วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 พ.ค. 2024 12.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5377 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


มะเร็งปากมดลูก ตัดภัยร้ายใกล้ตัวคุณ ด้วยการตรวจมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่ผู้หญิงหลายๆคนให้ความสนใจและกลัวที่จะต้องเผชิญ โดยการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นทางเลือกในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้เป็นอย่างดี

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นโรคที่เกิดในกลุ่มผู้หญิงที่ปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกโรคหนึ่งในไม่กี่ชนิดของโรคมะเร็งที่รู้สาเหตุและอาการของมะเร็งปากมดลูกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัส HPV ที่ติดต่อได้โดยตรงจากการมีเพศสัมพันธ์ การมีคู่นอนหลายคน การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน หรือแม้กระทั่งการตั้งครรภ์หรือมีลูกหลายคน

มะเร็งปากมดลูกนับได้ว่าเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยในปัจจุบัน ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้หญิงในปัจจุบันนั้น อาจเป็นไปและแตกต่างจากเดิม ด้วยค่านิยมต่างๆที่เข้ามาอิทธิพล ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป ด้วยเหตุผลต่างๆดังกล่าวทำให้มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายกว่าเดิม โดยจากสถิติจะพบผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่อายุก่อน 30 ปี และส่วนใหญ่มักพบในช่วงอายุระหว่าง 35 – 50 ปี


อาการบ่งชี้โรคมะเร็งปากมดลูก

อาการมะเร็งปากมดลูกที่บ่งชี้ที่เห็นได้อย่างชัดเจนของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นคือจะมีอาการตกขาวและมีเลือดปนหรือมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีเลือดออกหลังหมดประจำเดือน มีอาการปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว ปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดบวม

กรณีที่มะเร็งปากมดลูกลุกลามรุนแรงจะมีอาการปวดหลัง ขาบวม ไตวาย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เมื่ออาการของมะเร็งปากมดลูกลุกลามไปยังตำแหน่งต่างๆของอวัยวะในร่างกายอาจก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาได้อีกด้วย เช่น ถ้ามะเร็งมีการกระจายไปที่ลำไส้ใหญ่ มีอาการถ่ายเป็นเลือดฉะนั้นควรพบแพทย์อย่างเร่งด่วน


สาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก

ประเทศไทยในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นประเทศที่ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 2 ที่มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นเรื่อย ๆ หากพิจารณาถึงการเกิดขึ้นของโรคนั้นนับเป็นปัญหาใหญ่ของการสาธารณสุขที่จะต้องช่วยในการป้องกันและให้ความรู้ รวมไปถึงให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก

โดยสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกนั้นจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า สาเหตุหลักของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเกิดจากหลายเหตุปัจจัยอาทิ เช่น ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากฝ่ายชายที่สามีเป็นมะเร็งองคชาต สามีมีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามีมีคู่นอนหลายคน รวมไปถึงสามีที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน

ในส่วนของปัจจัยเสี่ยงทางนรีเวชที่เป็นบ่อเกิดแห่งมะเร็งปากมดลูกคือมีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย มีเพศสัมพันธ์กับชายหลายคน เคยตั้งครรภ์หรือมีลูกหลายคน เคยรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน และผู้หญิงที่ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูก

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น เช่น ไม่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ทำให้ไม่สามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ การสูบบุหรี่ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และขาดสารอาหารบางชนิด และสาเหตุที่สำคัญที่สุดของผู้หญิงมากกว่า 90% คือการติดเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งเป็นชนิดที่ก่อมะเร็ง การติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อดังกล่าวจนกลายเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก


ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

ในทางการแพทย์ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น ระยะก่อนมะเร็ง และระยะลุกลามระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะลุกลาม ซึ่งระยะของโรงมะเร็งนั้นจะมีความสัมพันธ์กับการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วย ถ้าหากว่าผู้ป่วยทราบผลและทำการรักษาอย่างรวดเร็วอัตราการหายสูงและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่หากมีการแบ่งระยะของมะเร็งได้อย่างชัดเจนแล้วนั้น แพทย์ผู้ทำการรักษาจะวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำและเหมาะสมกับระยะของโรค ซึ่งการแบ่งระยะของมะเร็งปากมดลูกได้ดังนี้

ระยะก่อนพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก

ระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะลุกลาม เป็นระยะนี้เซลล์มะเร็งปากมดลูกยังอยู่ภายในชั้นเยื่อบุบริเวณของผิวปากมดลูก และยังไม่ลุกลามเข้าไปในเนื้อของปากมดลูก ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอาการปกติ แต่ตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยา 

มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1

ในระยะที่ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมีรอยโรคอยู่ที่ปากมดลูกเท่านั้น โดยในระยะแรกนี้จะแยกระยะจากความลึกของรอยโรค รอยโรคขึ้นไปที่มดลูก ความกว้างของรอยโรค และการกระจายของมะเร็งเข้าเส้นเลือดและ ต่อมน้ำเหลืองไม่เปลี่ยนการจัดระยะโรค 

มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2

มะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 2 รอยโรคกระจายไปด้านข้างในของปากมดลูก โดยที่หากมีการกระจายของรอยโรคไปยังรังไข่ หากมีการกระจายของรอยโรคลงไปถึงช่องคลอด ในระยะนี้ควรส่องกล้องเพื่อตัวหาเชื้อ 

มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3

ระยะที่ 3 มะเร็งปากมดลูกจะมีรอยโรคกระจายมากขึ้นทำให้ อาจกดทับทำให้การทำงานของไตทำงานผิดปกติ, การกระจายตัวของมะเร็งปากมดลูกกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานและ ด้านข้างเส้นเลือดแดงใหญ่ ในระยะนี้หากพบการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง 

มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4

ระยะที่ 4 มะเร็งปากมดลูกลุกลามไปยังที่กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง หรืออวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก และต่อมน้ำเหลืองนอกเชิงกราน เป็นต้น ในระยะนี้หากผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมีอาการบวมเฉพาะจุด ควรมีการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อทำการส่งตรวจทางพยาธิวิทยา


การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตรวจมะเร็งปากมดลูก

ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจปากมดลูกและถ้าหากแพทย์ตรวจพบรอยโรคที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อที่ตำแหน่งที่เกิดรอยโรคบริเวณปากมดลูก โดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ

การตรวจทางเซลล์วิทยาเป็นการตรวจร่วมกับการเก็บเซลล์อื่นๆในบริเวณปากมดลูก เพื่อเป็นการยืนยันผลของการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก หากตรวจไม่พบรอยโรค แต่ตรวจพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกผิดปกติจาก แพทย์จะทำการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยการส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป

นอกจากนี้แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเซลล์บริเวณปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติมในด้วยการ ขูดภายในคอมดลูก ผ่านการใช้เครื่องมือขนาดเล็ก ขูดเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเพื่อทำการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติม


การรักษามะเร็งปากมดลูก

ในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นปัจจุบันวิทยากรทางการแพทย์ได้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยมีการใช้วิธีการต่าง ๆ ทางการแพทย์ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกให้หายได้ เช่น การฉีดยามะเร็งปากมดลูก หรือการวัคซีน HPV เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคมะเร็งปากลูกก็มีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้รังสี เคมีบำบัด การผ่าตัด การรักษาร่วม

การใช้รังสี

การใช้รังสีในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะที่ 2-3 โดยการรักษาจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ประเภทแรกคือการฉายรังสีระยะไกล โดยแพทย์จะทำการฉายรังสีไปยังจุดที่ผิดปกติ และวิธีการรักษาอีกประเภทหนึ่งคือ การให้รังสีระยะใกล้แพทย์จะให้แร่ผ่านด้านในช่องคลอดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ

เคมีบำบัด

การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4  โดยแพทย์จะรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อยร่วมกับการใช้รังสีรักษา โดยการใช้ยาเคมีบำบัดจะทำให้ควบคุมการกระจายของตัวมะเร็งได้ แต่มักจะมีผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง

การผ่าตัด

การผ่าตัดมักใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่อายุน้อยและมีความเสี่ยงต่อการดมยาสลบและการผ่าตัดต่ำ รวมไปถึงยังใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ยังจำกัดบริเวณปากมดลูกได้เท่านั้น ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออกเพื่อเป็นการรักษา

การรักษาร่วม

การรักษาร่วมของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็นการรักษาที่ใช้หลายวิธีร่วมกัน โดยการให้เคมีบำบัดพร้อมกับรังสีรักษา เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามที่จะรักษาด้วยรังสี ซึ่งแนะนำให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษา การให้ยาเคมีบำบัดก่อนการรักษาก่อนผ่าตัด การให้รังสีรักษาเมื่อพบว่ามะเร็งแพร่กระจายออกไปนอกปากมดลูกหลังการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดก่อนหรือหลังรังสีรักษา เป็นต้น

รักษามะเร็งปากมดลูก

แนวทางป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก

ในการดำเนินชีวิตที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก นั้นไม่ว่าจะเป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การสูบบุหรี่ การมีคู่นอนหลายคน หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ทำให้เกิดเป็นมะเร็งปากมะลูก ฉะนั้นการป้องกันโดยการฉีดวัคซีน HPV หรือห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆจะทำให้ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกลดลง


สรุปมะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัว กันไว้ก่อนสาย

อย่างไรก็ตามการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด โดยการมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ หนีห่างจากปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกป้องกันโดยการฉีดวัคซีน HPV หากพบความผิดปกติ หรือมีอาการที่คาดว่าเข้าข่ายของมะเร็งปากมดลูก ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที