ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องการเพิ่มร่มเงา ป้องกันแสงแดด และฝนให้กับบ้าน การสร้างหลังคาหน้าบ้านเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้ให้คุณได้ ซึ่งในปัจจุบันหลังคาหน้าบ้านมีรูปทรง และรูปแบบให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลาย ทำให้หลายคนเกิดความลังเลว่าจะเลือก ทำหลังคาหน้าบ้านแบบไหนดี ถึงจะเหมาะสมกับสภาพอากาศ และใช้งานได้นาน ๆ ตามมาดูในบทความในวันนี้กันได้เลย
สำหรับการทำหลังคาหน้าบ้าน จะมีลักษณะของโครงหลังคาให้เลือกทั้งหมด 2 แบบด้วยกัน คือ โครงหลังคาหน้าบ้านแบบมีเสา และโครงหลังคาหน้าบ้านแบบไม่มีเสา ซึ่งมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้
สำหรับหลังคาหน้าบ้านแบบมีเสา จะมีความโดดเด่นตรงที่ช่วยรองรับน้ำหนักของวัสดุหลังคาได้ดี และมีความแข็งแรงทนทานมากกว่า แต่ข้อเสียคือเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ดินอาจเกิดการทรุดตัวทำให้หลังคาเอียง หรือถล่มลงมาได้
สำหรับหลังคาหน้าบ้านแบบไม่มีเสา จะเป็นการติดตั้งหลังคาไว้กับผนังของบ้าน ซึ่งการติดตั้งในลักษณะนี้จะมีความสวยงาม และทันสมัย ไม่ต้องเปลืองงบประมาณในติดตั้งเยอะเท่าแบบมีเสา แต่หลังคาแบบไม่มีเสาก็มีข้อเสียตรงที่หากเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมาจนเกินไป เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ผนังอาจจะรองรับน้ำหนักเอาไว้ไม่ให้ แล้วเกิดการถล่ม หรือร่วงลงมาได้
แต่ถ้าให้เลือกระหว่างโครงหลังคาแบบมีเสา และไม่มีเสา เราขอแนะนำให้เลือกแบบไม่มีเสาจะดีกว่า เพราะโครงหลังคาแบบไม่มีเสา จะช่วยทำให้บ้านมีความสวยงาม และมีความทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งยังมีความสะดวกสบายต่อการใช้งานในพื้นที่บริเวณหน้าบ้านด้วย เนื่องจากไม่มีเสาไม่บดบังทัศนวิสัย หรือการทำกิจกรรมนอกบ้าน
ซึ่งวัสดุที่เหมาะสำหรับทำหลังคาหน้าบ้านแบบไม่มีเสา คือ หลังคาไฟเบอร์กลาส เนื่องจากวัสดุชนิดนี้มีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา ทำให้สะดวกสบายต่อการติดตั้ง และการใช้งาน นอกจากนี้หลังคาไฟเบอร์กลาสยังเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง และทนทานต่อการใช้งานอีกด้วย เพราะว่าผลิตมาจากเรซินคุณภาพดีผสมด้วยเส้นใยไฟเบอร์กลาส ที่ทำให้วัสดุมีความยืดหยุ่น และเหนียวแน่น จึงไม่เกิดการแตกหัก หรือผุกร่อนง่ายนั่นเอง
นอกจากคุณสมบัติความแข็งแรง และทนทานต่อการใช้งานแล้ว หลังคาไฟเบอร์กลาสยังเป็นวัสดุโปร่งแสงที่ไม่โปร่งใส ช่วยให้แสงส่องผ่านลงมาได้อย่างทั่วถึง แต่แสงที่ส่องผ่านลงมานั้นไม่ทำให้เกิดความร้อนภายในบ้าน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมีร่มเงาที่ร่มเย็น ปลอดโปร่ง โล่งสบาย อีกทั้งหลังคาไฟเบอร์กลาสยังช่วยป้องกันความร้อน สะท้อนรังสี UV ได้มากถึง 99% รวมทั้งป้องกันการรั่วซึมของฝนได้ดีอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที