ถังออกซิเจน (Oxygen Tank) คือ ถังเหล็กที่มีการบรรจุก๊าซออกซิเจนลงไป ส่วนใหญ่ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โดยในถังออกซิเจนจะมีก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นอยู่ถึง 99 % ซึ่งความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนในถังนี้ก็จะเป็นตัวช่วยในการรักษาผู้ป่วย ทำให้ออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยอยู่ในระดับที่เหมาะสม นับว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ถังออกซิเจน กับ เครื่องผลิตออกซิเจน แม้จะให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยได้เหมือนกัน แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็มีความแตกต่างกันมากพอสมควร โดยถังออกซิเจนจะใช้สำหรับบรรจุก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ ที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไปเท่านั้น ไม่สามารถผลิตออกซิเจนได้เอง แต่สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า แต่สำหรับเครื่องผลิตออกซิเจน จะมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถผลิตออกซิเจนได้เอง ไม่ต้องเติมออกซิเจนใหม่ แต่เครื่องผลิตออกซิเจนจะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ทำให้ต้องเสียบปลั๊กไฟเอาไว้ตลอดเวลา
1. มีค่าความบริสุทธิ์ของออกซิเจนสูง ความเข้มข้นอยู่ที่ประมาณ 99%
2. ใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่เปลืองค่าไฟ
3. สามารถใช้งานขณะเดินทางหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
4. สามารถเติมก๊าซออกซิเจนได้ ไม่ต้องซื้อถังใหม่
5. สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย ในอัตราที่มีความสม่ำเสมอ
ในปัจจุบันถังออกซิเจนมีอยู่หลักๆ 4 ขนาด คือ ขนาด 0.5 คิว, 1 คิว, 1.5 คิว, 2 คิว, และขนาด 6 คิว โดยขนาดของถังออกซิเจนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของระยะเวลาการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย ถ้าถังออกซิเจนมีขนาดเล็ก ระยะเวลาในการให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยก็จะสั้น แต่ถ้าเป็นถังออกซิเจนขนาดใหญ่ ระยะเวลาในการให้ออกซิเจนก็จะนานขึ้นนั่นเอง
1. นำเกจ์ออกซิเจนต่อเข้ากับตัวถังออกซิเจน หมุนวงแหวนเพื่อยึดติดกับตัวถังให้แน่น จากนั้นใช้ประแจหมุนวงแหวนซ้ำอีกรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ออกซิเจนรั่วออกมาระหว่างรอยต่อ
2. เติมน้ำในกระบอกให้ความชื้นประมาณ 3 ส่วน 4 ของกระบอก จากนั้นเชื่อมต่อส่วนบนของกระบอกน้ำให้ความชื้นเข้ากับเกจ์ออกซิเจน แล้วหมุนเกลียวให้แน่น
3. ทำการเปิดวาล์วที่ตัวถังออกซิเจน แล้วดูที่หน้าปัดแสดงแรงดันออกซิเจน ซึ่งตัวหน้าปัด จะทำให้รู้ว่าแรงดันในถังเพิ่มขึ้นมากขนาดไหน
4. เปิดออกซิเจนที่เกจ์ออกซิเจน เพื่อให้มีอัตราการไหลตามที่ต้องการ โดยสามารถปรับอัตราการไหลของออกซิเจนได้ตั้งแต่ 1-5 โดยระดับ 1 คืออัตราการไหลของออกซิเจน 1 ลิตรต่อ 1 นาที ส่วนระดับ 5 คืออัตราการไหล 5 ลิตรต่อ 1 นาที
5. ต่อสายออกซิเจนเข้ากับถังออกซิเจน ถ้าหากผู้ป่วยต้องใช้หน้ากากออกซิเจน ให้เชื่อมต่อสายเข้ากับหน้ากากก่อน จากนั้นจึงค่อยต่อสายออกซิเจนเข้ากับตัวถัง
6. ใส่สายออกซิเจนหรือหน้ากากออกซิเจนให้กับผู้ป่วย
- ระวังถังออกซิเจนได้รับการกระแทก เพราะถ้าหากถังออกซิเจนได้รับแรงกระแทกที่รุนแรง อาจทำให้ถังออกซิเจนเกิดการระเบิดได้
- ระวังสิ่งที่ทำให้เกิดความร้อนหรือเปลวไฟบริเวณใกล้กับถังออกซิเจน เช่น เปลวไฟจากการสูบบุหรี่ ความร้อนจากไดร์เป่าผม เครื่องรีดผม แผ่นทำความร้อนหรือมีดโกนไฟฟ้า
- ระวังอย่าใช้สเปรย์ฉีด เช่น สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์ฉีดผม ใกล้กับชุดจ่ายออกซิเจน
- ระวังอย่าใช้เจลแอลกอฮอล์ก่อนหยิบจับอุปกรณ์ให้ออกซิเจน ถ้าจะให้ดีควรปล่อยให้มือแห้งก่อนแล้วค่อยหยิบจับ
สำหรับ ถังออกซิเจน นั้นถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แม้จะมีความแตกต่างกับเครื่องผลิตออกซิเจนพอสมควร แต่ถังออกซิเจนก็เป็นอุปกรณ์ที่สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยได้ โดยสามารถให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นถึง 99% นอกจากนี้ถังออกซิเจนยังมีข้อดี คือ สามารถเติมก๊าซออกซิเจนได้ โดยไม่ต้องซื้อใหม่และยังสามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://rakmor.com/product-category/oxygen-tank-and-accessories/oxygen-tank/
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที