คนที่มีปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวขาดน้ำ ดูหมองคล้ำ ไม่สดใส บำรุงแล้วไม่เห็นผลหรือเห็นผลช้า อาจเป็นสัญญาณของการที่ร่างกายขาดไฮยาลูรอน นำไปสู่การเกิดปัญหาผิวและริ้วรอย ทำให้ในทางการแพทย์มีการสังเคราะห์ไฮยารูลอนขึ้นมาทดแทนในส่วนที่ร่างกายสูญเสียไป
ไฮยาลูรอน คืออะไร ? ใช้อย่างไร ? ช่วยอะไรได้บ้าง ? อันตรายไหม ? ต่างจากคอลลาเจนอย่างไร ? ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอน ดีไหม ? ฉีดจุดไหนได้บ้าง ? คลายทุกข้อสงสัยในบทความนี้
ไฮยาลูรอน หรือกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid : HA) คือสารที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติในชั้นหนังแท้ เป็นโมเลกุลของน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Polysaccharide แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของเราจะผลิตกรดไฮยาลูรอนได้น้อยลงและช้าลง ทำให้วงการแพทย์ได้คิดค้นไฮยาลูรอนสังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อทดแทนกรดไฮยาลูโรนิกที่ร่างกายสร้างขึ้น
เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตไฮยาลูรอนได้น้อยลง ทำให้ผิวแห้งและมีริ้วรอย
ไฮยาลูรอนมีคุณสมบัติเด่นในการอุ้มน้ำได้ดี ช่วยกักเก็บน้ำและความชุ่มชื้นไว้บนผิวหนัง ลดการสร้างอนุมูลอิสระ กรองรังสี UV รวมทั้งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินในชั้นหนังแท้
นอกจากนี้คุณสมบัติทางกายภาพของไฮยาลูรอน ยังมีขนาดโมเลกุลที่หลากหลาย ทำให้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ชั้นผิวได้อย่างล้ำลึกและรวดเร็ว
ไฮยาลูรอนช่วยกักเก็บน้ำและความชุ่มชื้นให้ผิวอิ่มฟู ดูเรียบเนียน
ปัจจุบัน ไฮยารูลอน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น
ใช้เป็นส่วนผสมของครีม เซรั่ม หรือเครื่องสำอาง
ใช้เป็นเจล สำหรับทารักษาแผลและลดอาการปวด
ใช้เป็นส่วนผสมของยาหยอดตา ช่วยลดอาการตาแห้ง
ใช้เป็นสารเติมเต็ม (Filler) ในการลดริ้วรอยและปรับรูปหน้า
ใช้เป็นวิตามินสำหรับรับประทาน
กรดไฮยารูลอน มีประโยชน์ในด้านการเสริมความงามและการป้องกันรักษาโรค ดังนี้
ไฮยาลูรอน นอกจากจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสกินแคร์และเครื่องสำอางเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวแล้ว ในวงการเสริมความงามเองก็มีการนำกรดไฮยาลูรอนมาฉีดเติมเต็มในชั้นผิวที่เริ่มเสื่อมสภาพและยุบตัวลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ช่วยจัดการปัญหาริ้วรอย ร่องลึกต่าง ๆ บนใบหน้า ให้ผิวกลับมาเรียบเนียน เต่งตึง
ไฮยาลูรอน ได้รับการอนุมัติจากทางองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ให้นำมาใช้ในการรักษาโรคบางประเภท เช่น
รักษาตาต้อกระจก
รักษาแผลในช่องปาก
รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
ภาวะอักเสบรอบข้อไหล่
ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก
ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดบริเวณข้อ
สมานแผลและบรรเทาอาการแผลไฟไหม้
บรรเทาอาการตาแห้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
ไฮยาลูรอน อันตรายไหม ?
กรดไฮยาลูรอน ไม่อันตรายหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งการทาบนผิวหนัง การรับประทาน หรือการฉีดเข้าร่างกาย ถือว่ามีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นสารที่สร้างเลียนแบบสารที่มีอยู่ในร่างกาย สามารถย่อยสลายได้หมด ไม่ทิ้งสารตกค้าง
การใช้สารไฮยาลูรอน มีข้อควรระวังสำหรับสตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร รวมถึงผู้ที่เคยเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็ง เพราะอาจทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น
การฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอน หรือ Hyaluronic Acid ไม่มีผลข้างเคียงหากฉีดด้วยฟิลเลอร์แท้กับหมอที่มีประสบการณ์ในคลินิกที่ได้มาตรฐาน หลังฉีดอาจมีอาการบวมและแดงจากรอยเข็มเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไปหลังฉีดฟิลเลอร์ สามารถหายได้เองใน 2-3 วัน
ทั้งไฮยาลูรอนและคอลลาเจน เป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในร่างกายและจะค่อย ๆ มีจำนวนลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ไฮยาลูรอน มีหน้าที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในชั้นผิวและน้ำไขข้อ ส่วนคอลลาเจน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้ผิว
ในการทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิว คอลลาเจน มีโครงสร้างขนาดโมเลกุลใหญ่ ไม่สามารถซึมลงสู่ผิวได้ จะอยู่เพียงแค่ผิวชั้นบนเท่านั้น ส่วนไฮยาลูรอนจะมีขนาดโมเลกุลเล็ก สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ลึกกว่า แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและเห็นผลชัดเจน
การฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอน หรือฟิลเลอร์ (Filler) เห็นผลดีในเรื่องของการเติมร่องริ้วรอยต่าง ๆ บนใบหน้าให้เรียบเนียน และปรับรูปหน้าให้ได้สัดส่วนสวยงาม สามารถฉีดได้หลายตำแหน่ง ดังนี้
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนใต้ตา
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนขมับ
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนหน้าผาก
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนร่องแก้ม
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนปาก
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนคาง
ฉีดสารเติมเต็มไฮยาลูรอนจมูก
ไฮยาลูรอน เป็นสารที่มีความสำคัญต่อผิว ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในทางการแพทย์และการเสริมความงามอย่างแพร่หลาย ไม่เป็นอันตราย ไม่มีผลข้างเคียง ส่วนไฮยาลูรอนรูปแบบของสารเติมเต็ม (Filler) จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลแพทย์ที่มีประสบการณ์เท่านั้น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที