สำหรับคนที่กำลังต้องการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือ (Surface) ไม่ว่าจะเพราะอยากสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บของญี่ปุ่นมาใช้เอง หรือไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วช็อปเพลิน น้ำหนักกระเป๋าเกินขึ้นเครื่องบินแล้วเสียค่าน้ำหนักไม่คุ้ม จนคิดว่าขนของกลับมาทางเรือจะคุ้มกว่า แต่จะเลือกบริษัทไหนที่จะช่วยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือมาให้เรา วันนี้เรามีรายละเอียดและวิธีเลือกบริษัทมาฝากกัน
มารู้จักการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือกันสักนิด
หากเทียบกับยานพาหนะอื่น ๆ ในการขนส่งโลจิสติกส์ การขนส่งทางทะเลเป็นหนึ่งในวิธีการขนส่งสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ แต่ใช้ระยะเวลาขนส่งนานกว่าวิธีอื่น โดยอยู่ที่ประมาณ 1-2 เดือน จึงเหมาะกับลูกค้าที่ต้องการนำเข้าสินค้าจำนวนมากและมีน้ำหนักมาก
ปัจจุบันการขนส่งสินค้าจากญี่ปุ่นไปยังประเทศและทวีปต่าง ๆ มีการแบ่งโซนเป็น 5 โซน เพื่อให้ง่ายต่อการคิดเรตราคาบริการขนส่งด้วย ได้แก่
โซนที่ 1 จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน
โซนที่ 2 เอเชีย (นอกเหนือจากประเทศที่ระบุในโซนที่ 1) ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในโซนนี้ด้วย
โซนที่ 3 โอเชียเนีย ทวีปอเมริกาเหนือ (ยกเว้นสหรัฐอเมริกา) ตะวันออกกลาง ยุโรป
โซนที่ 4 สหรัฐอเมริกา (รวมเกาะกวม และพื้นที่อื่นในอินแดนของสหรัฐอเมริกา)
โซนที่ 5 อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา
โดยเรตราคาค่าขนส่งไปรษณีย์ทางเรือ (Surface) จากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย ในปี 2023 ที่กำหนดโดย Japan Post มีเรตราคาแยกเป็นรายกิโลกรัมอย่างละเอียดตั้งแต่ 1-30 กิโลกรัม อยู่ที่ 2,100-14,600 เยน หากแปลงเป็นเงินไทย (1 เยน = 0.26 บาท) จะตกอยู่ที่ราว 546-3,796 บาท ดังนั้น หากใครอยากส่งไปรษณีย์ด้วยตัวเองต้องเตรียมงบประมาณบวกเข้าไปด้วย และยังต้องเคลียร์เรื่องภาษีให้เรียบร้อยด้วยตัวเอง
เช็กลิสต์เลือกบริษัทให้บริการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือเจ้าไหนดี
ปัจจุบันมีหลายบริษัทให้บริการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือมาให้เราเลือกสรรกัน โดยที่เราไม่ต้องยุ่งยากเรื่องเอกสารให้เวียนหัว แต่จะใช้บริการจากเจ้าไหนดี วันนี้มีเช็กลิสต์มาประกอบการพิจารณา ดังนี้
มีความชำนาญด้านการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สายเดินเรือ กรมศุลกากร โดยสามารถให้คำแนะนำและมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ในการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือ และดำเนินการตามกฏหมายศุลกากรและกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ทั้งพิธีการศุลกากรและเอกสารประกอบในการส่งมอบสินค้า
มีความสามารถในการบริหารจัดการ เช่น การจองระวางเรือได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง สามารถบริหารพื้นที่ในการบรรจุสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์ (Container) ที่เหมาะสมกับลักษณะและประเภทของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นแบบ FCL (Full container load) หรือ LCL (Less than container load) เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพสูงสุด
มีฝ่ายบริการลูกค้าที่ไว้ใจได้ สามารถให้คำปรึกษาการให้บริการแก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ตอบคำถามได้อย่างชัดเจนจนแล้วใจ เช่น การรับสินค้า การรับเคลียร์ภาษีให้ การติดตามสถานะของสินค้าจนถึงจุดหมายได้ พร้อมเสนอเรตราคาที่เหมาะสมแก่ลูกค้า มีโปรโมชันให้เลือกหลายแบบเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุด และยินดีให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา สามารถติดต่อและแจ้งเรื่องร้องเรียนได้หลายช่องทาง
เพียงเท่านี้ก็สามารถเลือกบริษัทที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทางเรือได้อย่างสบายใจ และรอวันรับสินค้าอยู่ที่บ้านได้เลย
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที