WaseTeaf

ผู้เขียน : WaseTeaf

อัพเดท: 10 มี.ค. 2023 15.51 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2439 ครั้ง

บทตวามสาระน่ารู้ เกี่ยวกับพลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน Green Energy ,New Energy เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutral และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ NetZero Emission ตามเป้าหมายสากล


ความแตกต่างระหว่าง Carbon Neutral และ Net Zero

ความแตกต่างระหว่าง Carbon Neutral และ Net Zero

คำว่า carbon-neutral กับ net-zero มีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา บริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็กรวมถึงองค์กรระดับโลกได้รวมเอาคำศัพท์เหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อจุดประสงค์ในการสื่อสารแบรนด์เกี่ยวกับพัฒนาธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยคำและบริบทที่หลากหลายอาจทำให้ผู้รับสารเข้าใจคลาดเคลื่อน บทความนี้เราจะมาเจาะลึกความหมายของแต่ละคำ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจมีความกระตือรือร้นมากขึ้น

Carbon-neutral is the new gold

เรียกได้ว่าเสมือนเป็นยุคทองที่หลากหลายบริษัทหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ให้คำมั่นที่จะเป็น carbon-neutral, net-zero หรือ climate positive ยกตัวอย่างเช่นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Google ที่เป็นบริษัทแรกที่เน้นเรื่องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ

อ่านต่อบทความ
https://gmssolar.com/carbon-neutral-different-net-zero

ความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) คืออะไร

ภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามาก การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) มีเทน(CH4) ไนตรัสออกไซด์(N2O) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFCs) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน(HFCs) ก๊าซไนโตรเจนไตร-ฟลูออไรด์(NF3) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์(SF6) ดูดความร้อนเอาไว้ในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีการกักเก็บรังสีความร้อนไว้มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น

โดยเมื่อวันที่ 6–18 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมามีการประชุมสำคัญที่ติดตามความเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ‘COP27’ หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดขึ้น ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์

อ่านต่อบทความ

https://gmssolar.com/carbon-neutrality-is

ลดก๊าซเรือนกระจกด้วยภาษีคาร์บอน Carbon Tax

ภายใต้ข้อตกลงนานาชาติเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน(Carbon Tax) ซึ่งมีกว่า 36 ประเทศทั่วโลกร่วมกันควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 3 กิกะตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtC02e) หรือประมาณ 3,000 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtC02e) ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้ประมาณ 5% ต่อปี

เกณฑ์ในการเก็บภาษีคาร์บอนตามหลักสากล

กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” หรือ “Polluter pays principle” โดยรัฐบาลสามารถกำหนดอัตราภาษีต่อต้นคาร์บอน อยู่ระหว่าง $1-$137 ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์

อ่านต่อบทความ
https://gmssolar.com/reduce-greenhouse-gas-carbon-tax

ภาวะโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจกคืออะไร มีกี่ชนิด ไขสาเหตุและร่วมหาทางแก้ไข

การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลก และน้ำในมหาสมุทร เนื่องมาจากมลภาวะในอากาศหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดูดความร้อนเอาไว้ไม่ให้สะท้อนออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ

ซึ่งก๊าซเรือนกระจกมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) มีเทน(CH4) ไนตรัสออกไซด์(N2O) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFCs) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน(HFCs) ก๊าซไนโตรเจนไตร-ฟลูออไรด์(NF3) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์(SF6) เป็นต้น เมื่อก๊าซเหล่านี้ ลอยขึ้นสู่บรรยากาศจะดูดซับความร้อนไว้และถ้ามีปริมาณที่เหมาะสมจะรักษาอุณหภูมิโลกให้พอเหมาะอุ่นสบาย

อ่านต่อบทความ
https://gmssolar.com/global-warming-is

 
 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที