kanoknipa

ผู้เขียน : kanoknipa

อัพเดท: 28 ก.พ. 2023 06.33 น. บทความนี้มีผู้ชม: 591 ครั้ง

แฉภัยสังคม เลห์เหลี่ยมกลโกงมิจฉาชีพที่พบบ่อยในปี 2023


แฉภัยสังคม เล่ห์เหลี่ยมกลโกงมิจฉาชีพหลอกลวงเงินออนไลน์ที่พบบ่อยปี 2023 และวิธีเอาตัวรอด

 
ในยุคปัจจุบันที่โลกแห่งเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ ได้มีส่วนเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการสื่อสาร ทั้งแบบเห็นหน้าและไม่เห็นหน้า การทำธุรกรรมทางการเงิน การเล่นโซเชียลมีเดียบนโลกออนไลน์ ต่างๆเหล่านี้ และถึงแม้ว่าสิ่งดีๆที่นางฟ้าบาบาร่า ได้กล่าวไปตอนต้นนี้
 
แต่ในทางกลับกัน ก็มีกลุ่มมิจฉาชีพที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้น มาใช้หลอกลวงฉ้อโกงทรัพย์ หลอกลวงโอนเงิน หรือขโมยข้อมูลส่วนตัว ผ่านโทรศัพท์ หรือโซเชียลมีเดีย ดังที่ได้ยิน ได้ฟัง ที่สื่อต่างๆได้นำเสนอ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมา แล้วหลอกลวงให้โอนเงิน หลอกลวงเพื่อให้โปรโมชั่นหรือส่วนลดในการซื้อสินค้า หลอกลวงให้จ่ายค่าปรับจราจร หรือข่มขู่ปิดเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นกลโกงที่มิจฉาชีพใช้เทคนิคทางจิตวิทยาในการโน้มน้าวเหยื่อ ในเรื่องของ การอ้างอำนาจ (authority) และการกดดันโดยการจำกัดเวลาหรือจำนวนรางวัลตอบแทน (scarcity) นั่นเอง
 
กลโกงมิจฉาชีพ
ในบทความนี้ นางฟ้าบาบาร่า จะมาแนะนำ 22 กลโกงของมิจฉาชีพ ที่ใช้ในการหลอกลวงโอนเงิน หรือขโมยข้อมูลส่วนตัว ผ่านโทรศัพท์ หรือโซเชียลมีเดีย และวิธีเอาตัวรอดจากกลโกงเหล่านั้น
 
แฉภัยสังคม เล่ห์เหลี่ยมกลโกงมิจฉาชีพหลอกลวงเงินออนไลน์ที่พบบ่อยปี 2023 และวิธีเอาตัวรอด
1. หลอกขายสินค้าออนไลน์
วิธีนี้มิจฉาชีพจะมาในรูปของการเปิดเพจ facebook แล้วลงรูปสินค้า พร้อมราคาที่เหยื่อเห็นแล้วต้องกดสั่งซื้อ แต่พอถึงวันนัดส่งสินค้ากลับไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าแต่ไม่ตรงตามโฆษณา (หรือที่เรียกกันว่า สินค้าไม่ตรงปก นั่นเอง)
 
2. หลอกส่งสินค้าแบบเก็บเงินปลายทาง
วิธีนี้มิจฉาชีพจะมาในรูปของการส่งสินค้ามาให้ตามที่อยู่พร้อมเก็บเงินปลายทาง ทั้งที่เจ้าตัวหรือเหยื่อไม่ได้สั่ง หากเราไม่ได้สั่งสามารถปฏิเสธไม่รับสินค้า
 
3.หลอกให้ทำงานหารายได้เสริมออนไลน์
วิธีนี้มิจฉาชีพจะโทรมาแนะนำ ชักชวนให้ทำงานหารายได้เสริมทางออนไลน์ ซึ่งไม่มีอยู่จริง โดยกล่าวอ้างแพลตฟอร์มหรือระบบโซเชี่ยลมีเดียที่น่าเชื่อถือ เช่น Facebook, IG, Youtube, TikTok, Lazada, Shopee เป็นต้น แล้วหลอกลวงให้เหยื่อ กด LIKE กด SHARE เพื่อเพิ่มยอดวิว แกล้งรับออเดอร์ ทำสต็อกสินค้า ไม่ได้ส่งสินค้าจริงๆ สุดท้ายก็หลอกเอาเงินเหยื่อ โดยที่อ้างว่าเป็นเงินค้ำประกัน
 
4 หลอกให้เงินกู้ออนไลน์
การหลอกให้เงินกู้ผ่านระบบออนไลน์ หรือที่เรียกทั่วไปว่า เงินกู้ทิพย์ ไม่ได้เงินจริง ซึ่งมิจฉาชีพจะหลอกล่อสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล โฆษณาชวนเชื่อการกู้เงินโดยไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน หรือสอบถามข้อมูลบุคคลใกล้ชิด แล้วโทรหลอกลวงตามทวงหนี้คนใกล้ชิดเหยื่อ เรียกดอกเบี้ยมหาโหด หลอกให้ชดใช้หนี้ หรือเรียกรับเงินค้ำประกัน เงินค่าธรรมเนียม เลขที่บัญชีธนาคารจากเหยื่อ
 
5. โทรข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว
วิธีนี้มิจฉาชีพหรือแก๊งค์ Call Center จะโทรศัพท์มาหาเหยื่อโดยตรง (ซึ่งได้เบอร์โทรมาจากไหน ไม่ทราบได้) แล้วแจ้งว่า เหยื่อมีการกระทำผิดกฎหมาย โดนอายัดบัญชีธนาคาร แจ้งระงับสัญญาณโทรศัพท์ หรือเกี่ยวข้องกับการส่งพัสดุผิดกฎหมาย  แล้วอ้างว่าเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข่มขู่เรื่องกฎหมายฟอกเงิน พอเหยื่อหลงกล ก็หลอกให้โอนเงิน เพื่อจะได้ไม่ต้องรับผิด (ทั้งที่จริงๆ ก็ไม่ได้กระทำผิดอะไร)
 
6. หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ
วิธีนี้มิจฉาชีพจะอ้างตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน แล้วชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจ(ที่ไม่มีอยู่จริง) ที่ให้ผลตอบแทนสูง สร้างภาพให้มีความน่าเชื่อถือ เช่น ลงทุนในธุรกิจพลังงาน ทองคำ น้ำมัน เงินดิจิทัล ตลาดหุ้น Forex ตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ เป็นต้น
 
7. หลอกให้รักแล้วลงทุน
วิธีนี้มิจฉาชีพจะสร้างหรือปลอมแปลงโปรไฟล์ในโซเชี่ยลให้เป็นบุคคลหน้าตาดี มีฐานะ แล้วเข้ามาตีสนิทจากแอพหาคู่ หรือให้เปิดบัญชีออนไลน์ แล้วสอนให้ลงทุน จากนั้นก็หลอกให้ลงทุนในแอพ หรือโปรแกรมลงทุนปลอม เช่น แอพเทรดหุ้นปลอม แอพเงินดิจิทัลปลอม สกุลเงินปลอม ทองคำทิพย์ เป็นต้น
 
8. ปลอมหรือแฮกบัญชี LINE Facebook หลอกยืมเงิน
วิธีนี้มิจฉาชีพจะปลอมหรือแฮกบัญชีไลน์ เฟสบุ๊ค แล้วส่งข้อความไปหลอกยืมเงินจากเพื่อนเจ้าของบัญชีไลน์ เฟสบุ๊คตัวจริงที่หลงเชื่อ
 
9. แชร์ลูกโซ่
คล้ายๆกับกลโกงในข้อที่ 6 วิธีนี้เป็นการหลอกให้ร่วมลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีอยู่จริง เน้นให้เสาะหาเครือข่าย สร้างรายได้จากการเพิ่มสมาชิก เก็บค่าธรรมเนียม ค่ารักษาสถานะภาพการเป็นสมาชิก เป็นต้น
 
10. หลอกว่าเหยื่อได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ
มิฉาชีพจะโทรมาแจ้งว่า ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ เช่น แรงงานและสวัสดิการสังคม, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นต้น แล้วหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกให้โอนเงินค่าธรรมเนียม
 
11. หลอกให้โหลดโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล (เพื่อขโมยข้อมูล)
กลโกงนี้มิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ แล้วหลอกให้ใหลดโปรแกรมควมคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล เพื่อเข้าถึงข้อมูส่วนตัว แล้วถอนเงินจากบัญชีของเหยื่อ โดยเฉพาะคนที่บันทึกรหัสผ่านเข้าระบบธนาคารไว้ในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์
 
12. ส่งคิวอาร์โค้ดให้สแกนหลอกให้โอนเงิน
กลโกงนี้มิจฉาชีพจะอ้างว่าจะคืนค่าสินค้าให้ โดยหลอกให้เหยื่อสแกนคิวอาร์โค้ด โดยเป็นคิวอาร์โค้ดที่ใช้ในการโอนเงินให้แก่มิจฉาชีพ หรือบางกรณีจะให้กรอกข้อมูลบัญชีธนาคาร และรหัสผ่านเพื่อขโมยเงินจากบัญชีของเหยื่อ
 
13. ฉ้อโกงรูปแบบอื่น
กลโกงนี้มิจฉชีพจะหลอกลวงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ให้เหยื่อโอนเงินให้ เช่น หลอกว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี ได้สิทธิ์พิเศษต่าง ๆ เป็นต้น แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมก่อนล่วงหน้าให้มิจฉาชีพ
 
14. แอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน มีเส้นสาย
กลโกงนี้มิจฉาชีพจะอ้างตนว่ามาจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เช่น ธนาคาร ไปรษณีย์ กรมศุลกากร เป็นต้น จากนั้นจะส่งลิงค์ทางอีเมล์ หรือ SMS หลอกลวง (ที่เรียกว่า Phishing) เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล วันเดือนปีเกิด ขโมยเลขที่บัญชีธนาคาร รหัสผ่านธนาคาร หรือหลอกให้โอนเงินค่านายหน้าฝากเข้าทำงาน เป็นต้น
 
15. โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ
วิธีนี้มิจฉาชีพจะหลอกลวงหรือโฆษณาเชิญชวนให้ไปทำงานต่างประเทศ จากนั้นก็จะบังคับกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ทำงานผิดกฎหมาย ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ถูกทำร้ายร่างกาย
 
16. หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย ลามก อนาจาร
วิธีนี้มิจฉาชีพจะทำเป็นมาตีสนิทหรือขอเป็นเพื่อนทางแพลตฟอร์มโซเชี่ยล หรือแอพหาคู่ โดยปลอมแปลงโปรไฟล์ให้ลวงกล จากนั้นจะหลอกลวงให้ถ่ายภาพ ถ่ายคลิปโป๊เปลือย ลามก อนาจาร เพื่อใช้แบ็คเมล์หรือข่มขู่เรียกเงินเหยื่อ
 
17. หลอกให้ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า)
วิธีนี้มิจฉาชีพจะให้เงินเหยื่อเพื่อยินยอมให้เปิดบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ให้ แล้วใช้บัญชีนั้น ในการไปกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ฟอกเงิน
 
18. ข่าวปลอม (Fake News)
วิธีนี้มิจฉาชีพจะให้แชร์ข้อมูล หรือปล่อยข่าวจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อความลูกโซ่ที่ส่งต่อกันทางไลน์ ทางโซเชี่ยลมีเดีย เป็นต้น
 
19. เรียกค่าไถ่โดยใช้ Ransomware
วิธีนี้มิจฉาชีพจะหลอกให้โหลดหรือตั้งตั้งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) แล้วทำการล็อคใส่รหัสสำหรับเปิดไฟล์หรือโฟลเดอร์ในคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค เพื่อใช้เรียกเงินค่าไถ่จากเหยื่อ
 
20. หลอกลวงให้โหลดมัลแวร์
วิธีนี้มิจฉาชีพจะหลอกให้โหลดและติดตั้งมัลแวร์ที่ฝังตัวมากับเว็บไซต์ หรือโปรแกรม หรือไฟล์ จากนั้นจะล็อคเครื่อง บันทึกหน้าจอ เข้าถึงข้อมูลในเครื่อง แล้วโอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร
 
21. หลอกลวงให้บริจาคเงิน
วิธีนี้มิจฉาชีพจะหลอกว่ายากจน ไม่มีเงินส่งลูกเรียน ใช้ความน่าสงสารผ่านทางสื่อ หรือโซเชี่ยลมีเดีย ให้เหยื่อหลงเชื่อแล้วโอนเงินหรือบริจาคเงินไปให้บัญชีของมิจฉาชีพ
 
22. หลอกให้ประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ต
วิธีนี้คล้ายๆก็วิธีที่ 1 กล่าวคือ หลอกให้เหยื่อประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ต แล้วจ่ายเงิน พอถึงกำนหนดวันนัดรับสินค้ากลับไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ประมูลไว้
 
 
วิธีเอาตัวรอดจากกลโกงมิจฉาชีพ
1. ต้องมีสติ รู้เท่าทันกลหลอกลวงทางจิตวิทยาของมิจฉาชีพ หรือข่าวปลอมที่แชร์กันทางไลน์หรือในโซเชี่ยล เช่น แอพเป๋าตัง กู้เงินได้ 1 หมื่นบาท เป็นต้น
2. อย่าโลภ ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี โดยไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยน
3. เปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้เข้าแอพธนาคาร แอพโซเชี่ยล ให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น หากใช้เบอร์โทร, วันเกิด, ทะเบียนรถ, ชื่อคนรัก, สัตว์เลี้ยง หรือเลขเรียง ให้รีบเปลี่ยนทันที
4. รีบวางสายก่อนที่จะสายเกินไป หากมีเบอร์โทรที่ไม่รู้จักโทรมา แล้วอ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานต่างๆ แล้วบอกว่าเราเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฏหมาย ให้รีบวางสายทันที
5. บัตรเรา บัญชีเรา อย่าเอาให้ใคร เด็ดขาด หากเป็นเงินจากธุรกิจถูกฏหมาย เขาก็ไม่มาใช้บัญชีเราหรอก นอกจากเงินผิดกฏหมาย ฉะนั้น บัตรเรา บัญชีเรา อย่าเอาให้ใคร เด็ดขาด
6. อย่าเพิ่งโอน หากมีตำรวจปลอมโทรมาทวงค่าปรับ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปลอมโทรมาให้โอนค่าธรรมเนียม
 
บทความจาก รู้เท่าทัน 22 กลโกงมิจฉาชีพ หลอกลวงโอนเงิน หรือขโมยข้อมูลส่วนตัว และวิธีเอาตัวรอด

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที