ประวัติหมากรุกไทย กฏ กติกา และการทิศทางเดินหมาก (ครบจบในโพสต์เดียว)
ประวัติหมากรุกไทย
คำถามแรกๆ ของผู้เล่นที่สนใจเกมหมากรุกไทยนั้น จะเริ่มด้วย หมากรุกไทยคืออะไร คำตอบคือ หมากรุกไทยเป็นเกมหมากกระดานที่มีต้นกำเนิดมาจากเกมจตุรงค์ ซึ่งเป็นเกมกระดานหมากรุกของอินเดียในสมัยโบราณ ตามตำนานเล่าว่า การทำศึกสงคราม รบพุ่ง เพื่อแย่งชิงนางสีดา ระหว่างฝ่ายพระราม กับทศกัณฐ์ ทำให้ทศกัณฐ์เกิดความเครียด ความกังวลใจ ฝ่ายนางมณโฑ พระมเหสีของทศกัณฐ์เห็นดังนั้น จึงคิดเกมนี้ขึ้นมา เพื่อให้พระสวามีตนเองได้คลายเครียด คลายกังวล ซึ่งแรกเริ่มใช้คนเล่น 4 คน จึงเป็นที่มาของเกมชื่อว่า จตุรังกา(จตุรงค์) ต่อมาในภายหลังได้ปรับเปลี่ยนให้สามารถเล่นได้เพียง 2 คนเท่านั้น
หมากรุกไทย มีรูปแบบและลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับหมากรุกสากล(หมากรุกฝรั่ง) ซึ่งเกมหมากรุกไทยนี้ เรียกได้ว่าเป็นเกมเล่นเพื่อแก้เบื่อ ฆ่าเวลา และฝึกการวางแผนกลยุทธ์อีกด้วย ซึ่งได้รับความนิยมในการเล่นในหลายๆประเทศ
หมากรุกไทย ประกอบไปด้วยตัวหมากอะไรบ้าง
ในเกมหมากรุกไทย 1 กระดาน ประกอบได้ด้วย
-
กระดาษตีเส้นเป็นตาราง 8×8 ซึ่งเท่ากับ 64 ช่อง
-
มีตัวหมากเบี้ย จำนวน 8 ตัว
-
มีตัวหมากเรือ ม้า โคน จำนวนอย่างละ 2 ตัว
-
มีตัวหมากขุน จำนวน 1 ตัว
-
มีตัวหมากเม็ด จำนวน 1 ตัว
กฏ กติกาการเล่นหมากรุกไทย
การเล่นเกมหมากรุกไทย มีเป้าหมายการแพ้หรือชนะอยู่ที่การ รุกฆาต ขุนของอีกฝ่าย นั่นคือ การทำให้ตัวขุน ไม่สามารถเดินไปทางไหนได้ กินขุนก็ไม่ได้ด้วย ส่วนการเสมอ สามารถทำได้โดยทำยังไงก็ได้ไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามเดินหมากตัวใดๆได้ ซึ่งมีกฏ กติการเล่นเล่นหมากรุกไทย ดังนี้
-
ผู้เล่นสามารถผลัดกันเดินหมากได้ฝ่ายละ 1 ตัว
-
หากเดินหมากไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากนั้นจะโดนกิน เอาออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนไม่สามารถถูกกินได้
-
หากเดินหมากไปในตำแหน่งที่เดินครั้งต่อไป สามารถกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะต้องพูดว่า”รุก” โดยฝ่ายตรงข้ามก็ต้องเตรียมป้องกันหรือหาทางเดินหนี เพื่อไม่ให้ขุนอยู่ในตำแหน่งที่จะถูกกินได้
-
หากขุนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดนรุก และเดินหนีหรือป้องกันการรุกของอีกฝ่ายไม่ได้ จะถือว่าถูกรุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
-
หากขุนไม่โดนรุก และในการเดินหมากครั้งต่อไป ไม่มีหมากตัวไหนเดินได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน
ซึ่งหมากแต่ละตัว จะมีรูปแบบการเดิน ได้หลากหลายรูปแบบ ตามแต่คุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของหมากนั้นๆ ซึ่งหมากแต่ละตัวก็จะมีวิธีการเดินที่แตกต่างกัน ดังนี้
-
ตัวหมากขุน สามารถเดินได้รอบตัว 8 ทิศทาง โดยเดินได้ทีละ 1 ช่อง รวมวิธีเดินหมากขุนได้ทั้งหมด 8 วิธี
-
ตัวหมากโคน สามารถเดินได้ 2 รูปแบบ คือ เดินไปข้างหน้า 1 ช่อง และเดินทแยงได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังทีละ 1 ช่อง รวมวิธีเดินหมากโคนได้ทั้งหมด 5 วิธี
-
ตัวหมากเม็ด สามารถเดินได้ทีละ 1 ช่องในแนวทแยงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมวิธีเดินหมากเม็ดได้ 4 วิธี
-
ตัวหมากม้า สามารถเดินเป็นรูปตัว L ได้รอบตัว ข้ามหมากตัวอื่นได้ รวมวิธีเดินหมากม้าได้ 8 วิธี
-
ตัวหมากเรือ สามารถเดินได้ 4 ทิศในแนวตั้งหรือแนวนอน
-
ตัวหมากเบี้ย สามารถเดินได้ทีละ 1 ช่อง ไปข้างหน้า หากเดินไปได้สุดกระดาน จะต้องหงายและมีสามารถเดินได้เหมือนตัวหมากเม็ด
กระบวนและทิศทางเดินหมากรุกไทย
กระบวนและทิสทางเดินหมากรุกไทย ก่อนจะเริ่มต้นเล่นเกมหมากรุกไทย ผู้เล่นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการเล่นหมากรุกไทย ได้แก่
-
กระดานหมากรุกไทย เป็นกระดานรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมีตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 8 ช่อง มีตาบนกระดานหมากรุกไทย 64 ตา
-
ตัวหมากรุกไทย ได้แก่ ขุน 1 เม็ด 1 โคน 2 ม้า 2 เรือ 2 เบี้ย 8 รวมมีฝ่ายละ 16 ตัว รวมตัวหมากทั้งหมด 32 ตัว และตัวหมากแต่ละฝ่ายจะมีสีที่แตกต่างกันไป เช่น แดงกับดำ ขาวกับดำ เป็นต้น
ตัวหมากและตำแหน่งการวางบนกระดาน
ในส่วนของตัวหมากและตำแหน่งการวางบนกระดานแต่ละตัวนั้น มีคำอธิบายและสามารถดูรูปประกอบด้านล่าง ดังนี้
-
วางเรือทั้ง 2 ชิดขอบด้านริมสุดทั้งซ้ายและขวาของกระดาน
-
วางม้าทั้ง 2 ชิดกับเรือทั้งซ้ายและขวา ถัดเข้ามาจากตำแหน่งการวางเรือ
-
วางโคนทั้ง ๒ เรียงทั้งซ้ายและขวา ถัดม้าตำแหน่งวางม้าเข้ามา
-
วางขุน กับ เม็ดใน 2 ตำแหน่งที่ยังว่างตรงกลาง โดยมีหลักจำง่ายๆ คือ ขุนจะต้องวางทางซ้ายของเม็ด
-
ส่วนเบี้ย ให้วางเรียงตามลำดับในช่องของแถวที่ 3 นับจากขอบกระดานของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย และให้เว้นช่องว่างในแถวที่ 2 ระหว่างตัวหมาก จากเรือทางขวาไปจรดเรือทางซ้าย 1 ช่อง
ตำแหน่งการวางหมากก่อนเริ่มเล่นหมากรุกไทย
ตำแหน่งการวางหมากก่อนเริ่มเล่นหมากรุกไทย และทิศทางเดินหมากรุกไทย ของหมากแต่ละตัว อธิบายได้ดังรูปต่อไปนี้
ขุน
ทิศทางตากินและตาเดินของขุนทั้งสองฝ่าย
เม็ดและเบี้ยหงาย
ทิศทางตากินและตาเดินของเม็ด-เบี้ยหงายทั้งสองฝ่าย
โคน
ทิศทางตากินและตาเดินของโคนทั้งสองฝ่าย
ม้า
ทิศทางตากินและตาเดินของม้าทั้งสองฝ่าย
เรือ
ทิศทางตากินและตาเดินของเรือทั้งสองฝ่าย
เบี้ย ในที่นี้หมายถึง เบี้ยคว่ำ
ทิศทางตากินและตาเดินของเบี้ยคว่ำทั้งสองฝ่าย
เรียบเรียงข้อมูลจากจาก makruktowin.com
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : ประวัติหมากรุกไทย กฏ กติกา และการทิศทางเดินหมาก (ครบจบในโพสต์เดียว)