วัตพล

ผู้เขียน : วัตพล

อัพเดท: 24 เม.ย. 2024 21.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1647 ครั้ง

วิธีเก็บเงิน ออมเงิน


9 วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน เก็บเงินได้จริง ด้วยตัวช่วยสำคัญ

เก็บเงินซื้อบ้าน

บ้านเป็นอสังหาริมทรัพย์ในฝันของหลายๆ คน ว่า อยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง แต่การจะซื้อบ้านสักหลัง จำเป็นต้องใช้เงินค่อนข้างมาก กว่าจะเก็บเงินได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้ โดยบทความนี้ ขอนำเสนอ 9 วิธีเก็บเงินซื้อบ้านที่ทุกคนสามารถทำได้ไม่ยาก เริ่มตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายบ้านที่ต้องการ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ออมเงินให้มากขึ้น ลงทุนต่อยอด รวมถึงเลือกใช้ตัวช่วยในการเก็บตังซื้อบ้านอย่างแอปเก็บเงินต่าง ๆ เพียงเท่านี้ การเก็บเงินซื้อบ้านก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


1. ตั้งเป้าหมายการออม

วิธีเก็บเงินซื้อบ้านวิธีแรก คือ ต้องตั้งเป้าหมายในการออมเสียก่อน ด้วยความตั้งใจในการเก็บตังซื้อบ้านนั้น ก็ต้องพิจารณาเรื่องบ้านเป็นอันดับแรก ว่า ต้องการบ้านในลักษณะใด ต้องใช้งบประมาณเท่าไร โดยเริ่มจากทีละปัจจัย ดังนี้

ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้ตัดสินใจวางเป้าหมายเกี่ยวกับบ้านได้อย่างชัดเจนขึ้น เมื่อทราบแล้วว่า ต้องการบ้านในลักษณะใด ลำดับต่อมาก็คือ หาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านในราคาที่สามารถเก็บเงินซื้อบ้านได้ โดยลองศึกษาและเปรียบเทียบจากหลายๆ โครงการ เพื่อให้ได้บ้านใกล้เคียงกับบ้านในฝันในราคาที่สามารถเก็บตังซื้อบ้านได้


2. คำนวณงบประมาณ

เก็บตังซื้อบ้าน

หากต้องการเก็บเงินซื้อบ้าน จำเป็นต้องประเมินงบประมาณส่วนตัวเสียก่อน ว่า รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง เพราะการทำงบประมาณจะช่วยให้มองภาพรวมของการใช้จ่ายแต่ละเดือนได้เป็นอย่างไร ส่งผลให้สามารถตัดสินใจได้ว่า จะเก็บตังซื้อบ้านประมาณเท่าไรต่อเดือน จึงจะไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายประจำวัน

ซึ่งการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายถือว่าเป็นวิธีเก็บเงินซื้อบ้านขั้นพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง จะทราบได้ว่า ในแต่ละเดือนมีรายได้เท่าไร ใช้จ่ายเงินไปกับรายการใดมากที่สุด แล้วมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนเท่าไร ซึ่งจะทำให้ทราบสถานะทางการเงิน แล้วนำมาวิเคราะห์วางแผนให้เก็บเงินซื้อบ้านได้อย่างเหมาะสม


3. ลดภาระหนี้สิน

เมื่อต้องการเก็บเงินซื้อบ้านในจำนวนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องลดรายการภาระหนี้สินให้ลดลงเสียก่อน ซึ่งเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเก็บเงิน โดยทั่วไปแล้ว ควรลดภาระหนี้สินให้ไม่เกิน 40% ของรายได้ เพื่อให้สามารถเก็บตังซื้อบ้านได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเคลียร์ประวัติตนเองต่อสถาบันการเงิน หากจำเป็นต้องขออนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก็จะช่วยให้สามารถได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น


4. ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

นอกจากการลดภาระหนี้สินที่มีอยู่แล้ว หากอยากเก็บเงินซื้อบ้านให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรจะพิจารณาตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย เพราะหลังจากเห็นบัญชีรายรับ-รายจ่ายแล้ว จะทราบดีว่า รายจ่ายรายการใดบ้างที่ไม่จำเป็น ลดการซื้อของฟุ่มเฟือย ไม่สร้างหนี้สินเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้รถยนต์ หนี้ผ่อนชำระสินค้าต่างๆ เพื่อให้สามารถเก็บตังซื้อบ้านให้เร็วขึ้น


5. ออมเงินทันที

วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน

การออมเงินทันทีด้วยเป้าหมายเก็บเงินซื้อบ้าน คือ เมื่อได้รับเงินเดือนแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ แบ่งเงินสำหรับออมทันที สำหรับสัดส่วนในการออมก็มีหลายทฤษฎีให้เลือกใช้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว นิยมให้ออมเงินประมาณร้อยละ 10 - 20 ของรายได้ เพื่อไม่ให้กระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หากแต่บางรายไม่มีค่าใช้จ่าย ก็อาจจะเพิ่มสัดส่วนเก็บตังซื้อบ้านให้มากขึ้น

แต่ทั้งนี้ เป้าหมายออมเงินในระยะแรก คือ การเก็บเงินซื้อบ้าน 20% ของราคาบ้าน เนื่องจาก 20% นี้ อาจจะนำไปใช้เป็นเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ก่อนซื้อและโอน เช่น ค่าทำสัญญา เงินจอง เงินดาวน์ โดยหากมีการเก็บตังซื้อบ้านอย่างมีวินัย ออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น


6. ลงทุนต่อยอด

อีกวิธีเก็บเงินซื้อบ้าน คือ นำเงินมาลงทุนต่อยอดด้วยช่องทางต่างๆ เช่น หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตราสารหนี้ หรืออสังหาริมทรัพย์ เพื่อเพิ่มรายได้ในระยะยาว โดยวิธีนี้ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้และวางแผนการลงทุนให้ดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ทำให้สามารถเก็บเงินซื้อบ้านได้เร็วขึ้น

แต่ทั้งนี้ ก่อนจะลงทุนในช่องทางใด เพื่อเก็บเงินซื้อบ้าน ก็ควรศึกษาให้ละเอียด ลงทุนอย่างรอบคอบ เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง หากลงทุนโดยที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอ ก็อาจจะเสียเงินก้อนดังกล่าวได้


7. หารายได้เสริม

การหารายได้เสริมนอกจากงานประจำหรือรายได้หลัก ถือว่าเป็นอีกวิธีเก็บเงินซื้อบ้านที่ได้ผลดี และทุกคนสามารถทำได้ เช่น 

ซึ่งการทำงานหารายได้เสริมเหล่านี้ นอกจากช่วยให้เก็บเงินซื้อบ้านได้เร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถตนเองให้เพิ่มมากขึ้น จนสามารถนำเอาทักษะเหล่านี้ไปต่อยอดในงานประจำที่ทำอยู่ก็เป็นได้


8. วางแผนการเงินใหม่

สำหรับบางคนยังไม่สามารถบริหารจัดการรายรับ-รายจ่ายได้ ก็ควรจะวางแผนการเงินใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเก็บเงินซื้อบ้าน เพราะไม่เพียงแต่ทราบรายรับ-รายจ่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางแผนใช้เงินต่อจากนั้นด้วย เนื่องจากการซื้อบ้านเป็นเรื่องใหญ่ จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก หากเก็บตังซื้อบ้านไม่พอ จำเป็นต้องกู้ยืม ขอสินเชื่อ ชำระค่าดอกเบี้ย หรือเก็บเงินเพื่อดาวน์บ้าน จะเห็นได้ว่า หากไม่วางแผนการเงินให้ดี ก็ยากที่จะเก็บเงินซื้อบ้านได้


9. ใช้แอปเก็บเงิน

เก็บเงินสร้างบ้าน

อีกหนึ่งวิธีเก็บเงินซื้อบ้านที่ได้ผลดี คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย อย่างเลือกใช้แอปพลิเคชันสำหรับออมเงิน ถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยดูแลการเงินอย่างรอบด้าน ทั้งบันทึกรายรับ-รายจ่าย บันทึกเงินออม แยกกระเป๋าในการเก็บเงิน สามารถระบุได้ว่า เก็บเงินเพื่ออะไร ตั้งเป้าหมายจำนวนเงินไว้เท่าไร ช่วยให้ควบคุมการใช้เงินได้ดียิ่งขึ้น


แนะนำแอปน่าสนใจช่วยเก็บเงินซื้อบ้าน

จาก 9 วิธีเก็บเงินซื้อบ้านข้างต้น จะเห็นว่า หลายๆ วิธีสามารถทำได้จริง อีกทั้งบางวิธียังสามารถประยุกต์เข้าด้วยกันได้อย่างการเลือกใช้แอปเก็บเงิน เพราะในปัจจุบัน แอปเก็บเงินมีฟีเจอร์ช่วยให้การเก็บเงินซื้อบ้านเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น อย่างแอป “MAKE by KBank” จากธนาคารกสิกรไทย

ด้วย “MAKE by KBank” มีฟีเจอร์ดีๆ น่าสนใจ ช่วยให้เก็บเงินซื้อบ้านได้จริง อย่างเช่น

สำหรับ “MAKE by KBank” ยังมีข้อดีอีกหลายประการ เช่น

จะเห็นได้ว่า แอปเก็บเงินซื้อบ้านในปัจจุบัน ได้รับการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น ทั้งช่วยบันทึกรายรับ-รายจ่าย ให้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายในแต่ละเดือน แยกออกจากเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน ทำให้การเก็บตังซื้อบ้านเป็นเรื่องง่ายขึ้น


สรุปเกี่ยวกับการเก็บเงินซื้อบ้าน

การเก็บเงินซื้อบ้านถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนการเงินให้ดี ด้วย 9 วิธีเก็บเงินซื้อบ้านข้างต้น ซึ่งเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บันทึกรายรับ-รายจ่าย ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หารายได้เสริม นำเงินไปลงทุนต่อยอด หรือเลือกใช้แอปช่วยเก็บเงินอย่าง “MAKE by KBank” จากธนาคารกสิกรไทย โดยมีฟีเจอร์ดีๆ ช่วยให้การเก็บเงินซื้อบ้านเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เช่น Cloud Pocket, Expense Summary, Shared Cloud Pocket, Daily Interest เป็นต้น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที