และแบบตรวจเลือดผ่านผิวหนังบริเวณอื่น ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องตรวจเบาหวานก่อนเริ่มใช้งาน รวมถึงวันหมดอายุของแผ่นทดสอบ
  2. ตรวจสอบแผ่นรหัสที่ใส่ในตัวเครื่องและรหัส (code) ของแผ่นตรวจให้มีเลขตรงกัน
  3. ใส่หัวเข็มเข้าไปในปากกาและปรับระดับความลึกของเข็มเจาะให้เหมาะสมกับความหนาบางของผิวหนัง
  4. ดึงแถบฟลอยด์ออกจากซอง และสอดแถบตรวจลงในช่อง “สีเหลือง”
  5. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์ รอจนผิวหนังบริเวณนั้นแห้งสนิท
  6. บีบนวดตั้งแต่บริเวณฝ่ามือลงมาจนถึงบริเวณปลายนิ้ว เพื่อให้ผิวหนังบริเวณปลายนิ้วตึง
  7. ทำการเจาะเลือดบริเวณด้านข้างของปลายนิ้ว
  8. หยดเลือดลงบนแผ่นตรวจ และรอผลการตรวจเลือด
  9. จดบันทึกผลของการเช็คเบาหวานด้วยตัวเองลงบนสมุดบันทึก

ค่าระดับน้ำตาลในเลือด

ค่าน้ําตาลในเลือดปกติ

จากการเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง มีอีกหนึ่งข้อมูลที่เราต้องทราบก่อน คือ ค่าน้ําตาลในเลือดปกติ หรือ ค่าเบาหวานปกติ ว่า โดยทั่วไปแล้ว น้ำตาลในเลือดปกติเท่าไหร่ ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือด หมายถึง ความเข้มข้นของกลูโคส (น้ำตาล) ที่มีอยู่ในกระแสเลือด อาจจะมีความแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา อาหารที่เพิ่งรับประทาน รวมถึงประเภทเบาหวานที่เป็น

ระดับน้ำตาลบุคคลทั่วไป

สำหรับระดับน้ำตาลในเลือดหรือ glucose ค่าปกติ ของบุคคลทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

ระดับน้ำตาลผู้เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

ส่วนในการตรวจเบาหวานคนท้อง ได้มีการกำหนดระดับน้ำตาลในเลือดไว้ เป็น 3 กรณี คือ

ระดับน้ำตาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

สำหรับการเช็คเบาหวานด้วยตัวเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ


สรุปเรื่องเช็คเบาหวานด้วยตัวเอง

การเช็คเบาหวานด้วยตัวเองเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อตรวจสอบ ติดตามระดับน้ำตาลในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจดบันทึกและนำผลที่ได้มาปรับแนวทางในการดำเนินชีวิต ทั้งการควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรับประทานยาควบคุม และที่สำคัญ ยังเป็นการป้องกันระดับน้ำตาลที่อาจจะสูงหรือต่ำเกินไป โดยที่ไม่อาการเตือนได้ด้วย แต่ทั้งนี้ เราจะต้องศึกษาวิธีการใช้งานของเครื่องตรวจเบาหวานให้เข้าใจเสียก่อน


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที