“ประกันสะสมทรัพย์” เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถช่วยเสริมสร้างความมั่งคั่งทางการเงินและสร้าวินัยในการออมได้ ที่สำคัญยังให้ความคุ้มครองแก้ชีวิตของคุณ ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน และต้องเสียชีวิตไป คนที่อยู่ข้างหลังจะไม่ลำบาก และมีเงินก้อนไว้ใช้ให้ชีวิตสามารถก้าวเดินต่อไปได้ โดยรูปแบบของประกันสะสมทรัพย์นั้น มีทั้งประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งหลายคนอาจเกิดความลังเลว่าควรเลือกทำประกันสะสมทรัพย์แบบไหนดี เรามีวิธีในการเลือกมาแนะนำกัน
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาวต่างกันยังไง?
หากให้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาว สามารถบอกได้ ดังต่อไปนี้
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น เป็นประเภทของประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีจำหน่ายในหลายบริษัทประกันชีวิต จะอยู่ที่ 10 ปี เนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรที่ได้ระบุสิทธิการลดหย่อนภาษีโดยการนำเบี้ยประกันสะสมทรัพย์มาหักลดได้ โดยประกันชีวิตที่ทำต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ดังนั้นจึงทำให้แบบประกันสะสมทรัพย์ส่วนใหญ่ที่ออกแบบมา จะมีระยะตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปนั่นเอง
ประกันสะสมทรัพย์ระยะยาว ก็คือระยะสัญญาของประกันที่ยาวกว่า 10 ปี เช่น 15 ปี 20 ปี หรือ 25 ปี เป็นต้น
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาวเลือกแบบไหนดี
เลือกจากเป้าหมายในการออมเงินเป็นหลัก
สำหรับสิ่งแรกที่ต้องนำมาพิจารณาว่า ระหว่างประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาวเลือกแบบไหน เราจะขอแนะนำว่าให้ดูจากเป้าหมายของการออมเงินเป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารด้านการเงิน ดังนี้
เป้าหมายระยะสั้น เช่น เก็บเงินก้อนเล็ก ๆ เก็บเงินดาวน์รถ เก็บเงินไปเที่ยว
เป้าหมายระยะกลาง เช่น เก็บเงินก้อนแต่งงาน เก็บเงินให้ลูกเรียนมหาวิทยาลัย
เป้าหมายระยะยาว เช่น เก็บเงินเกษียณ
ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา เพื่อเลือกว่าระหว่างประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นและระยะยาวเลือกแบบไหน คือความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าคุณจะสามารถส่งเบี้ยประกันไปได้จนครบตามกำหนดสัญญาและไม่ต้องหยุดส่งเบี้ยประกันลงกลางคันทำให้ต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับไปอย่างน่าเสียดายนั่นเอง
ความคุ้มครองที่คุ้มค่า
อย่างที่กล่าวมาแล้ว ประกันสะสมทรัพย์นั้น นอกจากจะให้ผลตอบแทนเป็นเงินก้อน เมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่กรมธรรม์กำหนด ยังมีเงินเชยในกรณีที่เสียชีวิต ให้คุณได้ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของคุณนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ คือวิธีการเลือกทำประกันสะสมทรัพย์ที่เราได้นำมาแนะนำกันหวังว่าจะช่วยให้คุณเลือกซื้อประกันที่มีความคุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการในการใช้ชีวิตของคุณได้อย่างลงตัว
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที