วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 18 พ.ค. 2024 12.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5385 ครั้ง

เรื่องเกี่ยวสุขภาพ โรคต่างๆ และการรักษา


ซิฟิลิส ภัยอันตรายที่แฝงในร่างกาย จำเป็นต้องรู้สาเหตุ และรักษาให้ถูกต้อง

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส (Syphilis) มีสาเหตุหลักจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการโดยทั่วไปจนปรากฏเป็นตุ่ม ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วภายในร่างกาย หากไม่ได้รับวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่หลายคนคงเคยได้ยิน ด้วยปรากฏในเรื่องเล่าหรือตำนานต่าง ๆ แต่ในความจริงแล้ว ซิฟิลิสแฝงอันตรายร้ายแรงที่สามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ทุกคนจึงควรรู้จักกับโรคนี้ว่า คืออะไร โรคซิฟิลิสอาการมีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุอะไร จะส่งผลกระทบอย่างไร หากไม่ได้รับการรักษา และสุดท้าย คือ โรคซิฟิลิสวิธีรักษาต้องทำอย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ


อาการของโรคซิฟิลิส แบ่งออกเป็นกี่ระยะ มีอาการอย่างไรบ้าง

โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) จากการสัมผัสสารคัดหลั่งทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema pallidum โดยอาการซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะและความรุนแรงของอาการที่ปรากฏ ได้แก่

  1. ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะปฐมภูมิ หรือระยะเป็นแผล (Primary syphilis) จะปรากฏเป็นตุ่มแผลเล็ก ๆ เรียกว่า แผลริมแข็ง (Chancre) แผลมีลักษณะเรียบ กดไม่เจ็บ ขอบแข็ง มักมีขนาด 1 - 2 ซม. มักพบที่อวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก จะพบในระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ - 6 เดือน หลังสัมผัสเชื้อ ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 3 - 8 สัปดาห์ แม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษา แต่เชื้อซิฟิลิสจะยังคงอยู่ในร่างกาย โดยสามารถพัฒนาเข้าสู่ซิฟิลิสระยะที่ 2 ได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
  2. ซิฟิลิสระยะที่ 2 หรือระยะทุติยภูมิ หรือระยะออกดอก (Secondary syphilis) โดยอาการโรคซิฟิลิสจะเกิดในช่วง 6 สัปดาห์ - 6 เดือน หลังแผลริมแข็งหาย เป็นช่วงที่เชื้อซิฟิลิสแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดตามอวัยวะต่าง ๆ อาการทั่วไป ได้แก่ เป็นผื่นมักขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า กระจายทั่วร่างกาย มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ เสียงแหบ เป็นต้น ในระยะนี้ อาการเหล่านี้อาจหายไปเอง แต่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกาย จึงทำให้อาการกำเริบอีกหลายครั้ง ก่อนจะพัฒนาเข้าสู่ระยะถัดไป
  3. ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะแฝง (Latent syphilis) จะเกิดขึ้นหลังแผลกำเริบ โดยไม่แสดงอาการซิฟิลิสใด ๆ เลย หรืออาจจะกำเริบเป็นระยะ โดยเชื้อซิฟิลิสอาจจะแฝงอยู่ในร่างกายได้นานหลายปี ก่อนจะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 4 ซึ่งสิ่งสำคัญในระยะนี้ คือ สามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หรือการรสัมผัสกับสารคัดหลั่ง
  4. ซิฟิลิสระยะที่ 4 หรือระยะสุดท้าย (Tertiary syphilis) ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยโรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยใช้เวลาหลายปีหลังติดเชื้อ โดยเชื้อซิฟิลิสจะเข้าทำลายอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง ตา หู ส่งผลให้ตาบอด หูหนวก ใบหน้าผิดรูป และเสียชีวิตได้ นับว่าเป็นระยะที่รุนแรงที่สุด และยากต่อการรักษา

สาเหตุของโรคซิฟิลิสมาจากอะไรบ้าง?

โรคซิฟิลิสสาเหตุ

โรคซิฟิลิสสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยซิฟิลิสเกิดจากสาเหตุหลัก ดังนี้

  1. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นับว่าเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อซิฟิลิส โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยขีดข่วนหรือแผลเล็ก ๆ บนผิวหนังหรือเยื่อบุต่าง ๆ หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย เช่น น้ำลาย น้ำหล่อลื่น หรือมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก 
  2. การสัมผัสโดยตรงกับแผลของผู้ป่วย เพราะเชื้อซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสแผลโดยตรง มักเกิดขึ้นในบุคคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้สวมถุงมือ
  3. การติดต่อจากแม่สู่ลูก โดยแม่ที่ติดเชื้อซิฟิลิสสามารถแพร่เชื้อไปยังลูกในครรภ์ผ่านรก ส่งผลให้ทารกที่ติดเชื้อจากแม่มีโอกาสเสียชีวิตสูง 

นอกจากสาเหตุหลัก ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น

แต่ทั้งนี้ โรคซิฟิลิสไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการกอด จูบ หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน โดยเชื้อซิฟิลิสจะตายหลังจากออกจากร่างกายผู้ป่วยแล้ว 


ผลกระทบของโรคซิฟิลิส หากไม่เข้ารับการรักษา

โรคซิฟิลิสส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนี้

  1. ผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
    • ระบบประสาทและสมอง อาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ตาบอด หูหนวก อัมพาต 
    • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอักเสบ โรคหัวใจวาย 
    • ระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้เกิดตับอักเสบ 
    • ระบบสืบพันธุ์ ผู้ชายอาจเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผู้หญิงอาจแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์
    • ระบบภูมิคุ้มกัน อ่อนแอต่อการติดเชื้ออื่น ๆ 
  2. ผลต่อสุขภาพจิต ทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า อับอาย 
  3. ผลต่อความสัมพันธ์ ส่งผลให้มีปัญหาในชีวิตคู่ ถูกกีดกันทางสังคม
  4. ผลต่อทารกในครรภ์
    • ทารกในครรภ์อาจติดเชื้อจากแม่ 
    • ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด 
    • ทารกเสียชีวิตในครรภ์ 
    • ทารกที่คลอดออกมาอาจมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ตาบอด หูหนวก 
  5. เสียชีวิต เนื่องจากโรคซิฟิลิสระยะสุดท้าย อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

แนวทางการรักษาโรคซิฟิลิส

การรักษาซิฟิลิสขึ้นอยู่กับระยะต่าง ๆ ของโรค ดังต่อไปนี้

  1. ซิฟิลิสระยะแรก แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน G ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม หรือด็อกซีไซคลีน 7 วัน ในระยะเวลา 10 - 14 วัน
  2. ซิฟิลิสระยะที่ 2 แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน G ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 7 - 10 วัน หรือด็อกซีไซคลีน 14 วัน ในระยะเวลา 10 - 14 วัน 
  3. ซิฟิลิสระยะที่ 3 แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน G ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 10 - 14 วัน หรือด็อกซีไซคลีน 14 วัน โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ติดเชื้อซิฟิลิส
  4. ซิฟิลิสระยะที่ 4 แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน G ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 10 - 14 วัน โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

แพทย์สามารถรักษาซิฟิลิสให้หายขาดได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรคในแต่ละคน โดยจะพิจารณาให้ยารักษาซิฟิลิสแบบกินตามความเหมาะสม และผู้ป่วยควรทานยารักษาซิฟิลิสตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายขาด และควรแจ้งให้คู่เพศทราบเพื่อรับการตรวจคัดกรองและรักษา

ในโรคซิฟิลิสการรักษาด้วยยา อาจจะมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผื่นแพ้ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ดื้อยา ภาวะสมองเสื่อม ตาบอด หูหนวก และอาจเสียชีวิตได้ แต่ทั้งนี้ ควรป้องกันตัวเองด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หมั่นตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยโรคซิฟิลิส


สรุปเกี่ยวกับโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) จากการสัมผัสสารคัดหลั่งทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยโรคซิฟิลิสอาการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ หากเข้ารับการรักษาเร็วก็เพิ่มโอกาสในการหายขาด แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ก็จะทำให้เชื้อซิฟิลิสแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย รวมถึงแพร่ไปยังผู้อื่น จนยากต่อการรักษา ทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ทุกคนที่มีภาวะเสี่ยงจึงควรหมั่นตรวจซิฟิลิสเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


References
 

WHO. (2023, May 31). Syphilis. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/syphilis

Jatin M. Vyas. (2020, October 9). Syphilis. https://www.pennmedicine.org/for-patients-and-visitors/patient-information/conditions-treated-a-to-z/syphilis

Zilpah Sheikh. (2024, February 18). Syphilis. https://www.webmd.com/sexual-conditions/syphilis

NHS. (2022, May 25). Syphilis. https://www.nhs.uk/conditions/syphilis/


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที