เชื่อว่า ทุกคนต้องเคยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพ หรือเข้ารับการรักษายามเจ็บไข้ และทันทีที่เราไปถึง ทุกคนจำเป็นที่จะต้องวัดค่าความดันโลหิตเสมอ แล้วทำไมเราจะต้องวัดค่าความดันด้วย ความดันโลหิตนี้ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร สามารถบ่งบอกสุขภาพของเราได้อย่างไร หากมีค่าความดัน Systolic สูงเกินไป หรือค่า Dia ต่ำเกินไป จะส่งผลอย่างไรกับร่างกาย บทความนี้ มีคำตอบ
ค่าความดัน หรือที่เรียกว่า ความดันโลหิต คือ แรงดันเลือดที่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดกับผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดง มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) และโดยทั่วไป จะแสดงค่าเป็นตัวเลขสองตัว เช่น 120/80 mmHg
โดยค่าความดันโลหิตนี้ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นค่าที่ช่วยสะท้อนถึงการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย การส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพราะถ้าหากค่าความดันโลหิตสูง ย่อมเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ
แต่ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตของแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกัน ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ พันธุกรรม พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต สุขภาพร่างกาย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ เป็นต้น
สำหรับการอ่านค่าความดันโลหิต โดยปกติแล้ว สำหรับผู้ใหญ่มักจะมีค่าความดันอยู่ในช่วง 90/60 mmHg ถึง 120/80 mmHg ซึ่งเราสามารถแบ่งเกณฑ์ได้หลายระดับ ดังนี้
ในการอ่านค่าความดันโลหิต จะมีตัวเลข 2 ตัว โดยความดันตัวบน คือ ค่าความดันซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) แสดงถึงความดันในหลอดเลือดแดง เมื่อหัวใจบีบตัวและสูบฉีดเลือด เป็นตัวเลขแรกที่กล่าวถึงเมื่อแสดงความดันโลหิต เช่น 120/80 mmHg ในตัวอย่างนี้ 120 คือความดันซิสโตลิก
ค่าความดัน Systolic มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงแรงดันที่ทำต่อผนังหลอดเลือด เมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดออกไปไหลเวียนผ่านหลอดเลือดแดง ส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย
ถ้าหากค่าความดัน Systolic สูง หรือที่เรียกว่า ความดันโลหิตสูง อาจทำให้หลอดเลือดแดงตึงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่น ๆ ดังนั้น เราต้องหมั่นติดตามค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนความดันตัวล่าง คือ ค่าความดันไดแอสโตลิก (Diastolic Blood Pressure) แสดงถึงความดันในหลอดเลือดแดง เมื่อหัวใจคลายตัว เป็นตัวเลขแรกที่สองที่กล่าวถึงเมื่อแสดงความดันโลหิต เช่น 120/80 mmHg ในตัวอย่างนี้ 80 คือความดันไดแอสโตลิก
ค่าความดัน Diastolic มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นค่าบ่งชี้ถึงความดันในหลอดเลือดแดงในช่วงคลายตัวของหัวใจ ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดแดงโคโรนารีสามารถส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เอง และแสดงถึงความดันปกติในหลอดเลือดแดง
ในการพิจารณาค่าความดันโลหิต เราจะต้องพิจารณาตัวเลขทั้ง 2 ส่วนร่วมกัน ถ้าหากตัวเลขทั้ง 2 มีค่าสูง แสดงว่า เรามีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางด้านหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นตรวจค่าความดันโลหิต เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าความดัน Systolic สูงเกินไป หรือค่า Dia ต่ำเกินไปเช่นกัน
ค่าความดันโลหิตของเพศชายและเพศหญิงนั้น อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง หากแต่ก็จะใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกันตามที่ American Heart Association (AHA) ได้กำหนดเกณฑ์ไว้ โดยที่ไม่แยกเพศ แต่ทั้งนี้ ค่าความดันโลหิตก็อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้สูงอายุมักจะมีค่าความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง ด้วยสาเหตุหลายประการ ซึ่งเราสามารถจำแนกสาเหตุเหล่านี้ได้ ดังต่อไปนี้
และสำหรับผู้สูงอายุที่มีค่าความดันโลหิตสูง แพทย์อาจจะใช้ยาในการควบคุมค่าความดันโลหิต
ตามเกณฑ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตที่ได้อธิบายไปเบื้องต้น เกณฑ์ที่ถือว่าเป็นอันตราย คือ ค่าความดันโลหิตที่อ่านได้สูงกว่า 180/120 mmHg จึงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือในอีกกรณีหนึ่ง คือ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว เจ็บหน้าอก หายใจถี่ และอาการทางระบบประสาท ดังนั้น ในกรณีต่าง ๆ เหล่านี้ เราต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
การวัดค่าความดันโลหิตสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของแต่ละคนได้ และอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ดังต่อไปนี้
ในการวัดค่าความดันโลหิตด้วยตัวเองที่บ้าน เราจะต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้มาตรฐาน ซึ่งในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ แบบแมนนวล (แอนะล็อก) และแบบอัตโนมัติ (ดิจิตอล) โดยมีขั้นตอนในการวัด ดังนี้
โดยทั่วไป เราสามารถวัดค่าความดันซ้ำได้ 2 หรือ 3 ครั้ง ด้วยการเว้นระยะเวลาสักครู่ ควรวัดเป็นประจำอย่างต่อเนื่องควร ใช้แขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า และอาจจะวัด 2 เวลา คือ ช่วงเช้าภายใน 1 ชั่วโมงหลังตื่นนอน และช่วงเวลาก่อนเข้านอน ประมาณ 2 ครั้ง เว้นระยะเวลาห่างกัน 1 นาที
จากการที่เราหมั่นตรวจค่าความดันโลหิตอยู่เป็นประจำ หากเราตรวจพบความดันโลหิตที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่
ค่าความดันโลหิตถือว่าเป็นข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความสำคัญมาก เพราะสามารถระบุสภาพร่างกายภายในของเราได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญที่สุดอย่างหัวใจ สะท้อนปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ที่เราไม่สามารถสังเกตได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่คอยสัญญาณให้เรากลับมาดูแลตัวเอง ก่อนที่จะสายเกินไป ถ้าหากวัดค่าความดันโลหิตได้ค่าที่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นวัดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที