หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อเพิ่มสร้างกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย และออกกำลังเพื่อลดน้ำหนัก เมื่อเวลาออกกำลังกายหักโหมจนมากเกินไป หรือไม่ทำการยืดเส้นยืดสายก่อนออกกำลัง อาจจะส่งผลให้ส่วนใหญ่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับความเสียหาย จนเกิดอาการบาดเจ็บตรงบริเวณ เข่า เมื่อไหร่ที่เข่าได้รับความเสียหายจะทำให้เกิดอาการ เข่าบวม
หัวเข่าเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกายที่มีทั้งข้อต่อของกระดูก เอ็นข้อเข่า กล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก และหัวเข่ามีหน้าที่สำคัญช่วยรองรับน้ำหนักตัวของคุณ และค่อยบังคับควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย หากคุณไม่ระมัดระวังจนเกิดอาการเข่าบวม หรือเกิดข้อเข่าเสื่อม จำเป็นที่จะต้องดูแล รักษาร่างกายอย่างระมัดระวังอยู่เสมอ
ทำความรู้จักกับอาการเข่าบวม คืออะไร
เข่าบวมเกิดจาก เล่นกีฬาออกกำลังกายในทุกรูปแบบ ทุกประเภท และอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดเข่าบวม ส่วนมากคนที่เป็นเข่าบวมจากการเล่นกีฬา หรือเกิดอุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย เนื่องจากกีฬาแต่ละประเภทต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา กระโดด หรือมีกระแทกในบางครั้ง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเข่าบวม ลักษณะของเข่าบวมเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับอวัยวะโครงสร้างภายในของข้อเข่า ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณลูกสะบ้าจะไม่มีรอยบุ๋ม หรือตรงรอยลักยิ้มที่หัวเข่า จะมีของเหลวดันขึ้นออกมา จนมีรูปร่างลักษณะเข่าบวมมีขนาดใหญ่ผิดปกติ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เข่าบวมน้ํา
นอกเหนือจากนี้ เข่าบวมอาจเกิดขึ้นจากภาวะความเสื่อมสภาพของข้อเข่า หากคุณมีอายุที่มากขึ้น หรืออยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ควรรีบรักษาเพื่อป้องกันเกิดอาการเข่าบวมจากโรคต่าง ๆ และให้กลับมาเดินได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดเข่าบวม เพื่อป้องกัน
เข่าบวมเกิดขึ้นจากความผิดปกติที่เอ็นเข่าอักเสบและเข่าอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ หลายปัจจัย โดยสาเหตุ และปัจจัยหลักที่เกิดเข่าบวม มีดังนี้
-
อุบัติเหตุตรงข้อเข่า เมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุ เช่น เล่นกีฬา หกล้ม ตกบันได รถชน ที่ได้รับบาดเจ็บตรงข้อเข่าอักเสบบวมเหมือนมีน้ำขังอยู่ในข้อเข่า ส่งผลทำให้มีอาการเข่าบวม รู้สึกเจ็บเมื่อเดิน ตอนนั่ง และตอนง้อขา วิธีรักษาหัวเข่าบวมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ มีสังเกตเห็นความผิดปกติที่ตรงบริเวณข้อเข่า ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิฉัย และดูแลรักษาเข่าบวม
-
ภาวะอักเสบข้อเข่า ภาวะอักเสบเชื้อข้อเข่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเข่าบวม ที่เกิดขึ้นจากข้อเข่าได้รับความเสียหาย จนอักเสบเรื้อรัง ตรงบริเวณเข่าบวมจะมีภาวะกระดูกอ่อนสึก บางลง ทำให้มีในส่วนข้อเข่าสร้างน้ำของเหลวขึ้นมาเพิ่มมากกว่าปกติขึ้น จึงทำให้เข่าบวมผิดปกติ และมีอาการเจ็บข้อเข่า หากพยายามเดิน หรือยืนขึ้น เมื่อเข่าบวมจะงอเข่าไม่ได้
-
มีบาดแผลติดเชื้อที่ข้อเข่า เมื่อมีบาดแผลตรงข้อเข่าสามารถทำให้เกิดอาการเข่าบวม ถ้าหากไม่มีการรักษาที่บาดแผล ก่อให้บาดแผลติดเชื้อจนอาจจะเกิดเป็นหนองที่บาดแผล
-
ความเสื่อมสภาพของกระดูกข้อเข่า ถ้าหากคุณมีอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาตรงข้อเข่า เนื่องจากอายุที่มากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพตามอายุ เมื่อต้องทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายยิ่งทำเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาตรงบิเวณหัวเข่า ทำให้ปวดเข่า เข่าบวม หรือเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และโรคอื่น ๆ วิธีรักษาในเบื่องต้นรับประทานยาลดเข่าบวม แต่ถ้าไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ในทันที
-
โรคที่ทำให้เกิดเข่าบวม เช่น โรคเกาต์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด โรคเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการเข่าบวมแต่ไม่ปวดในบางครั้ง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดเรื้อรัง ควรที่จะรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้หายจากโรคเหล่านี้
อาการของเข่าบวม มีอะไรบ้าง
อาการเข่าบวมที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่อันตรายหากปล่อยไว้อาจจะทำให้เกิดเรื้อรัง และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ถึงอย่างนั้นอาการเข่าบวมแบบไหนที่ควรรีบรักษายังไงได้บ้าง
-
บริเวณเข่าบวมแดง เข่าจะมีลักษณะบวมผิดรูปไปจากเดิม เหมือนกระดูกดันออก หรือมีน้ำอุ่น ๆ อยู่ภายในเข่า
-
ตรงเข่าบวมหากปล่อยไว้จะบ่วมมากขึ้น
-
หัวเข่าบวม เมื่อประคบแบบเย็น หรือแบบร้อนแล้วแต่ไม่ช่วยลดอาการบวม
-
เมื่อเกิดเข่าบวมน้ํา กินยาอะไรที่ช่วยลดอาการอักเสบ แต่ไม่หายควรรีบพบแพทย์ในทันที
-
ไม่สามารถยืนขึ้น เคลื่อนไหวร่างกาย และนั่ง
-
ไม่สามารถ ง้อขา หรือเหยียดขาตรง เพราะจะทำให้รู้สึกเจ็บตรงเข่าบวม หรือฝืดตรงที่หัวเข่า
-
เมื่อเป็นเข่าบวมร่วมกับอาการไข้ขึ้นสูงภายในร่างกาย
-
หัวเข่ามีเสียงในขณะที่เคลื่อนไหว เดิน วิ่งหรือตอนนั่ง
เข่าบวมอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่น ?
เมื่อเป็นเข่าบวมอาจเป็นอาการของโรคต่าง ๆ ดังนี้
-
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนในข้อเข่าสึกหรอ ส่งผลให้ข้อเข่าเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวด เข่าบวม และฝืดของข้อเข่าได้
-
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อข้อ ส่งผลให้หัวเข่าบวมข้างเดียว อักเสบ และแดงได้
-
โรคเกาต์ เป็นภาวะที่ระดับกรดยูริกในเลือดสูง ส่งผลให้กรดยูริกตกตะกอนเป็นผลึกในข้อ ทำให้เกิดเข่าบวม
-
โรคหลอดเลือดดำอุดตัน เป็นภาวะที่ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำลดลง ส่งผลให้ของเหลวคั่งค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขา ทำให้เกิดหัวเข่าบวม หรือเข่าอักเสบได้
-
ติดเชื้อที่ข้อ เป็นภาวะที่เชื้อโรคแบคทีเรียเข้าสู่ข้อ ส่งผลให้เกิดเข่าบวม เหมือนมีน้ำขังอยู่ตรงที่เข่าบวม
วิธีดูแลตนเองหากเข่าบวม งอไม่ได้
เมื่อคุณเกิดเข่าบวมจากอุบัติเหตุ หรือสาเหตุใดก็ตาม วิธีที่จะดูแลรักษาเข่าบวมในเบื่องต้น มีดังนี้
-
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไป หรือให้น้ำหนักอยู่ในตามเกณฑ์ เพราะข้อเข่ามีหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว หากมีน้ำหนักตัวมากไปอาจทำให้หัวเข่าบวม
-
หลีกเลี่ยงทำกิจกรรม กีฬา และออกกำลังกายที่ต้องใช้งานหัวเข่า หากมีอาการเข่าบวมอยู่แล้วยังทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ จะส่งผลทำให้เข่าบวมมากกว่าเดิม และเข่าอักเสบมากยิ่งขึ้น
-
หลีกเลี่ยงยกของหนัก เมื่อคุณมีอาการเข่าบวม แล้วยังยกของหนักอยู่ จะทำให้ข้อเข่าโดนแรงกดทับ ส่งผลทำให้รู้สึกเจ็บ บวด และอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น
-
สำหรับคนที่เป็นเข่าบวม อาจจะทำให้เดินยากลำบาก ควรหาใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือเก้าอี้วีลแชร์ เพื่อช่วยพยุงตัวเอง หรือลดแรงกระแทก แรงกดทับ ตรงเข่าอักเสบได้
-
หลีกเลี่ยงงอขา งอเข่า เพราะถ้าหากคุณเป็นเข่าบวมอยู่ แต่พยายามที่จะงอเข่า จะทำให้ตรงบริเวณเข่าบวมอักเสบไปมากกว่าเดิม
-
เมื่อเกิดอาการเข่าบวมสามารถปฐมพยาบาลด้วยตัวเองในเบื่องต้นได้ ด้วยวิธีนวดเข่าบวม กินยาลดเข่าบวม หรือทำประคบร้อน และประคบเย็น
สรุปเกี่ยวกับเรื่องเข่าบวม
อาการเข่าบวมเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่หลายสาเหตุ หลายปัจจัย และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง เด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ อาจจะไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่เมื่อคุณเกิดบาดเจ็บ เข่าบวมอาการรุนแรงมากขึ้น รวมถึงอายุของคุณมากด้วยเช่นกัน จะส่งผลทางลบหลายอย่างให้กับคุณ เช่น โรคภัยต่าง ๆ และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ถึงอย่างนั้นเมื่อเกิดอาการเข่าบวมสามารถดูแลรักษาได้ด้วยตนเอง เช่นทานยาลดเข่าบวม หรือวิธีประคบร้อน ประคบเย็น แต่ถ้าอาการเข่าบวมไม่ดีขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยตรง ทำการวินิจฉัยรักษา และประเมินความรุนแรงของอาการเข่าบวม
หากท่านใด หรือมีคนในครอบครัวมีอาการเข่าบวมสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาเข่าบวม ได้ที่ Samitivej Chinatown โทร 02-118-7893
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที