วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 16 ก.ย. 2023 11.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 244 ครั้ง

โรคแพนิคคืออะไร อาการโรคแพนิคเป็นอย่างไร โรคแพนิคอันตรายไหม มียารักษาโรคแพนิคหรือไม่ รักษาแพนิคด้วยตัวเองได้ไหม แล้วโรคแพนิครักษาหายไหม มาหาคำตอบกัน


โรคแพนิคคืออะไร หาสาเหตุและอาการโรคแพนิค เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง

โรคแพนิค

ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรานั้น จะต้องพบเจอสิ่งต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นผู้คน สถานที่ สิ่งของ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จนทำให้เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวลขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากสะสมหรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันก็ได้ โดยหากเรายังสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้ เพื่อลดความเครียดและความกังวลลงก็ไม่ใช่ปัญหา

แต่ถ้าหากเราไม่สามารถที่จะควบคุมตัวเองได้แล้ว ซึ่งจะยิ่งเป็นอันตรายมากหากอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น เดินข้ามถนน ขับรถ หรือกำลังทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูง โดยอาจมีอาการใจสั่น แขนขาแกร่ง หน้ามืด เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนเกิดจากโรคที่เรียกกันว่า “โรคแพนิค

โรคแพนิค คืออะไร

โรคแพนิค หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Panic Disorder คือ โรคที่เกิดจากความเครียดและความวิตกกังวล หรืออาการตื่นตระหนก ทำให้มีความรู้สึกกลัวต่อผู้คน สถานที่ หรือสิ่งของนั้น ๆ จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วอย่างผิดปกติ แขนขาอ่อนแรง รวมถึงหน้ามืดวิงเวียนศีรษะได้ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติและเข้าสังคมไม่ได้

สาเหตุของโรคแพนิค

สาเหตุของการเกิดโรคแพนิคนั้น เกิดจากการหลั่งสารสื่อประสาทในสมองที่ผิดปกติ โดยเป็นการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ตื่นตระหนกและวิตกกังวลอย่างมาก ซึ่งมี 2 ปัจจัยหลัก ๆ อยู่สองด้าน ได้แก่

  1. เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนที่มากหรือน้อยเกินไป ทำให้สารสื่อประสาทในสมองเกิดการเสียสมดุล ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทเกิดความผิดปกติ จนกลายเป็นโรคแพนิค
  2. เกิดจากพันธุกรรม โดยหากมีญาติหรือคนในครอบครัวที่เป็นโรคแพนิค ก็มีโอกาสที่ทำให้เราเป็นโรคแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป
  3. เกิดจากการใช้สารเสพติดมากเกินไป เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  1. เกิดการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจที่รุนแรง เช่น การถูกขังอยู่ในห้องแคบ ๆ หรือที่ มืด ๆ การสูญเสียสิ่งที่เป็นที่รัก การรู้สึกผิดหวังที่รุนแรง เป็นต้น
  2. การใช้ชีวิตประจำวันบางทีก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแพนิคได้ เพราะมีความเครียดในการใช้ชีวิต การใช้สมองจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานาน การพักผ่อนน้อย ได้รับภาระความกดดันมากเกินไป เป็นต้น

โรคแพนิค อันตรายไหม

โดยปกติแล้วโรคแพนิค เป็นโรคที่ไม่มีความอันตรายจนถึงแก่ชีวิต แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคแพนิคจะไม่เข้าใจในจุดนี้ จะคิดกันว่าเมื่อเกิดอาการแพนิคขึ้นมาแล้ว จะมีความรู้สึกที่กลัวต่อความตายขึ้นมาซึ่งตรงจุดนี้แหละที่ค่อนข้างที่จะอันตราย เพราะอาจทำให้ผู้ที่เป็นโรคแพนิคตัดสินใจบางอย่างที่ผิดพลาดลงไปได้ รวมถึงการอาศัยรวมกับผู้อื่นก็จะลำบาก เพราะอาจทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจ เกรงว่าจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้นกับตัวเองหากผู้ที่เป็นโรคแพนิคเกิดอาการคลุ้มคลั่งขึ้นมา

อาการของโรคแพนิค

อาการหัวใจเต้นผิดปกติจากโรคแพนิค

อาการของโรคแพนิค สามารถเกิดได้หลายอย่าง เช่น

วิธีรักษาโรคแพนิค

การนั่งสมาธิช่วยให้จิตใจสงบรักษาโรคแพนิคได้

การรักษาโรคแพนิคนั้น สามารถรักษาได้สองทางและควรที่จะทำควบคู่กันไป คือ รักษาโดยการใช้ยา และรักษาโดยการฝึกจิตใจ ได้แก่

เป็นการรักษาโดยการกินยาเพื่อปรับการหลั่งสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแพนิค โดยตัวยาก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ อีกคือ ยาที่ออกฤทธิ์เร็วและยาที่ออกฤทธิ์ช้า ดังนี้

  1. ยาที่ออกฤทธิ์เร็วจะช่วยให้ควบคุมอาการของโรคแพนิคได้ในทันที แต่ถ้าหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไปอาจทำให้เกิดการดื้อยาได้ ทางแพทย์จึงใช้ยาที่ออกฤทธิ์เร็วในระยะแรกเป็นเวลาสั้น ๆ เท่านั้นเพื่อควบคุมอาการ เช่น การนอนหลับ หรือยาคลายเครียด เป็นต้น
  2. ยาที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นยาที่ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการออกฤทธิ์ เพื่อค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงระดับสารสื่อประสาทในสมอง โดยต้องรับประทานยาที่ออกฤทธิ์ช้าติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 อาทิตย์ จึงจะเริ่มเห็นผลของยา ที่สำคัญยาในกลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาเหมือนยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ยาที่ออกฤทธิ์ช้าที่ใช้รักษา เช่น ยากลุ่มต้านเศร้า (Anti-depressants)

ซึ่งในการรักษาจริงนั้น แพทย์จะทำการใช้ยาทั้งสองกลุ่มควบคู่กันไปในระยะแรก ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เมื่อยาที่ออกฤทธิ์ช้าเริ่มเห็นผลแล้ว จึงจะหยุดจ่ายยาที่ออกฤทธิ์เร็ว โดยการใช้ยารักษานั้น จะต้องกินต่อเนื่องประมาณ 8 เดือน จนถึง 1 ปี จึงจะทำการหยุดยา โดยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แต่การใช้ยาในการรักษาโรคแพนิคก็อาจมีผลข้างเคียงตามมา เช่นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ แขนขาอ่อนแรง หรืออ่อนเพลียได้ ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ช้า ก็อาจทำให้ คอแห้ง ปากแห้ง ตาพร่ามัว ท้องผูก หรือนอนไม่หลับได้ แต่จะเกิดในช่วงที่เริ่มใช้ยาแรก ๆ เท่านั้น เมื่อกินยาวติดต่อกันเวลาหนึ่งผ่านไปผลข้างเคียงก็จะลดน้อยลง ที่สำคัญหากมีอาการเหล่านี้และไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

เป็นทางฝึกความนึกคิดให้มีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา พยายามทำความเข้าใจกับผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคแพนิคว่าไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่ผู้ป่วยกลัว และเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับผู้คน สถานที่ หรือสิ่งของบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการแพนิคขึ้น พยายามปรับอารมณ์ให้เย็นลงอยู่เสมอ โดยสามารถฝึกได้หลายวิธี เช่น

  1. การฝึกลมหายใจเข้าออก เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคแพนิค เมื่อเกิดอาการแล้วสามารถควบคู่ได้ในทันที โดยค่อย ๆ หายใจเข้าออกช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือแม้แต่ตอนที่ไม่มีอาการก็สามารถฝึกได้ โดยอย่างน้อยครั้งละ 10-15 นาที ได้ในทุกอิริยาบถทั้งตอนยืน นั่ง นอน หรือขณะตอนเดินก็ทำได้

ตัวอย่างการฝึกลมหายใจเข้าออกขนะอยู่ในท่านอน ทำได้ดังนี้

เมื่อฝึกฝนจนชำนาญแล้วจึงลองเปลี่ยนอิริยาบถเป็นท่านั่ง หรือท่ายืนดูบ้างโดยผ่อนคลายมือทั้งสองข้างให้อยู่ระหว่างท้อง แล้วทำเหมือนกับท่านอน

  1. ทำตัวให้ตื่นและรู้สติอยู่ตลอดเวลา พอคิดถึงเรื่องที่เครียดหรือวิตกกังวล ให้รู้ตัวว่าแล้วมันจะผ่านไป มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว สามารถหายไปได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
  2. ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เมื่อเกิดอาการเกร็งตามบริเวณทั่วร่างกาย ให้ค่อย ๆ ดีขึ้น
  3. ฝึกการนั่งสมาธิเป็นประจำเพื่อทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นได้ผ่อนคลายลง
  4. ฝึกคิดในทางแง่ดีอยู่เสมอ จะช่วยให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น ความเครียดและความวิตกกังวลลดน้อยลง อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความมีความสุข 

โรคแพนิคควรรักษาไหม

โรคแพนิค คือ โรคที่เกิดจากความเครียดและวิตกกังวล แม้จะเป็นโรคที่ไม่มีความอันตรายจนถึงแก่ชีวิตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ก็ยังเป็นโรคที่น่ากลัวและเป็นกังวลต่อคนรอบข้าง เพราะฉะนั้นควรได้รับการรักษา และต้องรักษาให้ถูกวิธีเพื่อทำให้อาการดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข 

สรุป

ในชีวิตประจำวันของคนเรามีเรื่องเครียดและเรื่องที่ทำให้วิตกกังวลอย่างมากมาย จนสะสมแล้วเกิดเป็นโรคแพนิคขึ้นอย่างไม่อยู่ตัว อาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ใจสั่น แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมากหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี โดยต้องปรึกษาแพทย์เพื่อดำเนินการรักษาและหาสาเหตุของการเกิดโรคแพนิค ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจ เช่น การฝึกลมหายใจ การคิดในแง่ดี หรือการนั่งสมาธิ เป็นต้น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที