อครเดช

ผู้เขียน : อครเดช

อัพเดท: 21 พ.ย. 2022 13.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 625 ครั้ง

โรคซึมเศร้า มาจากภาวะการณ์ผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ป่วย ทำให้มีผลกระทบทางด้านจิตใจ มีความรู้สึกเฉยชา ไม่มีความสนใจสิ่งรอบข้าง มีความรู้สึกอ้างว้าง หงุดหงิด คิดว่าคนอื่นไม่สนใจตัวเอง


โรคซึมเศร้า โรคที่หลายคนไม่ควรมองข้าม

 

โรคซึมเศร้า มาจากภาวะการณ์ผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ป่วย ทำให้มีผลกระทบทางด้านจิตใจ มีความรู้สึกเฉยชา ไม่มีความสนใจสิ่งรอบข้าง มีความรู้สึกอ้างว้าง หงุดหงิด คิดว่าคนอื่นไม่สนใจตัวเอง เห็นว่าชีวิตของตนเองนั้นไร้ค่า ไม่สนใจในกิจกรรมในการดำเนินชีวิตปกติประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก หรืองานประจำ กิจกรรมด้านนันทนาการหรือกีฬา แม้กระทั่งกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์  ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไป  มีอารมณ์ที่เศร้าหมองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อารมณ์เหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นก็ไม่สามารถจะขจัดออกไปได้โดยง่าย ผู้ที่มีอาการของอารมณ์ที่ผิดจากปกติควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจใช้เวลาในการรักษาที่ยาวนาน  ต้องมีการทานยาหรือรักษาทางจิตบำบัด หรือทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป ก็จะทำให้ภาวะทางอารมณ์กลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม    

อาการของโรคซึมเศร้า

อาการของโรคซึมเศร้าโดยทั่วไป อาการซึมเศร้าจะค่อย ๆ สะสม ถ้ามีอาการเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และไม่ได้รับการรักษาหรือบำบัด ก็จะมีอาการกำเริบขึ้นอีก อาการที่ให้สังเกตุ คือ 

1.จะมีอาการว่ารู้สึกเศร้าหมองมากขึ้น รู้สึกอ้างว้างว่างเปล่า มองเห็นชีวิตตนเองนั้นไร้ค่า อยากร้องไห้ หมดกะจิตกะใจ ทำกิจกรรม 

2.มีความสิ้นหวังหดหู่ใจ ท้อแท้ หงุดหงิดรำคาญแม้เรื่องเล็กน้อย 

3.นอนไม่หลับ ย้ำคิดย้ำทำ เฉยชาไม่อยากทำอะไรแม้แต่เรื่อง เล็ก ๆ น้อย ๆ มีความวิตกกังวล  

4.ไม่อยากรับประทานอาหาร รับประทานได้น้อยลง ความอยากลดลง

5.มีอาการกระสับกระส่าย มีความคิดที่ช้าลง ไม่อยากทำอะไร ขาดสมาธิ คิดถึงแต่เรื่องความผิดพลาดที่ผ่านมา 

6.อาจจะมีความคิดถึงเรื่องของความตาย อาจมีความพยายามที่จะทำร้ายตัวเองหรือคิดฆ่าตัวตาย

7.มีอาการเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่นที่อาการ ปวดหลัง ปวดหัว เมื่อยตามตัว รู้สึกเศร้าหมอง ดูแล้วคิดว่าตัวเองนั้นไม่มีความสุข 

8.ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการไปโรงเรียน หรือการทำงาน จนถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานพบปะสังสรรค์หรือการออกสังคมทั่วไป เก็บตัวอยู่เงียบ ๆ คนเดียว มองคนอื่นอย่างหวาดระแวงไปหมด จนขาดความไว้วางใจ          

โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร

การที่สมองเกิดการหลั่งของสารผิดปกติ อันได้แก่ สารโดปามีน (dopamine) สารเซโรโทนิน (Serotonin)  และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) จึงทำให้มีอาการ ซึ่งบางครั้งไม่ได้เกิดจากสภาวะทางด้านจิตใจเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากการหลั่งสารที่ผิดปกติของร่างกายได้ โดยทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม ทางด้านความคิดและอารมณ์ จึงทำให้เกิดอาการซึมเศร้า 

หากเกิดสถานการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในชีวิต เช่น โดนข่มขืน หรือถูกทำร้าย การตกงาน หรือมีความผิดหวังจากผลการเรียนหรือความรัก ความผิดหวังในครอบครัว หรือในสังคมและสิ่งแวดล้อมมีอาการเศร้า ทำให้ไม่มีความสุข ผิดหวัง มีอาการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า มีอาการกระสับกระส่ายผิดปกติ ไม่ขาดสมาธิ มีอาการเบื่อไม่อยากทำอะไร นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ เหนื่อยง่าย หมดเรี่ยวแรง หงุดหงิดง่าย ไม่อยากรับประทานอาหาร หรือรับประทานมากจนเกินไป จนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงจนผิดปกติ 

บางคนอาจจะมีความรู้สึกเกลียดตัวเอง  คิดในแง่ลบเสมอ  มองเห็นว่าตัวเองนั้นไม่มีค่า จนถึงเข้าขั้นทำร้ายตัวเอง หรือพยายามฆ่าตัวตายโดยภาวการณ์เช่นนี้ อาจทำให้เกิดความเศร้า ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือเยียวยาตามระบบขั้นตอนของการดูแล ก็จะทำให้กลายเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้

ภาวะโรคซึมเศร้า

ภาวะที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ไม่ใช่จะมาจากทางด้านภาวะของจิตใจเพียงด้านเดียวอย่างที่เข้าใจ ความจริงแล้วทางด้านสุขภาพของร่างกายก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคสมองเสื่อม โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคมะเร็งและโรคสมองเสื่อม ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ 

ผู้ป่วยที่มีรคประจำตัวจะนำมาเป็นข้อคิดวิตกและมีความกังวลในการดูแลรักษาตนเอง ซึ่งโรคซึมเศร้า พอจะแยกประเภทได้หรือกลุ่มใหญ่ได้ ดังนี้ โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคซึมเศร้าอย่างเดียว  และโรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่มักจะเรียกกันทั่วไปว่า ไบโพลาร์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการของอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไปจนเกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น 

สำหรับท่านใดที่มีอาการรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า รู้สึกผิดและโทษตนเองอยู่ตลอดเวลา มีอารมณ์ที่ซึมเศร้าท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่มีความสนใจในกิจกรรมที่ชอบ หรือไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยทำอยู่เป็นประจำ มีอาการเบื่ออาหาร ทานน้อย หรือ ทานอาหารมากขึ้นผิดปกติ มีอาการกระวนกระวาย  จนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย ถ้ามีอาการเหล่านี้เกินกว่า 2 อาทิตย์ควรรีบเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการบำบัดและรักษา

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น ยังไม่มีการระบุที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะมีปัจจัยประกอบหลายด้าน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบได้ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนถึงพันธุกรรม ความแตกต่างกันทางด้านชีวภาพ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสมองของผู้ป่วย ก็ยังชี้ชัดไม่ได้ เพียงแต่อาจเป็นตัวช่วยชี้นำไปสู่สาเหตุของโรคซึมเศร้าได้

การหลั่งของสารเคมีในสมอง ที่ผิดปกติก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า แพทย์ต้องตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาเป็นอย่างมาก  

การเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมน ที่มีระดับไม่สมดุล ก็อาจเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดภาวะซึมเศร้า อาการเหล่านี้มักจะเกิดกับผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตร และในวัยหมดประจำเดือน ทางด้านพันธุกรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกัน มีความเสี่ยงสูงถ้าในครอบครัวนั้น มีสมาชิกที่เคยป่วยมาก่อน ย่อมจะมีโอกาสที่จะมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า อีกก็ได้

 ยารักษาโรคซึมเศร้า

ยาโรคซึมเศร้า สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการใช้ยารักษาอาการของโรคซึมเศร้านั้น ก่อนจะใช้ยาต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ก่อน และได้รับการสั่งยาจากทางแพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น มีหลายกลุ่มหลายประเภท โดยการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้นที่จะระบุได้ว่าคนไข้ควรใช้ยาประเภทหรือกลุ่มไหน อย่างเช่น

ยาต้านเศร้า (Antidepressant) เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า ออกฤทธิ์ในการปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล หรือยาฟลูออกซิทีน คือ ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า โรคตื่นตระหนก โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคบูลิเมีย และกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนการมีประจำเดือน 

ถ้าเป็นคนไข้ ที่มีอาการตื่นตระหนก จากเหตุการณ์ร้ายแรงที่ผ่านเข้ามาในชีวิต แพทย์อาจจะสั่งยาในกลุ่ม เซอร์ทราลีน คือ ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ยาในการรักษาโรคซึมเศร้านั้นมีมาก ฯลฯ  ก่อนจะใช้ยาต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเราแพ้ยาอะไรหรือไม่ บางครั้งการใช้ยาต้านเศร้าเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล แพทย์จำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้วิธีจิตบำบัดควบคู่กันไปด้วย

แนะนำบทความอื่นๆ

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที