ปิยเกียรติ

ผู้เขียน : ปิยเกียรติ

อัพเดท: 28 มิ.ย. 2023 14.50 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3442 ครั้ง

การประกอบธุรกิจประเภทโรงแรม ภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โรงแรมต้องส่งรายละเอียดผู้เข้าพักให้กับกรมการปกครอง รายละเอียดเหล่านั้นต้องมีแบบฟอร์ม หรือเอกสารที่โรงแรมใช้เรียกคือ ร.ร.3 และ ร.ร.4


ร.ร.3 และ ร.ร.4 เอกสารของโรงแรมที่เรารู้จัก

ร.ร.3 และ  ร.ร.4 เอกสารของโรงแรมที่เรารู้จัก 

HotelDocFace

การประกอบธุรกิจประเภทโรงแรม ภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 โรงแรมต้องส่งรายละเอียดผู้เข้าพักให้กับกรมการปกครอง รายละเอียดเหล่านั้นต้องมีแบบฟอร์ม หรือเอกสารที่โรงแรมใช้เรียกคือ ร.ร.3 และ  ร.ร.4 อันดับแรกเรามาดูบางตอนของพระราชบัญญัติโรงแรมรวมถึงกำหนดบทลงโทษไว้ดังนี้

พระราชบัญญัติโรงแรม.. 2547

มาตรา 35 

ผู้จัดการต้องจัดให้มีการบันทึกรายการต่างๆ เกี่ยวกับผู้พักและจํานวน ผู้พักในแต่ละห้องลงในบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3) ในทันทีที่มีการเข้าพัก โดยให้ผู้พักคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในบัตรทะเบียนผู้พัก หากผู้พักมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์และเข้าพักตามลําพัง ให้ผู้จัดการหรือผู้แทนลงลายมือชื่อกํากับไว้ด้วยและนําไปบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ให้แล้วเสร็จภายใน ยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก
 
ถ้ารายการซึ่งจะต้องบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ตามวรรคหนึ่งซ้ำกับรายการวันก่อนให้บันทึกรายการดังกล่าวว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง
 
การบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เข้าพักลงในบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3)และทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ต้องบันทึกทุกรายการให้ครบถ้วน ห้ามมิให้ปล่อยช่องว่างไว้โดยไม่มีเหตุผลสมควร
 
ผู้จัดการต้องเก็บรักษาบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3)และทะเบียนผู้พัก(ร.ร. 4) ไว้เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปีและต้องให้อยู่ในสภาพที่ตรวจสอบได้
 
บัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 3)และทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

บทกำหนดโทษ

มาตรา 56 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 วรรคหนึ่ง หรือวรรคสี่ ต้องระวางโทษ ปรับทางปกครองตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”

มาตรา 57 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 35 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท”
 

มาตรา 36

ผู้จัดการต้องส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ในแต่ละวันไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์แล้วให้นายทะเบียนทําใบรับมอบให้ไว้เป็นสําคัญ หากโรงแรมใดอยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถส่งได้ตามกําหนดดังกล่าว ให้นายทะเบียนพิจารณากําหนดระยะเวลาส่งสําเนาดังกล่าวแล้วแจ้งให้ผู้จัดการทราบ

บทกำหนดโทษ

มาตรา 56 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”
 

มาตรา 37

ในกรณีที่ทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ที่เก็บรักษาไว้ในโรงแรมสูญหายหรือถูกทําลาย ผู้จัดการต้องดําเนินการขอคัดลอกสําเนาทะเบียนผู้พักนั้นจากนายทะเบียนมาเก็บรักษาไว้แทน

บทกำหนดโทษ

มาตรา 56 ระบุว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37 ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”

อ่านเพิ่มเติม พ.ร.บ โรงแรม

เอกสารร.ร. 3

 “ ร.ร.3 คือ บัตรทะเบียนผู้พักโรงแรม เป็นเอกสารที่ต้องบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าพักโรงแรม โดยเจ้าของข้อมูลลงรายละเอียดเอง”

roomyy.co

บัตรทะเบียนผู้พักโรงแรม เป็นเอกสารที่กรมการปกครองกำหนดให้โรงแรมต้องจัดให้มีการบันทึกรายการต่างๆ เกี่ยวกับผู้พักและจํานวนผู้พักในแต่ละห้องทันทีที่มีการเข้าพัก โดยให้ผู้พักคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในบัตรทะเบียนผู้พัก 

หากผู้พักมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์และเข้าพักตามลําพัง ให้ผู้จัดการหรือผู้แทนลงลายมือชื่อกํากับไว้และ โรงแรมต้องนําไปบันทึกลงในทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) ให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก

HotelsDoc4
ภาพแสดงตัวอย่าง แบบฟอร์มใบ ร.ร.3

 เอกสาร..3 เก็บอะไรบ้าง

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บใน ร.ร.3 ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 

  1. ชื่อ นามสกุล
  2. วันเดือนปีเกิด 
  3. อาชีพ 
  4. สัญชาติ 
  5. ที่อยู่ปัจจุบัน 
  6. หมายเลขโทรศัพท์ 
  7. มากจากที่ใด และจะไปที่ใด 
  8. เลขบัตรประชาชน และรายละเอียดต่างๆในบัตร ประชาชน
  9. รายละเอียดการเข้าพัก ว/ด/ป ที่เข้าพัก และ ว/ด/ป ที่ออกไปจากที่พัก 
  10. ลงลายมือชื่อผู้พัก

โดยส่วนใหญ่โรงแรมจะทำการพิมพ์แบบฟอร์ม ร.ร.3 เพื่อให้ผู้เข้าพักทำการกรอกรายละเอียดเอง จากนั้นโรงแรมจะนำข้อมูลดังกล่าวกรอกในแบบ ร.ร.4 ต่อไป

เอกสาร.. 4

“ร.ร.4 คือ ทะเบียนผู้พักในโรงแรม เป็นเอกสารของโรงแรมที่โรงแรมต้องนำส่งรายละเอียดผู้เข้าพักโรงแรมให้นายทะเบียนกรมปกครอง”

Roomyy.co

กล่าวคือ ร.ร.4  เป็นแบบฟอร์มทะเบียนผู้พักโรงแรม ซึ่งโรงแรมมีหน้าที่นำรายละเอียดจาก ร.ร.3 มากรอกลงในแบบฟอร์ม ร.ร. 4 โดยโรงแรมต้องลงรายละเอียดผู้เข้าพักให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีการลงทะเบียนเข้าพัก และโรงแรมต้องส่งสําเนาทะเบียนผู้พัก (ร.ร. 4) ในแต่ละวันไปให้นายทะเบียนทุกสัปดาห์

แล้วให้นายทะเบียนทําใบรับมอบให้ไว้เป็นสําคัญ หากโรงแรมอยู่ห่างไกลหรือไม่สามารถส่งได้ตามกําหนดดังกล่าว ให้นายทะเบียนพิจารณากําหนดระยะเวลาส่งสําเนาดังกล่าวและแจ้งให้ผู้จัดการทราบ

ข้อมูลที่ใช้ในการเก็บของ..4 

ข้อมูลในแบบฟอร์ม ของ ร.ร. 4 หรือทะเบียนผู้พักในโรงแรม มีดังนี้

  1. วันที่เข้าพัก 
  2. ห้องพัก
  3. ชื่อนามสกุล 
  4. สัญชาติ 
  5. เลขประจำตัวประชาชน
  6. ที่อยู่ปัจจุบัน 
  7. อาชีพ 
  8. รายละเอียดการเดินทางมาจากไหน
  9. รายละเอียดการเดินทางจะไปไหน
  10. วันที่ออกไป
hotelsDoc5
 

สรุป

เอกสารบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร.3) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) เป็นเอกสารสำหรับนำส่งกรมการปกครอง เมื่อนำส่งเอกสารให้กับกรมการปกครองแล้ว เอกสารบัตรทะเบียนผู้พัก (ร.ร.3) และทะเบียนผู้พัก (ร.ร.4) โรงแรมต้องมีการเก็บไว้อย่างน้อย 1 ปี 

เพื่อการตรวจสอบจากกรมการปกครอง ตามมาตรา 35 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 และเมื่อครบกำหนดการจัดเก็บโรงแรมต้องกำหนดวิธีการทำลายเอกสารให้ชัดเจน เช่น การเผา การลบ การทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม หรือการใช้เครื่องย่อยเอกสาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของโรงแรม

โรงแรมต้องมีโปรแกรมโรงแรมที่มีมาตรการที่เพียงพอในเก็บการรักษาหรือปฏิบัติตามหลัก PDPA ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักต้องให้ความระมัดระวัง เพราะจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการเข้าใช้บริการ 

รวมถึงเพื่อป้องกันโอกาสในการรั่วไหลหรือการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามระเบียบของ กฎหมาย PDPA และเพื่อเป็นการสร้างมั่นใจให้กับผู้เข้าพัก ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลในกิจกรรมนี้ ว่าเมื่อมาใช้บริการของท่านแล้ว ข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองอย่างมั่นคงและปลอดภัย

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที