คุณ สะอาด

ผู้เขียน : คุณ สะอาด

อัพเดท: 27 มี.ค. 2024 13.57 น. บทความนี้มีผู้ชม: 16504 ครั้ง

เตียงผู้ป่วย เตียงไฟฟ้าผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ ทางการแพทย์เฉพาะทาง


ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง แบบไหนดี และที่นอนผู้ป่วย มีทั้งหมดกี่แบบ ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับผู้ป่วยติดเตียง

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง


ผู้ป่วยติดเตียง
เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เป็นต้น บางรายป่วยติดเตียงแบบไม่รู้สึกตัว เมื่อป่วยติดเตียงนอนที่เดิมไม่ได้ลุก เดิน นั่งหรือขยับร่างกายมักเจอกับปัญหาแผลกดทับ สร้างความทรมานอย่างมาก แผลกดทับแบ่งเป็น 4 ระยะ หากปล่อยไว้นานไม่ดูแลรักษาหรือหาวิธีป้องกันอาจเป็นแผลกดทับระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นกระดูก เอ็น หรือกล้ามเนื้อ อาจเสียผิวหนังทั้งหมด อันตรายเสี่ยงต่อการติดเชื้ออาจทำให้เสียชีวิตได้เลย ไอเทมที่ป้องกันและบรรเทาแผลกดทับได้ดีคงหนีไม่พ้นที่นอนกันแผลกดทับ


ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง คือ ที่นอนสำหรับนอนพักผ่อนออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะสามารถใช้รองนอนได้ทั้งที่โรงพยาบาลและใช้รองนอนที่บ้าน ช่วยป้องกันและบรรเทาแผลกดทับ ลดความเจ็บปวดทรมานจากแผลกดทับ ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงออกแบบมาให้สามารถรองรับสรีระร่างกายผู้ป่วยได้ดี ช่วยกระจายแรงกดทับทำให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนได้สบายผ่อนคลายมากขึ้น ปัจจุบันที่นอนผู้ป่วยติดเตียงผลิตจากวัสดุหลากหลายหรือมีหลายประเภท สำหรับที่นอนผู้ป่วยติดเตียงประเภทที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงแบบโฟมและที่นอนผู้ป่วยติดเตียงทำจากยางพารา 

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง แบ่งออกเป็นกี่ประเภท


ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ที่นอนลม ที่นอนโฟมและที่นอนยางพารา ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงแต่ละประเภทมีจุดเด่นที่ต่างกัน ผลิตมาจากวัสดุที่แตกต่างกัน มาดูว่าที่นอนผู้ป่วยติดเตียงแต่ละประเภทเป็นยังไง แบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด 

1.เตียงลม หรือที่นอนลม

เตียงลมหรือที่นอนลม ที่นอนแผลกดทับที่ได้รับความนิยมสูงมากช่วยป้องกันและช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทรมานจากแผลกดทับได้ ที่นอนลมราคาไม่แพงจำหน่ายในราคาจับต้องได้ ไอเทมนี้ช่วยกระจายแรงกดทับทำงานด้วยระบบปั๊มลมไฟฟ้าจะมีการสลับยุบ-พองของที่นอนแบบต่อเนื่องผิวหนังบริเวณนั้นจะไม่ถูกกดทับนาน ที่นอนลมผู้ป่วยติดเตียงบางรุ่นออกแบบมาให้ทันสมัยมาพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลายรวมถึงระบบความปลอดภัยต่างๆ  ที่นอนลมแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ 

- ที่นอนลมแบบลอนขวาง

ที่นอนลมแบบลอนขวาง ส่วนมากทำจากพีวีซีทนทานอายุการใช้งานนานคุ้มค่าลักษณะเป็นลอนมีประมาณ 20-22 ลอน การทำงานสลับยุบพองทุกๆ 5 นาที หรือแล้วแต่รุ่น ระยะเวลาในการสลับยุบพองต่างกัน หากมีลอนใดลอนหนึ่งเกิดชำรุดได้รับความเสียหาย มีรูรั่วไม่ต้องเปลี่ยนที่นอนผืนใหม่ทั้งหมดสามารถถอดลอนเปลี่ยนได้ง่าย 

- ที่นอนลมแบบรังผึ้ง

ที่นอนลมแบบรังผึ้ง ลักษณะคล้ายกับรังผึ้ง บางครั้งเรียกว่าที่นอนลมแบบบับเบิ้ล การทำงานสลับความดันลมยุบ พอง แต่ละจุดทุกๆ 8-9 นาทีหรือแล้วแต่บางรุ่น ที่นอนชนิดนี้สามารถปรับระดับความนุ่มได้ แต่ข้อเสียถ้าที่นอนชำรุดเสียหายเพียงแค่จุดใดจุดหนึ่งอาจต้องซื้อใหม่ทั้งหมดซ่อมแซมยาก 

2.ที่นอนโฟม

ที่นอนโฟม ที่นอนป้องกันแผลกดทับได้ดี ที่นอนโฟมไม่ใช้ไฟฟ้าดังนั้นจึงประหยัดค่าไฟและยังไม่ต้องบำรุงรักษาปั๊มลมให้ยุ่งยากด้วย เนื้อโฟมมีหลายแบบ เช่น เนื้อโฟมทำจาก Polyurethane Foam จะมีความหนาแน่นสูงช่วยรองสรีระและกระจายแรงกดทับได้ดีมากๆ แถมยังช่วยลดแรงเสียดสี แรงเฉือนได้อีกด้วยซึ่งมันเป็นสาเหตุของการเกิดแผลกดทับนั่นเอง หากเนื้อโฟมเป็น Combustion modified จะช่วยป้องกันที่นอนยุบตัวได้ เป็นต้น 

3.ที่นอนยางพารา

สำหรับที่นอนยางพาราทำจากเนื้อยางพาราธรรมชาติ ช่วยรองรับสรีระและป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ดี ช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับสบายผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดบริเวณก้นกบ ฯลฯ เป็นที่นอนเพื่อคนรักสุขภาพอย่างแท้จริง จุดเด่นของที่นอนยางพาราคือระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น ไม่ร้อน กันไรฝุ่นและเชื้อโรคได้ แถมยังประหยัดพลังงานไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องใช้ลมลดความเสี่ยงเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร ข้อเสียคือราคาค่อนข้างสูง 

 

ที่นอนแต่ละแบบเหมาะกับผู้ป่วยแบบใด


- ที่นอนลมเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียงแบบไม่รู้สึกตัว เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นแผลกดทับระดับ 1 2 3 หรือ 4 แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำต้องระวัง รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือกระดูกสันหลังหัก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของผิวแผ่นที่นอนอาจทำให้มีอันตรายตามมาได้  

- ที่นอนโฟมเหมาะกับผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นแผลกดทับระยะที่ 1-3 หรือเหมาะกับผู้ป่วยที่เสี่ยงจะเป็นแผลกดทับ แผลกดทับระยะแรกแผลยังไม่เปิดออก อาจมีรอยแรงเกิดขึ้น ระยะที่ 2 แผลเปิด มีตุ่มพอง ส่วนระยะที่ 3 แผลมีลักษณะเป็นโพรงลึก อาจเห็นไขมันที่บริเวณแผลได้ 

- ที่นอนยางพาราเหมาะกับการใช้ป้องกันแผลกดทับ เหมาะกับกลุ่มคนรักสุขภาพหรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ที่นอนยางพาราลดอาการปวดเมื่อยได้ดี รองรับสรีระได้ดีด้วย 

ที่นอนผู้ป่วยติดเตียง ไอเทมที่เข้ามาช่วยป้องกันแผลกดทับ ลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและบรรเทาแผลกดทับได้ดี ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะนอกจากนั้นยังช่วยให้การพักผ่อนสบาย ผ่อนคลายมากขึ้น ทุกคนทราบดีว่าแผลกดทับมันสร้างความทรมานมากแค่ไหน ถ้าไม่รีบป้องกันรักษาเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ มองหาตัวช่วยป้องกันบรรเทาแผลกดทับที่นอนผู้ป่วยติดเตียงช่วยได้ มีให้เลือกทั้งที่นอนลม ที่นอนผู้ป่วยติดเตียงทำจากโฟมและที่นอนผู้ป่วยติดเตียงทำจากยางราพา ที่นอนกันแผลกดทับแบบไหนดีหวังว่าคำแนะนำต่างๆ ของเราจะมีประโยชน์กับทุกคนช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น  

ขอบคุณข้อมูล ดีๆ จาก : https://rakmor.com/what-kind-of-mattress-is-good-for-bedridden-patients/ 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที