วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 15 ก.ย. 2023 23.55 น. บทความนี้มีผู้ชม: 131 ครั้ง

โรคซึมเศร้ารุนแรงกว่าที่คิดอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว การมีสติอยู่เสมอจะเป็นการป้องกันตนเองจากโรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้าภัยร้ายใกล้ตัวกว่าที่คิด เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว

โรคซึมเศร้าภัยใกล้ตัว

ในสังคมไทยปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ามีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย และที่ถือว่าเป็นภัยร้าย ภัยเงียบที่พบมากที่สุด ก็น่าจะเป็นโรคซึมเศร้า เพราะโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งจะเกิดกับคนที่มีอาการอ่อนแอทางร่างกาย จิตใจ ความคิด เครียดสะสม และได้รับความสูญเสียครั้งใหญ่ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาหายได้ โดยการวินิจฉัยจากจิตแพทย์เพื่อหาสาเหตุโรคซึมเศร้านำไปสู่การรักษาด้วยใช้ยาและการรักษาทางจิตใจอย่างถูกต้อง

โรคซึมเศร้า คือ อะไร รู้ก่อนเร่งรักษา

โรคซึมเศร้า หรือ Depressive disorder คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองจึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งด้านความคิด ความรู้สึก อารมณ์ พฤติกรรม และสุขภาพทางกาย ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า มีแต่ความวิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นการรักษาโดยการทานยาหรือจิตบำบัดโรคซึมเศร้าอย่างวิธีโดยแพทย์เฉพาะทางจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ

อาการที่เข้าข่ายโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเช็คอาการได้ด้วยตัวเอง

ลองสังเกตอาการของตัวเองและคนรอบข้างหากพบว่ามีอาการซึมเศร้าติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็ถือว่าเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นจึงควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป

ด้านความคิดเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า มองทุกอย่างในเชิงลบ ไม่มีสมาธิในการคิดทำสิ่งต่าง ๆ เหมือนเดิม มีปัญหาในการคิดหรือการตัดสินใจ ซึมเศร้าจนอาจคิดอยากฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง

ด้านความรู้สึก เริ่มรู้สึกซึมเศร้า เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว ท้อแท้ หงุดหงิดง่ายอย่างหาสาเหตุไม่ได้ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง และรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า สิ้นหวังในทุก ๆ เรื่อง

ด้านอารมณ์ ซึมเศร้า ท้อแท้ อารมณ์อ่อนไหวง่าย เบื่อหน่ายกับสิ่งรอบข้าง ไม่มีความสุขหรือสนุกกับกิจกรรมที่ทำอยู่ประจำ

ด้านพฤติกรรม ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจ พูดช้าลง ทำอะไรช้าลง หรือกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ และพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไปซึงทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

ด้านร่างกาย อ่อนเพลียง่าย มีอาการเบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป นอนหลับยากหรือนอนมากกว่าเดิม รู้สึกหมดเรี่ยวแรง ไม่มีพลัง ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรเลย

ด้านสังคม เริ่มแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิมจนคนรอบข้างสังเกตได้

อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression) 

โรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ อาการซึมเศร้าที่มาก่อนวัยสูงอายุ และอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในวัยที่สูงอายุแล้วซึ่งอาการมีตั้งแต่เศร้าเล็กน้อย ไปจนถึงรุนแรง หากละเลยเป็นเวลานานอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นคนในครอบครัวจึงต้องคอยสังเกตอาการ ความรู้สึก และทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มาก 

อาการโรคซึมเศร้าในเด็ก

โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็กจะทำให้เด็กมีอารมณ์ที่ซึมเศร้า เบื่อหน่าย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว ดื้อ ต่อต้านมากขึ้น อาละวาด ร้องไห้ง่าย ไม่มีความสุข ไม่สนุกกับการทำกิจกรรมที่ชอบ หรือการไปโรงเรียน มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือทานอาหารมากเกินไป นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือนอนมากเกินไป ไม่มีสมาธิในการเรียน ความจำแย่ลง ซึ่งอาการเหล่านี้จะต้องเป็นติดต่ออยู่นานถึง 14 วัน

สาเหตุนำไปสู่โรคซึมเศร้า

1.ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง จากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองและปฏิสัมพันธ์ของสารดังกล่าวกับวงจรระบบประสาท อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

2.พันธุกรรมหรือพื้นฐานดั้งเดิม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคทางอารมณ์จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเป็นโรคทางอารมณ์ก็อาจเป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน

3.สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เครียด ซึ่งจะเกิดจากสภาพจิตใจของแต่ละคน การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม และเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการคิด ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเองและมองโลกในแง่ลบตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสป่วยซึมเศร้าง่ายขึ้น

4.โรคทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัยส่งและผลเสียในการดำเนินชีวิตอย่างมาก ปัจจัยก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า ดังนี้

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า เบื้องต้นจะดูจากอาการซึมเศร้าว่าอยู่ในระดับใด ตั้งแต่ส่งผลกระทบเล็กน้อยจนไปถึงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ในการสอบถามอาการ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน และระดับความซึมเศร้า รวมไปถึงประวัติครอบครัว หรือจะมีการทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาเป็นการประเมินผู้ป่วย เพื่อรับการบำบัดอย่างถูกวิธีและต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย

โรคซึมเศร้า รักษาอย่างไร

รักษาโรคซึมเศร้ากับแพทย์มากประสบการณ์

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องสามารถหายได้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ 

รักษาด้วยยา

ยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ โดยจะทำหน้าที่ปรับสารสื่อประสาทที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ในสมอง ให้กลับมาทำงานปกติ ได้แก่

ยารักษาโรคซึมเศร้านี้จะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า จะต้องทานอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจน และต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ยาจึงออกฤทธิ์เต็มที่

รักษาด้วยจิตบำบัด

การรักษาวิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าระยะแรก ต้องพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยให้คำปรึกษา ทำจิตบำบัดให้ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งวิธีการรักษาด้วยจิตบำบัดต้องใช้ระยะเวลานาน โอกาสหายจะช้ากว่าวิธีการรักษาด้วยยา

การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าก็เปรียบเสมือนโรคอื่น ๆ ทั่วไปเป็นแล้วสามารถหายได้จากการรักษาโดยใช้ยา การใช้จิตบำบัด การปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด หรือการเข้าพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการรักษา นอกจากนั้นกำลังใจจากคนใกล้ชิด คนในครอบครัวถือว่าสำคัญกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างมากในการช่วยเยี่ยวยาจิตใจ ความใส่ใจ การให้กำลังใจ คอยรับฟังความคิดผู้ป่วย และรู้จักสภาวะอาการต่าง ๆ จนไปถึงวิธีการรับมือกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยลดโอกาสที่เสี่ยงรุนแรงจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

คำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

รักษาโรคซึมเศร้าให้หายขาด

ยารักษาโรคซึมเศร้า มีผลข้างเคียงไหม?

ปัจจุบันนี้ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่ถือว่ามีความปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง แต่หากเกิดผลข้างเคียงกับผู้แพ้ตัวยาบางชนิดอาจเกิดอาการปากแห้งคอแห้ง เวียนศีรษะ ง่วงนอน และคลื่นไส้ เป็นต้น หากเกิดผลข้างเคียงของยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยทันที 

โรคซึมเศร้า รักษาหายไหม?

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนองและใช้เวลาไม่เท่ากัน 

รักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเองได้ไหม?

โรคซึมเศร้าเป็นแล้วไม่สามารถรักษาหรือบำบัดอาการซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง เมื่อรู้ว่าตัวเองมีอาการหรือเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทาง เพื่อขอรับคำปรึกษาที่ดี การบำบัดที่ถูกต้องอาจทำให้หายจากโรคซึมเศร้าได้เร็วกว่าการรักษาด้วยตัวเอง

เพิ่มยารักษาโรคซึมเศร้าด้วยตนเองได้หรือไม่?

การเพิ่มยารักษาโรคซึมเศร้าไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชียวชาญ การเพิ่มหรือลดยารักษาโรคซึมเศร้าอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจทำใหเกิดอันตรายตามมาภายหลังได้

สรุปเรื่องโรคซึมเศร้า

ชนะโรคซึมเศร้ากับสุขภาพจิตที่ดี

โรคซึมเศร้าภัยร้ายที่อันตรายถึงชีวิต หากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน ภาวะจิตใจที่หม่นหมอง ขาดความสมดุลในตัวเอง สามารถเข้ารับการรักษา และวินิจฉัยโดยจิตแพทย์ เพื่อปรึกษา หาแนวทางป้องกัน ปรับสภาพจิตใจให้คงที่ ปรับวิธีการคิด ซึ่งปัจจุบันโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษา และการรักษาทางจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างโดยไว้ โรคซึมเศร้าเป็นอาการผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งก็เหมือนกับโรคทั่วไปเป็นแล้วสามารถรักษาหายได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลา ความเข้าใจ และกำลังใจจากคนรอบข้างอีกด้วย


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที