แผ่นพื้นสำเร็จรูปคืออะไร ? มีกี่แบบ ? พร้อมขั้นตอนติดตั้งใช้งาน
แผ่นพื้นสำเร็จรูป คืออะไร
แผ่นพื้นสำเร็จรูป (slabs) หรือ แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป (precast concrete slabs) หรือ แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรง คือ แผ่นพื้นที่ถูกผลิตและพร้อมใช้งานจากโรงงานโดยได้รับมาตรฐานมอก. ในกระบวนการผลิตนั้น จะหล่อเป็นแผ่น และเสริมความแข็งแรงด้วยลวดเหล็กชนิดพิเศษอัดแรงกำลังสูง ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน และให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ช่วยย่นระยะเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง อีกด้วย
โดยลวดเหล็กที่ใช้เสริมความแข็งแรงในการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะมีหลากหลายขนาด ซึ่งขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเลือกใช้ตามความเหมาะสมของการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัย หรือสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ได้แก่ บ้าน อาคาร ลานจอดรถ ตึกสำนักงาน คอนโดมิเนี่ยม ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนสะพานขนาดใหญ่
รูปแบบของแผ่นพื้นสำเร็จรูป
แผ่นพื้นสำเร็จรูป มี 3 รูปแบบ แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 และ 2 ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีหลากหลายขนาด โดยมีความกว้าง ความยาว และความหนาของแผ่นขึ้นอยู่กับการรองรับน้ำหนักต่อพื้นที่ตารางเมตร ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบและความต้องการของผู้ใช้
1. แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน
แผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน หรือ แผ่นพื้นคอนกรีตแบบท้องเรียบ (Plank Panel) คือ แผ่นพื้นที่มีรูปทรงคล้ายแผ่นไม้กระดาน ท้องแผ่นเรียบสวยงาม ไม่ต้องทำการฉาบปูน แต่ด้านบนจะมีพื้นผิวไม่ราบเรียบ เพื่อประโยชนืในการประสานกับคอนกรีตที่เทให้เป็นเนื้อเดียวกัน แผ่นพื้นรูปแบบนี้ เป็นที่นิยมมาก เนื่องจากราคาถูก ใช้งานง่าย ขนย้ายสะดวก โดยใช้ไม้ค้ำยันระหว่างการขนย้าย เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัยทั่วไป อาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง ได้แก่ บ้าน อพาร์ทเมนต์ ทาวน์โฮม
2. แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง (Hollow Core)
แผ่นพื้นคอนกรีตแบบกลวง (Hollow Core) คือ แผ่นพื้นที่ผลิตจากคอนกรีตแห้ง มีรูกลวงยาวตลอดทั้งแผ่น โดยรูกลวงนี้ช่วยในการเสริมความแข็งแรงให้กับแผ่น ทำให้มีน้ำหนักเบา ช่วยประหยัดโครงสร้าง เสา คาน และรองรับน้ำหนักได้ดีกว่าแผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน อีกทั้งยังช่วยลดการผ่านของเสียงและอุณหภูมิภายนอก ทำให้โครงสร้างทนความร้อนได้ดีเวลาเกิดไฟไหม้ แผ่นพื้นรูปแบบนี้ จึงเป็นที่นิยมมากกว่าแบบที่ 1 และไม่จำเป็นต้องมีไม้ค้ำยันระหว่างขนย้าย ทำให้ติดตั้งง่าย ขนย้ายได้สะดวกยิ้งขึ้น เหมาะกับการก่อสร้างอาคารตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ ได้แก่ บ้าน อพาร์ทเมนต์ ทาวน์โฮม อาคาร คอนโดมิเนี่ยม ตึกสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า คลังสินค้า รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม
3. แผ่นคอนกรีตแบบสามขา
แผ่นคอนกรีตแบบสามขา หรือ แผ่นพื้นท้องลอน คือแผ่นพื้นที่มีลักษณะที่ด้านหนึ่งหน้าจะเรียบเหมือนกับแผ่นคอนกรีตแบบตัน และอีกหนึ่งด้านของแผ่นพื้นจะเสริมด้วยการทำลักษณะเหมือนขา 3 ขา ช่วยลดน้ำหนักของแผ่นพื้น 3 ขานั้น ช่วยรับน้ำหนัก ไม่ให้แผ่นพื้นแอ่นตัน และไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันระหว่างขนส่งและใช้งาน โดยแผ่นพื้นรูปแบบนี้ จะมีความหนามากกว่าแผ่นพื้นคอนกรีตแบบตัน เหมาะกับการใช้ในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่ต้องการรับน้ำหนักมากกว่าปกติทั่วไป
แผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร ?
-
ไม่มีรอยแตกร้าวตลอดทั่วทั้งแผ่น
-
มีเหล็กหูหิ้วที่เสริมติดมากับแผ่นพื้นสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการขนย้ายและช่วยยึดเกาะคอนกรีตที่เททับ
-
มีจำนวนเหล็กเสริมพิเศษอัดแรงตรงตามความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (Safe superimposed service load) ที่ทางโรงงานผู้ผลิตได้จัดทำไว้
-
มีขนาดความกว้าง ความยาว และความหนา ตรงตามที่กำหนดไว้
ขั้นตอนการติดตั้งใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูป
ในส่วนของขั้นตอนการติดตั้งใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้น มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากติดตั้งไม่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธี อาจจะทำให้แผ่นพื้นเสียหาย แตกร้าวได้ และอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอีกด้วย ซึ่งขั้นตอนขั้นตอนการติดตั้งใช้งานแผ่นพื้นสำเร็จรูป มีดังนี้
1. เตรียมพื้นที่ที่จะติดตั้งแผ่นพื้น
ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการเตรียมคานเพื่อใช้ในการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป โดยจะต้องเตรียมคานให้ให้เรียบและสูงเสมอกัน และมีความยาวเท่ากันกับแผ่นพื้น มีความกว้างอย่างน้อย 15 เซ็นติเมตร และส่วนซ้อนทับระหว่างคานกับแผ่นพื้นอย่างน้อย 5 ถึง 7.5 เซ็นติเมตร เพื่อกันการซ้อนทับเมื่อวางแผ่นพื้น
2. เตรียมไม้ค้ำยันชั่วคราว
ในขั้นตอนนี้ เป็นการเตรียมเพื่อช่วยรองรับน้ำหนักของแผ่นพื้นคอนกรีต และช่วยป้องกันการแตกร้าวเสียหาย โดยการเตรียมไม้ค้ำยันชั่วคราวในบริเวณด้านล่างของแผ่นพื้นคอนกรีต
3. วางแผ่นพื้นสำเร็จรูปตามคานที่ได้เตรียมไว้
ในส่วนของการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปตามคานที่ได้เตรียมไว้นั้น จะใช้เครน หรือรถเฮี้ยบ คล้องสลิงกับหูหิ้วแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป และจัดวางระยะนั่งคานระหว่าง 5 ถึง 7 เซ็นติเมตร โดยเรียงให้แผ่นพื้นให้เรียบแนบสนิทชิดกัน อย่าให้มีช่องว่างระหว่างแผ่น
4. ติดตั้งเหล็กเสริมพิเศษ
การติดตั้งเหล็กเสริมพิเศษ เพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันรอยแตกร้าวที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง โดยใช้เหล็กเสริมความแข็งแกร่งที่ด้านบนของแผ่นพื้น จะทำหลังจากที่วางแผ่นพื้นคอนกรีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะเทคอนกรีตทับหน้า
5. เทคอนกรีตทับแผ่นพื้นสำเร็จ
ขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือ การเทคอนกรีตทับแผ่นพื้นสำเร็จ ซึ่งต้องเทคอนกรีตกำลังอัดไม่น้อยกว่า 320 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (ksc) เททับลงไปบนแผ่นพื้นคอนกรีต แล้วเกลี่ยให้คอนกรีตหนาเท่าๆกัน สุดท้ายจะต้องบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดพ่นน้ำยาหรือทาน้ำยาบนพื้นผิวทันทีที่คอนกรีตเริ่มจะแข็งตัว
สรุป
แผ่นพื้นสำเร็จรูป เป็นผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปเสริมลวดอัดแรง ที่มีการนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ หลากหลายขนาด เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ช่วยย่นระยะเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซึ่งการนำไปใช้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับสิ่งก่อสร้างนั้นๆ รวมไปถึงการเลือกใช้งานแผ่นพื้นที่มีลักษณะที่ดีด้วย
ลิงค์ต้นฉบับและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
หากคุณผู้อ่านบทความนี้ กำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น แผ่นพื้น เสาเข็มไอ ขอบคันหิน รั้วสำเร็จรูป รั้วคาวบอย เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างในโครงการหรือตกแต่งบ้าน สวน ฟาร์มของคุณ
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการก่อสร้าง ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง สามารถติดตามค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บบล็อก โดมิไซล์บ้าน บล็อกคลังความรู้เกี่ยวกับการออกแบบบ้าน ตกแต่งบ้าน ต่อเติมบ้าน รีโนเวทบ้าน ในส่วนของ
วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับบ้าน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : แผ่นพื้นสำเร็จรูปคืออะไร ? มีกี่แบบ ? พร้อมขั้นตอนติดตั้งใช้งาน